Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการายวัน12 พฤษภาคม 2552
เด้ง"บิ๊กหมง"พ้นไออาร์พีซี เหตุทำเจ๊ง-ใบสั่งการเมือง             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

   
search resources

Oil and gas
ไออาร์พีซี, บมจ.




ขุมทรัพย์ไออาร์พีซี ผลัดกันชม! "บิ๊กหมง" จำใจ ยื่นหนังสือลาออกจากประธานบอร์ดและกรรมการวันนี้ (12 พ.ค.) ปัดผลขาดทุน1.8 หมื่นล้าน-ใบสั่งนักกการเมือง แต่อ้างมาจากนโยนบายของ ปตท.ที่ต้องการส่งคนมาคุม เปิดทาง "ณอคุณ สิทธิพงศ์" รองปลัดกระทรวงพลังงานนั่งแท่นประธานไออาร์พีซีแทน ด้าน"ประเสริฐ"ยันเปลี่ยนแปลงประธานบอร์ดไออาร์พีซีครั้งนี้ไม่มีเบื้องหลังโยงใยขั้วการเมืองหรือ"ประชัย เลี่ยวไพรัตน์"ผู้ถือหุ้นเดิม แต่ทำเพื่อความเหมาะสม

จากกรณีมีข่าวว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการบริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จาก พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็น นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน วานนี้ (11 พ.ค.) นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะกรรมการบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (12 พ.ค.) คณะกรรมการบริหารชุดใหม่ของบริษัท ไออาร์พีซีฯ จะประชุมนัดแรกเพื่อพิจารณาแต่งตั้งประธานกรรมการคนใหม่ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของกรรมการทั้ง 17 คนโดยอาศัยเสียงข้างมากโดยพิจารณาถึงความเหมาะสมเป็นสำคัญ

ส่วนข่าวลือจะมีการปลด พล.อ.มงคลแล้วแต่งตั้งนายณอคุณเป็นประธานฯ แทน และจะมีตัวแทนของกลุ่มนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตผู้บริหารทีพีไอ (ชื่อเดิมของไออาร์พีซี) เข้ามาร่วมเป็นกรรมการบริษัทฯด้วยนั้น นายประเสริฐกล่าวยืนยันว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการไออาร์พีซีจริง จะไม่เกี่ยวโยงกับนายประชัย ผู้ถือหุ้นเดิมหรือได้รับการกดดันจากการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสม เนื่องจากนายณอคุณ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บมจ.ปตท. ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่ใน บมจ.ไออาร์พีซี 36.77%

อีกทั้งเมื่อวันที่ 8 เม.ย. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นฯได้มีการคัดเลือกกรรมการชุดใหม่มาแล้ว 6 คน หลังจากมีกรรมการบางท่านหมดวาระลง ดังนั้น กรรมการชุดใหม่จึงต้องประชุมร่วมกันเพื่อคัดเลือกประธานกรรมการ แต่ผลจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับที่ประชุมของบริษัท และการเปลี่ยนแปลงกรรมการถึง 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมด 17 คน ก็ต้องมาหารือกันเกี่ยวกับทิศทางของบริษัทกันใหม่

“การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทฯเป็นเรื่องของกรรมการทั้ง 17 คนเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้ง โดยอาศัยเสียงข้างมาก เพราะประธานกรรมการไม่มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง แต่กรรมการจะมีเทอมอยู่ 3 ปี ซึ่งหากจะมีการปลดกรรมการพ้นจากบริษัทฯ โดยเจ้าตัวไม่ได้สมัครใจนั้น ยืนยันว่าคณะกรรมการฯไม่สามารถปลดเองได้ ต้องได้เสียงเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทฯ 3/4 ของที่ประชุมฯ ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากมาก และกรรมการเหล่านี้ก็รู้จักกันดีอยู่แล้ว คงไม่ต้องรุนแรงขนาดนั้น "

สำหรับผลขาดทุนสุทธิ 1.8 หมื่นล้านบาทของไออาร์พีซีปี 2551 ซึ่งเป็นตัวเลขการขาดทุนที่สูงมากเมื่อเทียบกับธุรกิจการกลั่นในเครือ ปตท. จนกระทบต่อผลกำไรสุทธิของ ปตท.ที่ปรับลดลงเหลือเพียง 5.1 หมื่นล้านบาทจากปี 2550 ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 9.7 หมื่นล้านบาทว่า ไม่ใช่เหตุผลที่จะใช้เปลี่ยนแปลงประธานกรรมการบริษัทฯ เนื่องจากผลกำไรของปตท.ที่ปรับลดลงมาก เกิดจากกลุ่มโรงกลั่นขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน ซึ่งไออาร์พีซีขาดทุนมากสุดถึง 1.8 หมื่นล้านบาท รองลงมาคือ บมจ.ปตท.อะโรเมติกและการกลั่น ขาดทุนสุทธิ 8 พันล้านบาท บมจ.บางจากปิโตรเลียม ขาดทุน 1 พันล้านบาท ส่วนบมจ.ไทยออยล์มีกำไรเล็กน้อย แต่ไตรมาสแรกปีนี้ ในเครือ ปตท.จะมีผลประกอบการดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2551

