|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์ชาติเผยแบงก์พาณิชย์ให้สินเชื่อภาคธุรกิจโดยรวมเพิ่มขึ้นเแค่ 0.55% หรือเพิ่มขึ้น 4.15 หมื่นล้านบาท ซึ่งเกิดจากธุรกิจตัวกลางทางการเงินที่แบงก์และ ธปท.กู้ระหว่างกันเอง และธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล แต่ในภาพรวมภาคธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงได้รับสินเชื่อลดลงถ้วนหน้าจากการที่แบงก์เข้มงวดปล่อยกู้ในยุคเศรษฐกิจฝืด โดยธุรกิจเกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศได้รับสินเชื่อหดตัวมากที่สุดถึง 18.97% ขณะที่ในแง่มูลค่าธุรกิจด้านผลิตหดตัวถึง 6.65 หมื่นล้านบาท
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อแยกตามประเภทธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบล่าสุด ณ เดือน มี.ค.หรือไตรมาสแรกของปีนี้ พบว่า สถาบันการเงินในระบบมียอดคงค้างเงินให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจทั้งสิ้น 7.59 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย 0.55% คิดเป็นวงเงิน 4.15 หมื่นล้านบาท
ซึ่งมีบางธุรกิจเท่านั้นที่ดันให้ยอดสินเชื่อโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่ภาคธุรกิจยังคงได้รับสินเชื่อน้อยลงจากสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ ภาคธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธุรกิจตัวกลางทางการเงิน ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการให้สินเชื่อด้วยกันเองระหว่างสถาบันการเงินในระบบ รวมถึงธปท.ด้วย เพิ่มขึ้นในสัดส่วน 12.7% เพิ่มขึ้นในวงเงิน 1.74 แสนล้านบาท จากปัจจุบันที่มียอดคงค้างทั้งสิ้น 1.62 ล้านล้านบาท รองลงมาธุรกิจโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้น 1.08% เพิ่มขึ้นจำนวน 2.66 พันล้านบาท ยอดคงค้างเงินที่ได้รับสินเชื่อ 2.48 แสนล้านบาท
ตามมาด้วยธุรกิจเกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 0.93% คิดเป็นเงิน 1.50 หมื่นล้านบาท ยอดคงค้าง 1.63 ล้านล้านบาท ธุรกิจด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นสัดส่วน 0.85% คิดเป็นเงิน 165 ล้านบาท ยอดคงค้างที่มีอยู่ 1.96 หมื่นล้านบาท และธุรกิจการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคมเพิ่มขึ้น 0.53% เป็นเงิน 1.21 พันล้านบาท จากยอดคงค้างที่มี 2.28 แสนล้านบาท
โดยในส่วนของธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมีแค่ 2 ธุรกิจเท่านั้นที่ได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น คือ การจัดหาที่อยู่อาศัยและการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น 1.55 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 1.86% และ 5.02 พันล้านบาท คิดเป็น 1.4% ขณะที่ธุรกิจเกี่ยวกับการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อการทำงานหดตัวมากสุดในธุรกิจนี้ถึง 14.05%
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณารายธุรกิจอื่นๆ พบว่า ส่วนใหญ่แล้วยังคงได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินลดลงตามความเข้มงวดของสถาบันการเงินที่กังวลเรื่องความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว โดยธุรกิจเกี่ยวข้องกับองค์การระหว่างประเทศ และองค์การต่างประเทศอื่นๆ และสมาชิกได้รับสินเชื่อลดลง 18.97% ลดลงจำนวน 11 ล้านบาท รองลงมาเป็นธุรกิจลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคลหรือการให้กู้แก่อุตสาหกรรมในครัวเรือน 10.71% ลดลง 3 ล้านบาท และธุรกิจการให้บริการชุมชน สังคม และบริการส่วนบุคคลอื่นๆ 7.52% หรือลดลง 4.80 พันล้านบาท
ธุรกิจการขายส่ง การขายปลีก และซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือนได้รับสินเชื่อลดลงในสัดส่วน 4.8% คิดเป็นวงเงิน 5.10 หมื่นล้านบาท ธุรกิจการทำเหมือนแร่และถ่านหินลดลง 4.35% ในวงเงิน 1.71 พันล้านบาท ธุรกิจการบริหารราชการ และการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ 4.03% ลดลง 3.96 พันล้านบาท ธุรกิจการผลิต 3.8% ลดลง 6.65 หมื่นล้านบาท ซึ่งในแง่มูลค่าได้รับสินเชื่อลดลงมากที่สุดในระบบ
นอกจากนี้ ธุรกิจเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ลดลง 3.59% ลดลง 2.89 พันล้านบาท ธุรกิจก่อสร้าง 3.44% คิดเป็นเงิน 4.96 พันล้านบาท ธุรกิจการบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจกู้เงินเพื่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ 2.57% ลดลงจำนวน 1.44 หมื่นล้านบาท ธุรกิจประมง 1.32% ลดลง 180 ล้านบาท ธุรกิจการไฟฟ้า แก๊ส และการประปา 0.7% คิดเป็น 1.09 พันล้านบาท และธุรกิจการบริการด้านสุขภาพ และงานสังคมสงเคราะห์ลดลง 0.24% ลดลงในวงเงิน 82 ล้านบาท.
|
|
 |
|
|