Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 กันยายน 2546
S&Pเพิ่มเรตธ.ไทยชาติเดียวใน"เอเชีย"             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ ธนาคารทหารไทย
โฮมเพจ ธนาคารไทยธนาคาร

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
ปตท., บมจ.
ธนาคารทหารไทย
ธนาคารออมสิน
ซิกโก้, บล.
Standard & Poors (S&P)
ชาญชัย มุสิกนิสากร
วราเทพ รัตนากร
อนุสรณ์ ธรรมใจ
เอียน ธอมป์สัน




เอสแอนด์พี บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายยักษ์ระดับโลกจากแดนมะกัน เผยแพร่รายงานวานนี้ (10 ก.ย.) ระบุว่าช่วงเวลากำลังจะย่างเข้าสู่ปีใหม่ 2547 ระบบการเงินส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก ต่างได้เรตติ้งทิศทางแนวโน้มอนาคตระดับ "คงที่" มีเพียงระบบธนาคารของประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการเพิ่มเกรดจากระดับ "คงที่" เป็น "บวก" ขณะที่ "ผอ. แบงก์ออมสิน" ยันรับจำนำหุ้น ปตท.-การบินไทย เพื่อให้คลังซื้อหุ้นเพิ่มทุนแบงก์ทหารไทยคุ้ม เพราะคลังประกันจ่ายผลตอบแทน

ด้านไทยธนาคารปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจ ไทยปีนี้เพิ่มเป็น 5.7% จากเดิมตั้งเป้าไว้เพียง 4.6% เหตุตัวเลขส่งออก เติบโตถึง 18.9% บวกดัชนีอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจปี 2547 ยังเดินหน้าขยายตัวต่อเนื่อง ตั้งเป้า 6.7%

เอียน ธอมป์สัน นักวิเคราะห์ ความน่าเชื่อถือของสแตนดาร์ด แอน์ด พัวร์ส (เอสแอนด์พี) ซึ่งเป็น 1 ใน 2 บริษัทเครดิตเรตติ้งใหญ่ที่สุดของโลก เคียงคู่แข่งขันมา กับมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส กล่าวถึงภาพรวมวงกว้างของอุตสาหกรรมธนาคารในภูมิภาคแถบนี้ว่า จุดที่เห็นโดดเด่นมากก็คือ ไม่ใช่ภาพอันมืดมนห่อเหี่ยวเลย

"เศรษฐกิจในเอเชียจำนวนมากทีเดียว เริ่มเติบโตกันอีกครั้ง นับแต่ชะลอตัวกันทั่วทั้งภูมิภาคใน ปี 2001 ขณะที่ธนาคารในเอเชียจำนวนมากก็ค่อยๆ ทำให้โพรไฟล์ด้านการเงินของพวกตนแข็งแกร่งยิ่งขึ้น หลังจากผ่านระยะเวลาหลายๆ ปี ที่ต่อเนื่องจากช่วงวิกฤตการเงินเอเชียปี 1997-98" เขาบอก

ตามรายงานล่าสุดของเอสแอนด์พีระบบการเงินในแถบ เอเชียแปซิฟิกที่ได้รับเรตติ้งทิศ ทางแนวโน้มอนาคต (outlook) ใน ระดับ "คงที่" ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน

ปรับเรตติ้งไทยเป็นบวกชาติเดียว

มีเพียงญี่ปุ่นเท่านั้น ที่ได้เรตติ้งทิศทางแนว โน้มอนาคตเป็น "ลบ" ขณะที่ไทยก็เป็นประเทศเดียว ซึ่งระบบการเงินได้ปรับเกรดเป็น "บวก" จาก "คงที่" ก่อนหน้านี้

เอสแอนด์พีบอกว่าการปรับเกรดทิศทางแนวโน้มอนาคตให้แก่ไทย ก็เพื่อ "สะท้อนการเข้า สู่เสถียรภาพในด้านคุณภาพสินทรัพย์ ซึ่งโดยเบื้องต้นแล้วบังเกิดขึ้นเนื่องจากเป็นผลของภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ตลอดจนปฏิบัติการของแบงก์ต่างๆ ตลอดจนของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน"

อย่างไรก็ตาม บรรดาธนาคารของไทย ซึ่งอยู่ในกลุ่มถูกถล่มหนักที่สุดจากวิกฤตปี 2540-41 "ยังคงตกอยู่ในภัยพิบัติเนื่องจากเงินปล่อยกู้ได้กลับกลายเป็นหนี้มีปัญหากันอยู่เรื่อยๆ เนื่อง จากหนี้ที่ปรับโครงสร้างแล้วจำนวนใหญ่มหึมาพอดูจำนวนหนึ่ง ได้กลับเสื่อมทรุดลงจนมีฐานะเป็น หนี้เน่าอีก" รายงานฉบับนี้เตือน