ส่วนกรณีที่ พล.อ.มงคลมีอายุ 68 ปี เกินกว่าข้อกำหนดของปตท.ที่กำหนดให้ประธานบอร์ดเกษียณอายุ 65ปี นายประเสริฐ กล่าวยืนยันว่า การเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการไออาร์พีซีครั้งนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับอายุของ พล.อ.มงคลอีกเช่นกัน เพราะประธานบอร์ดของบริษัทลูกในเครือจะเกษียณอายุ 70ปี ซึ่งพล.อ.มงคล ยังอายุไม่เกิน ในกรณีที่อดีตผู้ถือหุ้นไออาร์พีซี ต้องการที่จะเข้ามาถือหุ้นไออาร์พีซี ก็สามารถทำได้โดยการซื้อในตลาดหุ้นหรือนอกตลาดได้ หากมีเงิน ขณะเดียวกันการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นไออาร์พีซีของปตท.จากที่ถือหุ้นอยู่ 36.77%นั้น ขึ้นอยู่กับจังหวะ แต่คงถือหุ้นเพิ่มได้ไม่เกิน 40% มิฉะนั้นไออาร์พีซีกลายเป็นรัฐวิสาหกิจ

ทั้งนี้ นายณอคุณได้รับการรับรองจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2552 ให้เป็นกรรมการแทนตำแหน่งเดิมของนายเสงี่ยม สันทัด พร้อมกับกรรมการอีก 5 คน ได้แก่ นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ที่กลับเข้าดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอีกวาระหนึ่ง ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ เป็นกรรมการอิสระ แทน นายเทียนไชย จงพีร์เพียง นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ เป็นกรรมการอิสระ แทนพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รศ.วุฒิสาร ตันไชย เป็นกรรมการอิสระ แทนนายรัตน์ พานิชพันธ์และนายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ เป็นกรรมการ แทนนายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์

บิ๊กหมงจำใจลาออกสังเวยเจ๊ง

แหล่งข่าวจาก บมจ.ไออาร์พีซี กล่าวว่า วันนี้ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ประธานกรรมการไออาร์พีซี จะยื่นใบลาออกจากตำแหน่งประธานและกรรมการ เพื่อเปิดทางให้บอร์ดบริษัทฯ มีการสรรหาประธานกรรมการคนใหม่แทน คือ นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เนื่องจากนโยบายของปตท.ระบุว่าประธานของบริษัทในเครือปตท.ต้องเป็นคนที่ปตท.ส่งไปเท่านั้น พร้อมอ้างว่าการลาออกครั้งนี้ ไม่ได้มีผลมาจากการดำเนินงานของไออาร์พีซีที่ประสบปัญหาการขาดทุน เพราะประธานไม่ได้ดูแลการบริหารงานจัดการ เพียงแต่ให้นโยบายฝ่ายบริหารเท่านั้น ในปีที่ผ่านมา ไออาร์พีซีขาดทุนสุทธิ 1.8 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน และที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมา ก็ไมได้ติดใจเรื่องนี้ หลังจากคณะกรรมการบริษัทฯได้ชี้แจงสาเหตุที่มาของการขาดทุน

" พล.อ.มงคล จะยื่นใบลาออก ที่ผ่านมา ท่านไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่งหน้าที่อยู่แล้ว โดยไม่ต้องรอให้มีการปลดออกเหมือนที่เป็นข่าว" แหล่งข่าวกล่าว

ก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นไปตามกระแสข่าวที่ว่า เป็นใบสั่งของอดีตนักการเมืองใหญ่ที่ใกล้ชิดกับรมว.พลังงาน ที่จะคืนไออาร์พีซี ให้แก่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตเจ้าของบริษัท โดยขั้นตอนจากนี้ไปจะถ่ายโอนคนของนายประชัย เข้าไปอยู่ในคณะกรรมการบริษัทชุดใหม่ จากนั้นก็จะมีการเจรจาซื้อหุ้นไออาร์พีซีคืนจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ ปตท , กองทุนบำเหน็ญบำนาญข้าราชการ(กบข.) , กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง และ ธนาคารออมสิน ที่ถือหุ้นไออาร์พีซีรวมทั้งสิ้น 64.39%

