Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน11 พฤษภาคม 2552
ธปท.ห่วง NPL บัตรเครดิตพุ่ง สินเชื่อบุคคลวูบ 9 แสน บช.             
 


   
search resources

โชค ณ ระนอง
Loan




นายแบงก์เผยหนี้เน่าบัตรเครดิตขยับเพิ่ม บัวหลวงอัตราเพิ่มขึ้นเป็น 2% จากปลายปีที่อยู่ในระดับ 1.75% พร้อมตั้งเป้าคุมไม่ให้เกิน 2% พร้อมเกาะติดกลุ่มธุรกิจส่วนตัว กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ด้านแบงก์ชาติยอมรับแนวโน้มไม่สู้ดีทั้งเอ็นพีแอลบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เผยปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมผ่านบัตรเครดิตหดตัว13.47% ลดลงกว่า 6 พันล้าน สินเชื่อส่วนบุคคลจำนวนบัญชีหดเกือบ 9 แสนบัญชี เฉพาะนอนแบงก์เกือบ 8 แสนบัญชี

นายโชค ณ ระนอง ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในส่วนของบัตรเครดิตขณะนี้ได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากในช่วงปลายที่ก่อนอยู่ที่ 1.75% มาเป็น 2% ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและปัจจัยด้านการเมืองที่มีความวุ่นวาย ส่วนยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรในไตรมาสแรกของปีนั้นก็ได้มีการปรับตัวลดลงเช่นกัน จากความระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้จ่ายที่มีมากขึ้น โดยยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเฉลี่ยขณะนี้อยู่ที่ 9,000 บาทต่อบัตร ลดลงจากสิ้นปีก่อนประมาณ 1-2 %

ณ สิ้นไตรมาสแรกธนาคารมีฐานบัตรเครดิตอยู่ที่ 950,000 บัตร ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสิ้นปี ในขณะที่ยอดการผ่อนชำระอยู่ที่ 50% ชำระเต็มจำนวน 50% และเป้าหมายควบคุมเอ็นพีแอล นั้นในปีนี้จะควบคุมไม่ให้เกิน 2% ส่วนยอดบัตรเครดิตน่าจะอยู่ที่ 1 ล้านบัตร

"ธนาคารมีความระมัดระวังในการอนุมัติบัตรเครดิตมากขึ้นกว่าเดิม เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว พร้อมทั้งได้เฝ้าติดตามดูกลุ่มธุรกิจส่วนตัว เพราะมีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ก็พิจารณากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มยานยนต์เป็นกรณีพิเศษ" นายโชคกล่าว

นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายผลิตภัณฑ์สินเชื่อลูกค้าบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB กล่าวว่า ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไตรมาสแรกเติบโต 2-3% เนื่องจากมีรายการส่งเสริมการขายค่อนข้างมากบนพื้นฐานต้นทุนที่ต่ำ เพราะเน้นกลุ่มลูกค้าของธนาคารเป็นหลัก ทำให้ได้รับผลกระทบน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ หรือนอนแบงก์ โดยยอดการใช้จ่าย ณ ไตรมาสแรกมีมูลค่ารวมกว่า 25,000 ล้านบาท ส่วนไตรมาสสองนั้นไม่แน่ใจว่ายอดการใช้จ่ายจะเพิ่มหรือลดลง

ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเฉลี่ยอยู่ที่ 6,000 บาทต่อบัตร หากคิดยอดบัตรที่มีการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ (แอคทีฟ) จะอยู่ที่ 12,000 บาทต่อบัตรต่อเดือน โดยฐานบัตรเครดิต ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 1.9 ล้านบัตร โดยเป็นบัตรแฟมิลี่ ถึง 300,000 บัตร ทั้งนี้ในจำนวน 1.9 ล้านบัตร นั้น เป็นบัตรที่แอ๊คทีฟ 60-70% มียอดการผ่อนชำระ 60% ที่เหลือชำระเต็มจำนวน ส่วนเอ็นพีแอล นั้นไม่ถึง 2%

