Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 กันยายน 2546
ไอทีวีจ่อคิวลดสัมปทานอ้างช่อง7ไม่เป็นธรรม             
 


   
www resources

ITV Homepage

   
search resources

ไอทีวี, บมจ.
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7
วสันต์ ภัยหลีกลี้
สำราญ รอดเพชร
ประกาศิต คำพิทักษ์
อนันต์ อัศวนนท์
TV




เผยแนวโน้มไอทีวีขอลดค่าสัมปทานจากรัฐบาลส่อเค้าจริง อนุญาโตตุลาการจะพิจารณาให้ลดค่าสัมปทานได้ ชี้เหตุเพราะการต่อสัญญาของสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 มีความไม่เป็นธรรมทำให้การแข่งขัน ไอทีวีมีปัญหา คาดเดือนตุลาคมนี้รู้ผล ขณะที่ไอทีวีปรับทัพใหม่ หลังผู้บริหารข่าว "วสันต์ ภัยหลีกลี้" โบกมือลา ไอทีวี พร้อมทีมงานดัน "อนันต์ อัศวนนท์" รักษาการกองบรรณาธิการไอทีวี

แหล่งข่าวจากปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน" ถึงความคืบหน้าในการพิจารณาการขอลดสัมปทานของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ซึ่งได้ทำหนังสือถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการพิจารณาเพื่อขอลดสัมปทานค่าเช่าสถานีโทรทัศน์ ไอทีวีจากสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้เหตุผลที่นำมาอ้างในการขอลดสัมปทานค่าเช่าสถานี ไอทีวีเนื่องจากในสัญญาระบุว่าการแข่งขันจะต้องมีความเป็นธรรม แต่ปรากฏได้มีสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ได้มีการทำสัญญาเช่าสถานีจากกองทัพบกล่วงหน้าก่อนที่จะหมดสัญญา แถมยังได้รับค่าสัมปทานที่ถูก หากจะนำสัญญาของช่อง 7 สีมาเปรียบเทียบกับสถานีโทรทัศน์ไอทีวีแล้วจะเห็นว่าค่าเช่าสัมปทานต่างกันมาก

"การอ้างข้อสัญญาของช่อง 7 หากนำมาเปรียบเทียบกับไอทีวีก็จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันจริง ทำให้การแข่งขันของไอทีวีไม่สามารถทำรายได้ให้มีกำไรเหมือนช่อง 7 ได้เพราะต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับรัฐสูงมาก เมื่อ เทียบกับสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่ง ผลให้ไอทีวีมีภาระต้นทุนที่สูงกว่ารายอื่น" แหล่งข่าว คนเดียวกัน กล่าว

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสถานีคู่แข่งขันรายใหม่ๆ เกิดขึ้นมากอีก เช่น สถานีโทรทัศน์ที่ทดลอง ออกอากาศของช่อง 11 ซึ่งมีรายการต่างๆ แถมมีการโฆษณาแฝงเข้ามาในรูปของผู้สนับสนุนรายการ นอกจากนี้ยังมีเคเบิลทีวีทางยูบีซีที่มีการแฝงโฆษณาเข้ามาในรูปแบบผู้สนับสนุนรายการ ตรงนี้ทางไอทีวียกมาเป็นข้ออ้างในการขอให้มีการพิจารณาลดค่าสัมปทานเพราะไปกระทบต่อรายได้ในการหาโฆษณาเช่นเดียวกัน

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า เหตุผลที่ไอทีวีเสนอมานั้นจะนำมาพิจารณาในคณะอนุญาโตตุลาการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาการลดสัมปทานให้กับไอทีวี ซึ่งคาดว่าจะรู้ผลในเดือนตุลาคมนี้

เป็นที่น่าสังเกตราคาหุ้นของสถานีโทรทัศน์ ไอทีวีมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนับ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมเป็นต้น มาระดับราคาหุ้นของไอทีวีอยู่ที่ราคา 8.45 บาท และปรับตัวมาอย่างต่อเนื่องขยับมาอยู่ที่ราคาเฉลี่ย 11.26 บาท ณ วันที่ 8 /9 /2526 ราคาปรับเพิ่มขึ้นกว่า 2.81 บาท และ มีปริมาณการซื้อขายหนาแน่น และมีแนวโน้มว่าราคาจะปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเพราะมีกระแสข่าวการขอปรับลดค่าสัมปทาน