ทั้งนี้ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ได้เข้ามาเป็นประธานไออาร์พีซีตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2546 ในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร 1 ซึ่งช่วงนั้น ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ เป็นรมว.คลัง ทางศาลล้มละลายกลางได้มีหนังสือขอให้คลังพิจารณาหาคนกลาง เพื่อมาเป็นผู้บริหารแผนทีพีไอ(ในยุคนั้นก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นไออาร์พีซี) หลังจากปลดผู้บริหารแผนเดิมออกไปท่ามกลางความเห็นชอบของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตผู้บริหารเดิมในช่วงนั้นที่ต้องการคนกลางเข้ามาดูแล แต่สุดท้ายก็เกิดแตกคอกับทีมผู้บริหารแผนฯชุดพล.อ.มงคล

ต่อมาเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2549 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ทีพีไอพ้นจากการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งก็ถือว่าภาระกิจของพล.อ.มงคลผ่านพ้นไปได้ด้วยดี แต่ช่วงนั้นผู้บริหารทีพีไอมีคดีความที่เกิดจากการฟ้องร้องของผู้ถือหุ้นเดิมจำนวนมาก ทำให้ปตท.ซึ่งได้เข้ามาถือหุ้นใหญ่ทีพีไอ ต้องขอให้พล.อ.มงคลดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทต่อไป เพราะมองว่าจะเป็นบุคคลที่รับมือนายประชัยได้ จนกระทั่งมีการเสนอเปลี่ยนแปลงประธานบอร์ดไออาร์พีซีในวันนี้

"วรรณรัตน์" โบ้ยเอี่ยวการเมือง

นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวการเมืองกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการ บริษัท ไออาร์พีซีฯ และจะมีตัวแทนของกลุ่ม นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เข้ามาแทนเอี่ยวด้วย ว่า เรื่องนี้ ไม่ทราบว่าข่าวเกิดมาได้อย่างไร แต่ในฐานะเป็นนักการเมือง และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ขอยืนยันว่าไม่ได้เข้าไปก้าวก่าย เพียงแต่กำหนดนโยบายรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัด คือ ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างผลตอบแทนที่ดีต่อประเทศชาติในปีที่ผ่านมานั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า ไออาร์พีซี ขาดทุนเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ดังนั้น บมจ.ปตท.ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ของไออาร์พีซี ย่อมมีอำนาจเข้าไปดูแล ซึ่งจะให้ใครเป็นประธานบอร์ดไออาร์พีซี ก็เป็นอำนาจของบอร์ด ปตท.

ไออาร์พีซีตั้งเป้ายอดขายหด40%

วานนี้ (11 ก.ค.) บริษัท ไออาร์พีซีได้ลงนามสัญญาร่วมเป็นผู้ค้าเม็ดพลาสติกกับบริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ในเครือปตท. ซึ่งจะเป็นการสร้างขีดความสามารถในการตลาดและศักยภาพในการแข่งขันกับบริษัทคู่แข่งข้ามชาติ เนื่องจากมีโรงงานปิโตรเคมีรายใหม่เกิดขึ้นรวมทั้งรายเดิมที่ขยายกำลังการผลิต ส่งผลให้มีเม็ดพลาสติกจำนวนมากออกสู่ตลาด โดยปี2553เครือปตท.จะมีกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกรวมทั้งสิ้น 3.5 ล้านตัน ซึ่งปริมาณเม็ดพลาสติกคิดเป็น 60%ของกำลังการผลิตจะส่งออกไปต่างประเทศ

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไออาร์พีซี กล่าวว่า ในปี 2552 บริษัทฯจะมียอดขายลดลง 40% จากปีก่อนที่มียอดขาย 2.45 แสนล้านบาท สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงจากระดับเฉลี่ยทั้งปี 51 ที่ 90 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่ปีนี้ราคาปรับลงมาเฉลี่ย 50 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งโครงสร้างรายได้ของไออาร์พีซี มาจากธุรกิจน้ำมันเป็นสัดส่วน 70% ส่วนอีก 30%มาจากธุรกิจปิโตรเคมี

ปัจจุบันอัตรากำไร (มาร์จิน) ของธุรกิจปิโตรเคมีค่อนข้างดี โดยมีส่วนต่างราคาเม็ดพลาสติกกับวัตถุดิบ (แนฟทา) อยู่ที่ 600-700 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันเริ่มปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ทำให้ไตรมาสแรกปีนี้ จะมีกำไรใกล้เคียงไตรมาส 1/2551 เนื่องจากบริษัทฯได้บันทึกกลับเป็นกำไรจาก stock loss เคยตั้งสำรองเมื่อปลายปี 51และมีกำไรจากการทำเฮดจิ้งส่วนต่างราคาน้ำมันด้วย.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us