|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
น้ำมันพืชหยก อัด 270 ล้านบาท ลงทุนปรับปรุงโรงงานขานรับการทำซีเอสอาร์ ชูนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมรับโครงการนำร่องภาครัฐ ลั่นช่วยลดต้นทุน แถมนำคาร์บอนฯ จำหน่าย 4.5 หมื่นตัน ลุยแตกไลน์น้ำมันพืชพรีเมียมยี่ห้อเนเชอเรล 2 ตัว โละน้ำมันทานตะวัน ข้าวโพด เดินเกมปั้นน้ำมันปาล์มต่อหวังกินตลาดใหญ่ สิ้นปีกวาดแชร์เพิ่มเป็น 17%
นายอำพล สิมะโรจนา กรรมการบริหารฝ่ายโรงงาน บริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มโอเลอีนตราหยก เปิดเผยว่า บริษัทได้ใช้งบ 270 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้การทำซีเอสอาร์หรือการทำตลาดอย่างรับผิดชอบสังคม ซึ่งเป็นโครงการที่บริษัทได้ร่วมภายใต้โครงการนำร่องของภาครัฐ
เพื่อลดภาวะโลกร้อนทั้งในเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สาเหตุของโลกร้อน และเริ่มจัดทำทะเบียนฉลากคาร์บอนสำหรับสินค้าและบริการ โดยได้นำร่อง 6 บริษัท ได้แก่ ดับเบิ้ลเอ อาหารสากล เชฟโรเลต และบริษัทล่ำสูง เป็นต้น
บริษัทได้ปรับปรุงโรงงาน 2 แห่ง คือ โดยเป็นการลงทุน 220 ล้านบาท ที่โรงงานบางปู และอีก 50 ล้านบาท ที่ โรงงานจ.ตรัง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศและมีส่วนร่วมในการลดปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมกันนี้ยังเป็นการรองรับกับมาตรฐาน ISO26000 ที่จะเริ่มมีขึ้นในปีหน้านี้ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
ขณะเดียวกันแนวทางดังกล่าวยังช่วยลดต้นทุนในด้านประหยัดพลังงาน ซึ่งบริษัทสามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ 4.5หมื่นตันต่อปี หรือยอดขาย 2.5 ล้านบาทต่อเดือน และยังสามารถนำก๊าซดังกล่าวไปจำหน่ายประเทศอุตสาหกรรมพัฒนาแล้ว ซึ่งมีได้ทำสัญญาซื้อขาย 10 ปี โดยโรงงานจะแล้วเสร็จสิ้นปีนี้
นางสาวเปี่ยมทรัพย์ นาคพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการดำเนินในเชิงรุกทำให้น้ำมันปาล์มหยก ได้รับฉลากคาร์บอน หรือการเป็นผลิตภัณฑ์ผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศและมีส่วนร่วมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นประเทศแรกในเอเชียที่สินค้าได้รับฉลากดังกล่าว
อย่างไรก็ตามบริษัทยังได้ขยายกำลังผลิตเพิ่มจาก 700 ตันต่อวัน เพิ่มเป็น 1,000 ตันต่อวัน เพื่อขยายตลาด 5 ปี โดยเฉพาะการขยายตลาดน้ำมันอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้หลัก 60% ส่วนอีก 40% เป็นน้ำมันเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
สำหรับแผนการตลาด บริษัทได้แตกโปรดักส์ไลน์น้ำมันพืชภายใต้ยี่ห้อเนเชออเรล 2 ตัว ได้แก่ น้ำมันพืชเมล็ดชา และน้ำมันคาโนล่าผสมทานตะวัน ลงเซกเมนต์พรีเมียยมที่มีมูลค่า 1,100 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 10% ของตลาดรวม เนื่องจากเป็นตลาดเติบโตมากกว่า 5% สูงกว่าเมื่อเทียบกับน้ำมันพืชกลุ่มอื่นๆ อาทิ ถั่วเหลือง สัดส่วนตลาด 30% และน้ำมันปาล์ม 60% ส่วนน้ำมันทานตะวัน ข้าวโพด
ได้เลิกทำตลาดเมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้ เหลือเพียงน้ำมันปาล์มที่ทำตลาดอย่างเดียว เพราะน้ำมันกลุ่มดังกล่าวฟังก์ชันนัลไม่แตกต่างกับน้ำมันปาล์มมากนัก
ตลาดน้ำมันพืชบรรจุขวดมูลค่า 1.1หมื่นล้านบาท ปีนี้เติบโตไม่ถึง 20% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาโต 20% จากราคาสินค้าปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามขณะนี้ราคาน้ำมันนพืชมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน
สำหรับปีนี้บริษัทตั้งเป้ามีส่วนแบ่งเพิ่มจาก 12% เป็น 17% จากมูลค่าตลาดรวมน้ำมันพืชบรรจุขวด โดยมาจากการกระจายสินค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น
ซึ่งผลักดันให้น้ำมันพืชหยกขึ้นเป็นอันดับ 2-3 จากปัจจุบันผู้นำตลาดมรกต ครองส่วนแบ่ง 40%
|
|
 |
|
|