สำหรับฮ่องกงกับสิงคโปร์นั้น ต่างได้เรตติ้ง ทิศทางแนวโน้มอนาคต "คงที่" เพราะมีระดับการเพิ่มทุนและการสำรองหนี้เสียอย่างเหมาะสม ทว่าธนาคารจาก 2 พื้นที่นี้ยังคงต้องดิ้นรนเพื่อเสาะหาตลาดเฉพาะส่วนของพวกตน

"พวกแบงก์ส่วนใหญ่ในฮ่องกงและสิงคโปร์ ต่างกำลังเผชิญภาวะตลาดภายในบ้านอิ่มตัวเสีย แล้ว แถมกำลังพบว่าเป็นเรื่องลำบากที่จะขยายออกสู่ต่างแดน" เอสแอนด์พีกล่าว

"ขณะที่จีนแม้เสนอโอกาสทางธุรกิจให้แก่พวกแบงก์ในฮ่องกงและสิงคโปร์ แต่ความเสี่ยงที่มากับการขยายธุรกิจในจีนก็เป็นเรื่องที่ต้องเป็น ห่วงกัน" รายงานบอก

แบงก์ออมสินยันรับจำนำหุ้นผลตอบแทนคุ้ม

นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยคลัง กล่าววานนี้ว่าการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ให้กระทรวงการคลังนำหุ้น ปตท. (PTT) และการบินไทย (THAI) หรือหุ้นรัฐวิสาหกิจตัวอื่นๆ ที่เห็นว่าเหมาะสม จำนำกับธนาคารออมสิน โดยจะจำนำเพียงหุ้นบริษัทเดียว ซึ่งต้องรอจนกว่าคณะกรรมการธนาคารออมสินจะพิจารณา รายละเอียดราคา และอื่นๆ และขึ้นกับข้อตกลงระหว่างธนาคารออมสินกับคลัง

เพื่อนำเงิน 11,172 ล้านบาท ซื้อหุ้นเพิ่มทุนธนาคารทหารไทย (TMB) ตามสิทธิกระทรวง ในฐานะผู้ถือหุ้นเดิมธนาคารทหารไทย ไม่กระทบ ผลดำเนินงานธนาคารออมสิน เพราะผลตอบแทน เหมาะสม ครม.พิจารณาแล้วเห็นดีด้วย เขากล่าว อีกว่าโครงการนี้ไม่ใช่โครงการแรก กระทรวงการ คลังเคยเอาหุ้นการบินไทยจำนำกับธนาคารออมสิน เพื่อนำเงินสร้างโทลล์เวย์ บริเวณถนน วิภาวดี-รังสิตมาแล้ว

ทางด้านนายชาญชัย มุสิกนิศากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่าจะนำเรื่องที่ ครม.อนุมัติดังกล่าว เข้าที่ประชุมบอร์ดธนาคาร เร็วที่สุด คาดว่าจะพิจารณาเสร็จสัปดาห์นี้ เพราะ ต้องจ่ายเช็คซื้อหุ้นเพิ่มทุนธนาคารทหารไทย 12 ก.ย.

คลังจ่ายส่วนต่างดอกเบี้ยให้

ส่วนกรณีผลตอบแทนการลงทุนหุ้นแบงก์ทหารไทยที่ธนาคารออมสินจะได้รับ ที่อัตราดอก เบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน บวก 1.66% ต่อปี เขายืนยันว่าเหมาะสมคุ้มค่าแล้ว ขณะที่ช่วง 3 ปีที่ 2 หุ้นรัฐวิสาหกิจชั้นนำดังกล่าวจำนำกับธนาคารออมสิน สิทธิเงินปันผลจาก 2 หุ้นนี้ ธนาคารออมสินจะได้ทั้งหมด

โดยถ้าผลตอบแทนเงินปันผลมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน บวก 1.66% ส่วนเกินจะพักในบัญชี เพื่อคืนกระทรวงการคลัง พร้อมดอกเบี้ย แต่หากผลตอบแทนเงินปันผลน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 บวก 1.66% กระทรวงการคลังจะจ่ายคืนส่วนต่างให้ เมื่อครบ 3 ปี นายชาญชัยกล่าวว่าคลังจะซื้อคืนราคาตามราคาหุ้นที่จำนำเฉลี่ยย้อนหลัง 60 วัน

ไทยธนาคารเพิ่มเป้าศก.เป็น 5.7%

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและวางแผน ธนาคารไทยธนาคาร เปิดเผยว่าธนาคารปรับประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีนี้ จากเดิม 4.6% เป็น 5.7% เนื่องจากเศรษฐกิจต่างประเทศดีขึ้นกว่าที่คาดไว้มาก คือ 7 เดือนแรก การเติบโตส่งออกไทยสูงถึง 18.9% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว มูลค่า 43,451 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ดุลการค้าเกินดุล 2,512 ล้านดอลลาร์ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 4,213 ล้านดอลลาร์

