|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ตลาดหุ้นทนแรงเทขายไม่ไหว ฉุดปิดตัวรูดกว่า 26 จุด หรือ 4.73% เช่นเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศที่ปิดตัวยืนในแดนลบ จากปัจจัยตัวเลขค้าปลีกสหรัฐฯหดตัว และการถอนหุ้นAOT KBANK ออกจากการคำนวณของ MSCI โดยต่างชาติขายสุทธิ 1,051 ล้านบาท เช่นเดียวกับสถาบันที่ขายถึง 2,149.70 ล้านบาท โบรกฯแนะนำทยอยขาย ชะลอลงทุนเพื่อรอดูทิศทาง ด้านตลาดหลักทรัพย์ฯเล็งปรับเป้ามาร์เกตแคปแผน5 ปี ชี้หากไม่ถึง12 ล้านล้านบาทที่หวัง ขอแค่เท่ากับจีดีพีก็ถือว่าเป็นโอเคแล้ว
ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯวานนี้ (14พ.ค.) ถือเป็นการปรับตัวลดลงที่แรงมาก หลังจากที่ได้ปรับตัวขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งปิดที่ 526.55 ล้านบาท คิดเป็นการลดลง -4.73% หรือ -26.16 จุด ระหว่างวันปรับตัวลดลงต่ำสุดที่ระดับ 526.55 จุด และดัชนีสามารถดีดตัวกลับขึ้นมาแตะสูงสุดของวันได้ที่ระดับ 546.90 จุด มูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 29,930.18 ล้านบาท ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นการปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นอื่นๆในต่างประเทศที่มีการปรับตัวลดลงไปยืนในแดนลบเช่นเดียวกัน
ขณะเดียวกันเมื่อการตรวจสอบข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า นักลงทุนต่างประเทศมีการขายสุทธิ -1,051.79 ล้านบาท ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากยอดตัวเลขค้าปลีกของสหรัฐฯที่ลดตัวลง และกรณีที่AOT – KBANK ถึง MSCI ถอนหุ้นออกจากการคำนวณดัชนีฯ เพราะนับว่าเรื่องดังกล่าวมีผลกระทบในแง่จิตวิทยาการลงทุน และความเชื่อมั่นในระดับหนึ่ง
เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันที่มีการขายสุทธิ -2,149.70 ล้านบาท โดยจากการสอบถามผู้จัดการกองทุน บริษัทจัดการลงทุนแห่งหนึ่ง ยอมรับว่ามีการหุ้นทีกองทุนรวมหุ้นของบริษัทออกไปจริง ทั้งนี้เพื่อทำกำไรจากราคาหุ้นบางตัวที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยคาดการณ์กันว่าน่าจะเป็นหุ้นในกลุ่มพลังงาน เพราะแทบทุกกองทุนรวมหุ้น ส่วนใหญ่จะเน้นและให้น้ำหนักความสำคัญในหุ้นกลุ่มนี้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ
นอกจากนี้ หลายฝ่ายเชื่อว่า เมื่อราคาหุ้นได้ปรับขึ้นแรงในช่วงก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นเมื่อมีปัจจัยลบเข้ามากระทบ ตลาดหุ้นก็พร้อมที่จะปรับตัวลงเช่นกัน และยังมีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงไปต่ออีกครั้งในวันนี้ (15พ.ค.) หรืออาจต่อเนื่องไปจนถึงสัปดาห์หน้า
ส่วนหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 54 หลักทรัพย์ ลดลง 346 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 62 หลักทรัพย์
แนะชะลอลงทุน-รอดูทิศทาง
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBKH เปิดเผยว่า วานนี้ (14.พ.ค.) ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง ตามตลาดหุ้นต่างประเทศที่เคลื่อนไหวในแดบลบและความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อตัวเลขยอดค้าปลีกเดือนเมษายนลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนมีนาคมในอัตรา 0.4%
รวมทั้ง จากข่าวลือว่า MSCI-Thailand ที่ได้ถอนหุ้นของธนาคารกสิกรไทย (KBANK), บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) ออกจากการคำนวณดัชนี เนื่องจากบริษัทดังกล่าวฟรีโฟรทต่ำกว่าเกณฑ์ ตลอดจนได้มีการปรับลดน้ำหนักของหุ้น บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC), บมจ.ธนากรุงไทย (KTB) จึงทำให้มีแรงเทขายจากนักลงทุนสถาบันออกมา ส่วนความเคลื่อนไหวการเมืองในประเทศนั้นไม่ส่งผลต่อดัชนีมากนักเพราะไม่ได้มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่ายังคงผันผวน โดยนักลงทุนควรจับตาดัชนีดาวโจนส์สหรัฐฯและราคาน้ำมันโลก ดังนั้นจึงแนะนำให้นักลงทุนที่มีหุ้นในพอร์ตให้เริ่มทยอยขาย เพื่อรอดูความชัดเจนของตลาด อีกครั้ง ทั้งนี้ประเมินให้แนวรับอยู่ที่ 525 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 537-540 จุด
ด้านนายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ จำกัด กล่าวว่า จากยอดค้าปลีกในสหรัฐเดือนเมษายนที่วูบต่อเนื่อง 2 เดือน และทิศทางตลาดหุ้นในเอเชียและสหรัฐเลวร้ายตามภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงการที่ MSCI-Thailand ปรับลดน้ำหนักการลงทุนของตลาดหุ้นไทยจาก 2% เหลือ 1.8% ส่งผลให้บรรยากาศซื้อขายหลักทรัพย์วานนี้มีแรงเทขายออกมาตลอดวัน
