Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน13 พฤษภาคม 2552
ไออาร์พีซีเจ๊ง! บทเรียนการเมือง-ทหารพาณิชย์             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ไออาร์พีซี, บมจ.




การเปลี่ยนแปลงบอร์ดบริหารชุดใหม่ของบริษัทไออาร์พีซี ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจยิ่ง แม้ว่าประเด็นสำคัญจะเกี่ยวข้องกับผลประกอบการที่ขาดทุนสะสมบักโกรกกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท จะเป็นชนวนอย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่ขณะเดียวกัน สิ่งที่ต้องพิจารณาประกอบกันไปด้วยก็คือที่มาที่ไปของการก่อกำเนิดของบริษัทดังกล่าว

เพราะมันช่างซับซ้อนซ่อนเงื่อน และเต็มไปด้วยกิเลส และผลประโยชน์อันมหาศาลอยู่เบื้องหลัง

อย่างไรก็ดี เพื่อให้เห็นภาพดังกล่าวก็ต้องย้อนดูแบ็กกราวด์ก่อนที่จะมาถึงวันนี้ให้เห็นพอคร่าวๆ โดยเริ่มตั้งแต่ ในยุคที่ยังเป็นบริษัทอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ที่รู้จักกันในนาม บริษัททีพีไอ ก่อตั้งโดย ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เมื่อ 3 สิงหาคม 2521 ประกอบธุรกิจการกลั่นน้ำมัน และปิโตรเคมี มีกำลังการกลั่นถึง 215,000 บาร์เรลต่อวัน

ต่อมาประชัย ก็มีการขยายกิจการอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างครบวงจร มีทั้งโรงงานปูนซีเมนต์ โรงไฟฟ้า ท่าเรือน้ำลึกฯลฯ เป็นเครือข่ายธุรกิจที่มีเงินลงทุนในยุคคนั้นนับหลายแสนล้านบาท โดยกู้เงินจากสถาบันการเงินทั้งใน และนอกประเทศ

ทุกอย่างกำลังดำเนินกิจการไปตามปกติ จนกระทั่งเกิดลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อ 2 กรกฎาคม 2540 ทำให้ทีพีไอ ต้องวิกฤตมีหนี้สินล้นพ้นตัว ถือเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดในยุคนั้น จนนำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งในตอนแรกศาลล้มละลายกลางได้แต่งตั้งบริษัทแอฟแฟ็คทีฟแพลนเนอร์ หรือ อีพี เข้ามาบริหารแผนฟื้นฟูกิจการ แต่ก็ถูกร้องเรียนว่าบริหารไม่โปร่งใส

ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อ 11 กรกฎาคม 2546 โดยศาลได้ประกาศแต่งตั้งกระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนฯ และคนที่เข้ามาเป็นประธานกรรมการฟื้นฟูฯ ก็คือ “บิ๊กหมง” พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ส่วนกรรมการคนอื่นๆ ที่น่าสนใจและชวนติดตามก็คือ ทนง พิทยะ และ อารีย์ วงศ์อารยะ รวมอยู่ด้วย

พร้อมทั้งผลักดันให้รัฐวิสาหกิจในเครือของกระทรวงการคลัง เช่น ปตท. ธนาคารออมสิน กบข. กองทุนวายุภักดิ์ 1 เข้ามาซื้อหุ้นแห่งละ 10 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้น ปตท.ที่ถือหุ้นใหญ่ถึง 31.5 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อออกจากแผนฟื้นฟูฯ ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่จากเดิม บริษัททีพีไอ มาเป็น ไออาร์พีซี ในปัจจุบัน

น่าจับตาก็คือ คนที่เป็นประธานกรรมการบริหาร ก็ยังเป็น พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ คนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง!!

สิ่งที่น่าพิจารณาก็คือ เบื้องหลังที่ซ่อนอยู่ข้างหลังในยุคนั้นก็คือ อำนาจการเมือง ซึ่งก็ย่อมหนีไม่พ้น “ระบอบทักษิณ” เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยใช้กลไกอำนาจรัฐเป็นเครื่องมือ

เพราะในอดีตช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคงไม่มีธุรกิจใดที่ทำกำไรได้มหาศาลเท่ากับพลังงานได้อีกแล้ว ในยุคที่ราคาน้ำมันพุ่งพรวดไปถึงร้อยกว่าเหรียญต่อบาร์เรล สูงสุดถึง 150 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

และนี่อาจนำไปสู่การตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเหตุจูงใจสำคัญที่นำไปสู่การ“ฮุบกิจการ” อย่างเบ็ดเสร็จ เพราะถ้าติดตามตั้งแต่ต้น จะเห็นว่ามีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

หากแยกพิจารณาเฉพาะ พล.อ.มงคล ถือว่าน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นหมากสำคัญอีกตัวหนึ่งที่เข้ามาเชื่อมโยงกับระบอบทักษิณได้อย่างลงตัวและกลมกลืนที่สุด เริ่มจากถูกดึงเข้ามาเป็นประธานกรรมการฟื้นฟู ที่แต่งตั้งโดยกระทรวงการคลังในยุคของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และนั่งเก้าอี้จนรากแทบงอก ไม่ยอมลุกไปไหน

แม้กระทั่งมีเสียงวิจารณ์ในเรื่องธรรมาภิบาล เพราะเป็นประธานกรรมการแผนฟื้นฟูกิจการ และต่อมาเมื่อออกจากแผนฟื้นฟูจนกลายมาเป็นบริษัทไออาร์พีซี ตัวเองก็ทำหูทวนลม ยังนั่งเก้าอี้เป็นประธานบริหารอยู่อย่างเหนียวหนึบ กินเงินเดือนๆ ละนับล้านบาท อย่างสบายใจเฉิบ

แต่จะด้วยการบริหารที่ไม่เอาอ่าว หรือเป็นเพราะปัจจัยภายนอกในเรื่องราคาน้ำมัน ที่ดิ่งลงอย่างไม่เป็นใจ หรือทั้งสองอย่างผสมปนเปกัน ทำให้ผลประกอบการของไออาร์พีซี ต้องเจ๊งสะสมรวมกันถึง 1.8 หมื่นล้านบาท ฉุดให้ผลกำไรของปตท.ลดลงอย่างฮวบฮาบ จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญเปิดช่องให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาให้ดีก็จะพบว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในลักษณะ “สมบัติผลัดกันชม” ทำนองเมื่ออำนาจเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยนตาม เป็นของคู่กัน และกลุ่มที่ถูกจับตามองว่ากำลังเข้ามาใหม่ก็คือกลุ่มของคู่เขย สุวัจน์ ลิปตพัลลภ และนพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ซึ่งคุมกระทรวงพลังงานอยู่ในปัจจุบัน ต้องการผลักดันคนของตัวเองเข้าไปเสียบแทน หรือไม่ ซึ่งก็มีการเปิดเผยชื่อให้เห็นหน้าเห็นตากันไปแล้ว

แต่นาทีนี้ กรณีทีพีไอ ต่อเนื่องมาจนถึงไออาร์พีซี ภายใต้การคุมเกมของ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ นายทหารที่มักถูกมองว่าเป็น “ทหารพาณิชย์” เป็นกรณีที่น่าศึกษาอีกบทหนึ่ง ซึ่งถือว่าล้มเหลว และน่าผิดหวัง !!   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us