แนวโน้มช่วงที่เหลือของปี ยังคงปรับตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีอุปโภคบริโภคยังคงขยายตัว การลงทุนภาคเอกชนแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอัตรา ใช้กำลังผลิตที่สูงขึ้น เสถียรภาพเศรษฐกิจภายใน ดี เงินเฟ้อทรงตัวต่ำไม่มีสัญญาณเงินฝืดอัตราว่าง งานลดเหลือ 2.2%

ส่วนปี 2547 ไทยธนาคารคาดว่าเศรษฐกิจ จะขยายไม่ต่ำกว่า 6.7% เงินเฟ้อสูงขึ้นที่ 2% ฐานะการคลังรัฐบาลดีขึ้น จากการลดลงของการขาดดุลงบประมาณและรายได้ภาษีเพิ่มขึ้น ขณะที่ดุลการค้าเกินดุลลดเหลือ 4.5 พันล้านดอลลาร์ ดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นจากปีนี้เล็กน้อย อยู่ที่ 8 พันล้านดอลลาร์ เป็นผลจากรายได้ท่องเที่ยวรูปแบบใหม่

ด้านอัตราขยายตัวการลงทุนภาคเอกชน 12% ปีนี้ และ 13% ปีหน้า แต่ต้องจัดการให้ต้นทุนการลงทุนภาคเอกชนสะท้อนปัจจัยเสี่ยงระบบเศรษฐกิจ หากขยายตัวสูงเกินปัจจัยพื้นฐานมาก จะก่อเกิดความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ ระยะยาว

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) แรงงาน และทุน และการเร่งรัดปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจจะทำให้การลงทุนขยายตัวมีคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

นายอนุสรณ์กล่าวว่า ปัจจัยบวกที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปีนี้ และไตรมาสแรก ปีหน้า ได้แก่ การประชุมเอเปกที่กรุงเทพฯ ต.ค. ปีนี้ กระแสเงินทุนไหลเข้า การได้รับการปรับเพิ่ม อันดับเครดิตโดยเอสแอนด์พีและมูดี้ส์ช่วงปลาย ปีนี้

ขณะที่การบริโภคช่วงไตรมาส 4 จะยังคง ขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่อง ทั้งปีนี้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5.3% ปีหน้า หากอัตราดอกเบี้ยยังคงทรงตัวต่ำ การจ้างงานสูงขึ้น พร้อมรายได้ดีขึ้น จะทำให้ภาคการบริโภคยังคง เติบโตสูงต่อเนื่อง ส่วนการเข้าถึงสินเชื่อเพื่อการบริโภคง่ายขึ้น เป็นปัจจัยบวกภาคการบริโภค แต่ ต้องกำกับด้วยวินัยการเงิน และการออมที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระยะยาว

เขากล่าวเพิ่มเติมว่า การประเมินฐานะ การเงินภาคเศรษฐกิจสำคัญดีขึ้น โดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจต่างประเทศและภาครัฐบาล ขณะที่ภาคการเงินยังคงมีปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไม่น้อย ยังมีฐานะการเงินไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควร ก่อเกิดแรงกดดันเพิ่มทุนบางธนาคารปีหน้า ภาคครัวเรือนหนี้สินเพิ่ม แต่รายได้เพิ่มด้วย

ด้านฐานะการเงินภาคครัวเรือน จึงยังไม่น่า ห่วงมากในภาพรวม แต่หากพิจารณาระดับจุลภาค ครัวเรือนจำนวนหนึ่งปัญหาหนี้สินมาก เนื่องจากไทยมีปัญหากระจายรายได้ ส่วนภาคธุรกิจและภาคการผลิต สัดส่วนหนี้สินต่อทุนดีขึ้น โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย สัดส่วนหนี้สินต่อทุนลดลงมาก แต่การวิเคราะห์ ตัวแปรคงค้าง (Stock Variable) สัดส่วนหนี้สินต่อทุนธุรกิจไทยยังถือว่าสูง

สำหรับประเด็นถกเถียงเศรษฐกิจฟองสบู่ ยังเร็วเกินไปที่จะพูดขณะนี้ การรับมือและบรรเทาผลกระทบเศรษฐกิจฟองสบู่อนาคตหากเกิดขึ้น คือพัฒนาระบบข้อมูลราคาสินทรัพย์ให้สะท้อนปัจจัยพื้นฐาน ส่งเสริมหลักบรรษัทภิบาลและธรรมาภิบาล กำกับดูแลให้สถาบัน การเงินเข้มแข็งและโปร่งใส พัฒนาตลาดตรา สารหนี้ และตลาดตราสารทุน รวมทั้งรัฐบาลควรมีนโยบาย เศรษฐกิจเชิงรุกต่อเนื่องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันประเทศ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us