“ตลาดหุ้นไทยวันนี้ เรายังเชื่อว่ายังเคลื่อนไหวในแดนลบ แต่นักลงทุนยังคงต้องรอดูทิศทางเม็ดเงินนักลงทุนต่างประเทศหลัง MSCI ปรับลดความน่าเชื่อถือของหุ้นไทยด้วย รวมทั้งปัจจัยเศรษฐกิจในสหรัฐฯ เพราะฉะนั้นในช่วงนี้ควรชะลอการลงทุนออกไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยให้กรอบแนวรับที่ 520 จุด และแนวต้านที่ 535-540 จุด”
ด้าน นายธนัท รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลง ตามตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งดาวโจนส์และตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียต่างปรับตัวลงกันทั่วหน้า รับปัจจัยลบจากเรื่องยอดค้าปลีกของสหรัฐฯที่ปรับตัวลง อย่างตลาดฮั่งเส็งร่วงลง 3%
ประกอบกับกรณีที่ MSCI ถอนหุ้น KBANK และ AOT ออกจากการคำนวณดัชนีฯ เป็นปัจจัยลบที่เข้ามากระทบตลาดฯเช่นกัน นอกจากนี้ ราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นมาแรงในช่วงก่อนหน้านี้ ก็ถือเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เมื่อมีปัจจัยลบเข้ามากระทบก็พร้อมที่จะเกิดแรงเทขายหุ้นขึ้นมา ดังนั้นแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ มองว่า ตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสที่จะปรับตัวลงได้อีก แต่คงต้องขึ้นอยู่กับทิศทางของตลาดต่างประเทศด้วย
สำหรับสัญญาณทางเทคนิคจากการสอบถาม พบว่า วันนี้ยังมีโอกาสที่จะปรับตัวลงได้อีก พร้อมให้แนวรับไว้ที่ 516-520 จุด ส่วนแนวต้านให้ไว้ที่ 536 จุด อย่างไรก็ตามหากวันนี้ดัชนีฯสามารถขึ้นเหนือแนวต้านได้ก็จะทำให้ตลาดหุ้นยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้อีก
ตลท.เล็งปรับเป้ามาร์เก็ตแคป5ปี
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ (14 พ.ค.)มีการปรับตัวลดลง ถือว่าเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 2อาทิตย์ที่ผ่านมาจากการที่ดัชนีฯมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากนักวิเคราะห์ประเมินว่าเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วและมีโอกาสที่จะมีการปรับตัวลดลง รวมทั้งดัชนีดาวโจนส์ก็มีการปรับตัวลดลง ดังนั้นนักลงทุนควรที่จะมีความระมัดระวังในการลงทุนจากการที่ดัชนีจะมีการปรับตัวลดลงในครั้งนี้
ทั้งนี้นักลงทุนควรที่จะมีการวางแผนการลงทุนให้รอบคอบและใช้ประโยชน์จากการที่ดัชนีมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และควรที่จะมีการวางแผนการลงทุนที่กระจายการลงทุนใน หุ้น หุ้นกู้ ตราสารหนี้ อนุพันธ์ การลงทุนทองคำ โดยจากการที่มีการสอบถามบริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ต่างประเทศเรื่องการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศนั้น มองว่าเป็นการไหลกับเข้ามาจากก่อนหน้าที่มีการไหลออกไป
สำหรับตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่13 พฤษภาคมนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 22.8% แต่หากรวมผลตอบแทน จากเงินปันผลที่มีการจ่ายในงวดนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 25.8% ซึ่งถือว่าปรับตัวสูงกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาค เช่น ตลาดหุ้นมาเลเซีย ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 16.7% ตลาดหุ้นฟิลลิปปินส์ ทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 20% จาก 3.2 ล้านล้านบาท เป็น 4.39 ล้านล้านบาท
นางภัทรียา กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการทบทวนเป้าหมายมาร์เกตแคป 5 ปี (2551-2556)ที่ตั้งไว้จะเพิ่มเป็น 12 ล้านล้านบาท จากปี2550 ที่อยู่ที่ 6 ล้านล้านบาท แต่จากในปี 2551ที่เกิดวิกฤตทางการเงินสหรัฐอเมริกา ทำให้มาร์เกตแคปตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลง 50%มาเหลือ 3.2 ล้านล้านบาท โดยขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะปรับลดลงเหลือเท่าไร เพราะ ขอรอประเมินสถานการณ์อีกสักระยะ ซึ่งหาก 5 ปี มาร์เกตแคปตลาดฯไม่ถึง 12 ล้านล้านบาท แต่เท่ากับจีดีพี ก็ถือว่าเป็นระดับการเติบโตที่ดีแล้ว
“เป้ามาร์เกตแคปของตลาดหลักทรัพย์ตามแผพัฒนาฯ 5ปีนั้น จะอยู่ที่ 12 ล้านล้านบาท แต่จากเกิดวิกฤตทางการเงินเกิดขึ้นทำให้มาร์เกตแคปปรับตัวลดลง 50% เหลือ 3.2 ล้านบาทจากปี2550 จึงทำให้ต้องมีการทบทวนเป้าหมาย แต่หากไม่ถึงตามเป้า แต่สามารถทำได้เท่ากับจีดีพี ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ดี ”นางภัทรียา กล่าว
|
|
|
|
|