Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน12 พฤษภาคม 2552
อย่าด่วนสรุปอสังหาฯฟื้น AREAเตือนสต็อกค้างอื้อ             
 


   
search resources

Real Estate
วสันต์ คงจันทร์




เปิดผลสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยไตรมาสแรกปี 52 “เอเจนซี่ฯ”เผยโครงการเปิดใหม่ลดลงกว่าครึ่ง หลังสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจยังคงหลอกหลอนเอกชน-คนซื้อบ้าน คาดทั้งปีเปิดใหม่ลดลง 36% ชี้กำลังซื้อไตรมาสแรกกระเตื้องอาจไม่ใช่สัญญาณบวก เหตุปลายปี51ยอดขายต่ำผิดปกติ ส่วนที่อยู่อาศัยคงค้างในกรุงเทพฯและปริมณฑลกว่า 1.1 แสนหน่วย อย่างต่ำ 2 ปีระบายหมด

นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) กล่าวถึงสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาส1และตลอดทั้งปี 52 ว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง (จีดีพีรายไตรมาสในปี 2551 ที่ 6.0%, 5.3%, 3.9%, -4.3% ตามลำดับ เฉลี่ยทั้งปี 2.6% และคาดการณ์ไตรมาสแรกของปี 2552 ติดลบ 6-7% ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย) โดยได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลก รวมทั้งปัญหาทางการเมืองที่ยังแก้ไม่ตก ขณะที่ผลการสำรวจล่าสุดกลับพบว่า อุปทานที่อยู่อาศัยเฉพาะที่เปิดขายใหม่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ณ ไตรมาส1ของปี 52จำนวนหน่วยลดลงกว่าครึ่ง โครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ (นำออกมาขายใหม่ ไม่รวมโครงการที่ขายมาก่อนหน้านี้แล้ว) จำนวน 51 โครงการ 10,451 หน่วย มูลค่า 35,414 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยต่อหน่วย 3.38 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส1ของปีที่แล้ว จำนวนโครงการลดลง 40% จำนวนหน่วยลดลง 51% มูลค่าลดลง 36%

รวมทั้งหากประมาณการทั้งปีเปรียบเทียบปี 2551 และปี 2552 คาดว่าจำนวนโครงการเปิดใหม่เหลือ 204 โครงการลดลง 36% จำนวนอยู่ที่ 41,804 หน่วย ลดลง 38% มูลค่า 141,656 ล้านบาท ลดลง 23% ราคาเฉลี่ยต่อหน่วยเพิ่มขึ้น 25% อยู่ที่ 3.38 ล้านบาท

“ผู้ประกอบการในตลาด มีความหวั่นวิตกจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงปลายปีที่แล้วสูง ทำให้มีอุปทานใหม่ออกมาขายในไตรมาสแรกของปีนี้เทียบกับไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง แม้แต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ยังต้องปรับลดเป้าหมายการขายลง อย่างไรก็ตาม เป็นการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ ณ ไตรมาสที่ 4 แต่จากสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะดีขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้ ทำให้บางรายกำลังจะปรับเพิ่มเป้าหมายการขายให้สูงขึ้นแล้ว ”นายวสันต์กล่าว

กำลังซื้อกระเตื้องขึ้นบ้าง

สำหรับสถานการณ์ด้านกำลังซื้อ กลับไม่ได้ลดลงมากเช่นอุปทาน ลดเพียง 11% เทียบไตรมาสแรกปีที่แล้ว แต่หากเทียบไตรมาส 4 ยอดกลับพุ่ง 32% จากการสำรวจยอดขายพบว่า ในไตรมาส 1 ปีที่แล้วกำลังซื้อลดลง 11% (ในขณะที่อุปทานที่ลดถึง 51% ดังกล่าว) แต่ถ้าเทียบไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 กำลังซื้อกลับเพิ่มขึ้น 32% (ในขณะที่อุปทานที่ลดลง 24%)

แต่หากพิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว ยอดขายในไตรมาส1ที่ดูเหมือนกระเตื้องขึ้นมากหากเทียบกับไตรมาสที่ 4 จริงๆแล้ว ในช่วงไตรมาส4 ของปีที่แล้ว มีเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองเป็นตัวบั่นทอนทำให้ยอดขายต่ำกว่าปกติ ดังนั้นหากเทียบกับไตรมาสก่อนหากไม่มีเหตุการณ์ทางการเมือง ยอดขายอาจไม่ต่ำกว่า 15,000 หน่วยได้ แสดงให้เห็นว่ายอดขายอาจยังทรงตัวอยู่ นอกจากนี้ ในไตรมาส1ของปีนี้ มีปัจจัยบวกจากมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียม และมาตรการภาษีของรัฐบาลในการช่วยกระตุ้นภาคอสังหาฯ (ที่จะหมดอายุในวันที่ 28 มี.ค.2552 ที่ผ่านมา

“ ก่อนหน้านี้ทำท่าจะมีผลบังคับใช้ไม่ทัน แต่ว่ากันว่า อาจเป็นความตั้งใจของรัฐบาลที่ต้องการให้มีการโอนมากๆในช่วงนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้วค่อยประกาศในวันสุดท้ายก็ยังทัน เพราะหากแจ้งล่วงหน้าว่ามีผลบังคับใช้ทันแน่ๆ อาจไม่มีการเร่งโอนก็ได้ ดังนั้น การจะดูเฉพาะตัวเลขแล้วอนุมานว่าอสังหาฯภาคที่อยู่อาศัยฟื้นตัวแล้วนั้น อาจจะเร็วเกินไป เพราะภาพใหญ่คือเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น แต่จากสถานการณ์ถึงไตรมาสแรกของปีนี้ ก็แสดงถึงภาคที่อยู่อาศัยยังพอไปได้อยู่ ไม่ได้ตกต่ำเลวร้ายเช่นในปี 2540 ”

เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของภาคที่อยู่อาศัยในครั้งนี้ยังคงดีอยู่ กล่าวคือ ไม่มีปัญหาด้านการเก็งกำไรเช่นในวิกฤตรอบที่แล้ว ที่มีการเก็งกำไรปีละกว่า 100,000 หน่วย รวม 3-4 ปี 300,000-400,000 หน่วย เทียบกับปัจจุบันที่ไม่น่าจะเกินปีละ 10,000-15,000 หน่วย รวม 3 ปี 30,000-40,000 หน่วยเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยก็ยังต่ำมากอย่างต่อเนื่อง (เทียบกับยุคนั้นสูงถึง 13-14%) สถาบันการเงินก็ไม่ได้ถูกปิดเช่นคราวที่แล้ว กำลังซื้อก็ยังไม่ได้ลดลงมากนัก (เทียบกับยุคนั้นมีการซื้อที่อยู่อาศัยในปี 2536-2538 ปีละกว่า 200,000 หน่วย แต่พอเกิดวิกฤติในปี 2540-41 ยอดขายกลับลดเหลือเพียง 20,000-30,000 หน่วยเท่านั้น (ยอดขายลดลง 90%)

สต๊อกที่อยู่อาศัยเหลือกว่าแสนหน่วย

นายวสันต์กล่าวว่า ในผลการสำรวจของปีนี้ พบว่ามีมีอุปทานคงเหลือสะสม (ขายอยู่ในตลาดและยังไม่มีผู้ซื้อ) ของที่อยู่อาศัยทุกประเภทในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมจำนวน 110,490 หน่วย เป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างทรงตัว อุปทานไม่เพิ่มขึ้นมาประมาณ 2 ปี แสดงถึงการปรับตัว รับรู้ข้อมูลของผู้ประกอบการที่ดีระดับหนึ่ง

ปริมาณอุปทานคงเหลือสะสมขณะนั้น หากเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตในปี 2540 โดยในปี 2539 อุปทานคงเหลือสะสมจำนวนเกือบ 149,531 หน่วย ก็นับได้ว่าสัดส่วนประมาณ 74% ของยุคนั้นแล้ว ก็ถือว่ามากแล้ว ทั้งนี้ การพิจารณาจากล้นตลาดหรือไม่นั้น ต้องเทียบกับยอดการซื้อ โดยในช่วงปี 2550-2551 มียอดซื้อรวมประมาณ 65,000 หน่วยต่อปี (ก่อนหน้านั้นในปี 2547-2549 ยอดซื้อประมาณ 50,000 กว่าหน่วย) และในไตรมาสแรกของปีนี้ ที่มีการซื้อไป 14,757 หน่วย หากคาดการณ์ทั้งปี 50,000-60,000 หน่วย บนสมมติฐานช่วงปลายปีเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวได้จริง เทียบกับอุปทานคงเหลือก็ต้องใช้เวลาขายประมาณ 2 ปี โดยไม่ต้องมีอุปทานใหม่ หากเทียบกับสัดส่วนในยุคเฟื่องฟู เช่น ในปี 2546-2548 มีอุปทานสะสมเหลือขายประมาณ 50,000-70,000 หน่วย เทียบกับยอดซื้อแล้ว ต้องใช้เวลาขายประมาณ 1 ปี ณ วันนี้ก็ยังถือว่าไม่มากไม่น้อย

อุปทานคงเหลือสะสมดังกล่าว แม้ว่าจะมีสัดส่วนประมาณ 74% ในยุคก่อนวิกฤตในปี 2540 แล้ว แต่หัวใจสำคัญของปัญหาในยุคนั้น คือ ความต้องการเทียม (Fake Demand) หรือการเก็งกำไร ที่ปีๆ หนึ่งมีถึง 100,000 กว่าหน่วย (ยอดขายแต่ละปี 200,000 กว่าหน่วย กำลังซื้อจริงคงไม่เกิน 100,000 หน่วย) เพราะหลังจากนั้นแล้ว สำรวจพบบ้านว่าง (ก่อสร้างแล้วเสร็จไม่มีผู้อาศัย) ประมาณ 350,000 หน่วย ซึ่งเป็นการเก็งกำไร หากรวมกับยอดอุปทางคงเหลือ 150,000 หน่วย ณ ขณะนั้น รวมเป็นกลุ่มเสี่ยง 450,000 หน่วย พอเกิดวิกฤตเศรษฐกิจก็ย่อมมีอันเป็นไปก่อน แต่ในปัจจุบันกลุ่มเสี่ยงจำนวน 110,000 หน่วยกับการเก็งกำไร 45,000 หน่วย รวมแล้วคงไม่เกิน 160,000 หน่วย ประมาณ 1 ใน 3 ของยุคนั้น

“โดยรวมของตลาดอสังหาฯในปีนี้ คาดว่าตลาดบ้านเดี่ยวอาจเป็นประเภทที่ต้องระมัดระวังสูงเป็นพิเศษ เพราะมีอุปทานคงเหลือมากกว่าสินค้าประเภทอื่นๆ และกำลังซื้อน้อยตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ด้านทาวน์เฮาส์กับอาคารชุดน่าจะยังคงพอไปได้ ”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us