ผู้บริหารฝ่ายข่าวโบกมือลาไอทีวี

แหล่งข่าวจากสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน" ว่าขณะนี้ผู้บริหารของไอทีวีในระดับบรรณาธิการอำนวยการข่าว คือนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ได้ทำหนังสือขอลาออกอย่างเป็นทางการ จากสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ซึ่งจะมีผลให้ลาออกแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนนี้ เป็นต้นไป

นอกจากนี้ ยังมีทีมงานอื่นๆ อีก 2-3 คน คือ เช่น นายสำราญ รอดเพชร รองผู้อำนวยการฝ่ายข่าว และผู้ดำเนินรายการฟันธง , นายประกาศิต คำพิทักษ์ ผู้ช่วยบรรณาธิการฝ่ายข่าวได้ขอลาออกในครั้งนี้เช่นกัน

ทั้งนี้ มีการคาดว่ามีความขัดแย้งในเรื่องการ นำเสนอข่าวของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เช่น การทำข่าวบางชิ้นไปกระทบกับภาพพจน์รัฐบาล ในกรณีที่มีการนำเสนอเรื่องการตั้งเสาร์อากาศของเอไอเอสในพื้นที่ของ ส.ป.ก. ทำให้ผู้บริหารของสถานีไอทีวีไม่พอใจ และเกิดความขัดแย้งกัน

ทั้งนี้ เป็นที่รู้กันในวงการทำข่าวว่าผู้บริหาร ทั้ง 2 คนที่ลาออกจากสถานีโทรทัศน์ไอทีวีนั้นเป็น ผู้ที่มีประสบการณ์สูงในการทำงาน และเรียกได้ว่าเป็นมืออาชีพในการทำข่าว แต่ก็มาเกิดปัญหาการทำงานขึ้นซึ่งไปขัดแย้งกันทางการเมือง จนกระทั่งต้องลาออกจากไอทีวี

"ก่อนหน้านี้ผู้บริหารไอทีวีได้แต่งตั้งนาย อนันต์ อัศวนนท์ เป็นที่ปรึกษาฝ่ายข่าวเข้ามาบริหาร และดูแลงานข่าวแทนนายวสันต์ ซึ่งเป็นบรรณาธิการ อำนวยการข่าวแล้วมอบหมายงานให้นายวสันต์ไปดูแลงานด้านบริหารแทน ซึ่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในไอทีวีนั้นเกิดมาอย่างต่อเนื่อง" แหล่งข่าวในไอทีวี เล่าให้ฟัง

แหล่งข่าวจากผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ไอทีวี กล่าวต่อไปว่า ในช่วงที่ผ่านมาพบว่าสถานีโทรทัศน์ไอทีวีมีเลตติ้งผู้ชมค่อนข้างต่ำ จากผลสำรวจของ เอซีนีลเส็น ซึ่งเดิมสถานีมีความโดดเด่นกว่าหลายๆ สถานีและใช้เรื่องของสถานีข่าวเป็นจุดขายโฆษณามาโดยตลอด จึงนำเหตุผลเรื่องผลสำรวจจำนวน ผู้ชมลดน้อยลงมาเป็นข้ออ้างในการปรับเปลี่ยน ผู้บริหารฝ่ายข่าวและสร้างความอึดอัดใจให้กับ ผู้บริหารข่าวหลายคนจึงมีการตบเท้าลาออก ก่อนหน้านี้ทางผู้บริหารไอทีวีมักจะออกมาคัดค้านการสำรวจของบริษัทเอซีนีลเส็นว่ามีความไม่เที่ยงตรง ในการสำรวจ แต่ก็กลับนำเหตุผลดังกล่าวมาลดบทบาทของผู้บริหารฝ่ายข่าวในไอทีวี ซึ่งสร้างความสับสนให้กับกองบรรณาธิการของไอทีวี

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารไอทีวีกล่าวว่าการลาออกครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของฝ่ายข่าว ซึ่งสามารถหาคนมาทดแทนและดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งการปรับเป้าหมายให้ไอทีวีมีจุดเด่นในเรื่องของสถานีข่าวต่อไป และล่าสุดมีการปรับกลยุทธ์ด้วยการนำเฮลิคอปเตอร์เข้ามาใช้ในการทำข่าว และรายงานข่าวในกรณีที่มีเหตุการณ์เร่งด่วน และเริ่มนำมาใช้แล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us