ส่วนรายการส่งเสริมการขายในช่วงนี้ ยังคงเน้น รับเงินคืนสูงสุดรวม 15% เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ใดก็ได้ครบทุก 10,000 บาท รับเงินคืนทุกเดือนขั้นต่ำ 2% และรับเงินคืนเพิ่ม 1% ทุกเดือน ถ้าใช้จ่ายติดต่อกันทุกเดือน รวม 4 เดือน และเพิ่มความพิเศษเมื่อสะสมยอดใช้จ่ายครบ 500,000 บาทขึ้นไปตลอด 4 เดือน รับเงินคืนเพิ่มอีก 10% รวมเป็น 15% โดยคำนวณยอดเงินคืนจากการใช้จ่ายในหมวด Hotel, Dining และ Shopping เท่านั้น เพียงลงทะเบียนรับสิทธิ์ผ่าน SMS วันนี้ - 31 ก.ค.52 เท่านั้น

สำหรับเป้าหมายสิ้นปีนี้คาดว่ายอดบัตรเครดิตน่าจะอยู่ที่ 1.8-1.9 ล้านบัตร เพราะจะมีบางบัตรที่ลูกค้าทำการยกเลิก แต่บัตรเครดิตที่เพิ่มจะเป็นบัตรเครดิตแฟมิลี่มากกว่า โดยคาดว่าช่วงเวลาที่เหลือน่าจะมียอดบัตรเครดิตแฟมิลี่เพิ่มอีก 300,000 บัตร รวมทั้งปียอดบัตรเครดิตแฟมิลี่ 600,000 บัตร โดยลูกค้าก็ยึดถือจากฐานลูกค้าเงินฝากของธนาคารเป็นหลัก

"ปีนี้ไม่ได้เน้นเพิ่มยอดบัตรมากนัก ยกเว้นบัตรเครดิตแฟมิลี่ แต่สิ่งที่เน้นคือยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรมากกว่า ณ ปัจจุบัน ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรของธนาคารมีส่วนแบ่งการครองตลาด 16% ถือเป็นอันดับ1 ของอุตสาหกรรม" นายรุ่งเรืองกล่าว

ด้านสินเชื่อหมุนเวียน speedy cash ที่เป็นเงินสดพร้อมใช้ มีการผ่อนชำระคืน 5% นั้น ณ สิ้นไตรมาสแรกมียอดสินเชื่อคงค้าง 9,000 ล้านบาท เติบโต41% จำนวนรายอยู่ที่ 380,000 ราย ขณะที่ไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา ยอดคงค้างอยู่ที่ 6,000 ล้านบาท ส่วนยอดเอ็นพีแอล ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 5% ซึ่งสิ้นปีนี้คาดว่ายอดสินเชื่อคงค้างน่าจะอยู่ที่ 14,000-15,000 ล้านบาท ทั้งนี้รวมสินเชื่อส่วนบุคคล speedy loan ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีการผ่อนชำระเป็นรายเดือนเท่ากันด้วย ซึ่ง ณ ปัจจุบันมียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท ส่วนรายได้ของผู้ที่ขอสินเชื่อดังกล่าวเน้นกลุ่มผู้มีรายได้ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป แต่หากลูกค้าที่มีรายได้ 10,000 บาทต่อเดือนแล้วมีศักยภาพ ธนาคารก็รับเป็นลูกค้า

สินเชื่อที่อยู่อาศัย ณ ปัจจุบันมียอดคงค้างอยู่ที่ 220,000 ล้านบาท ไตรมาสแรกมียอดสินเชื่อใหม่เพิ่ ม 11,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตสุทธิ 10% โดยมีเอ็นพีแอล อยู่ที่ 2.5% โดยธนาคารจะควบคุมไม่ให้เกิน 3% ในปีนี้ ซึ่งสินเชื่อบ้านใหม่ในปีนี้มีอัตราการเติบโตที่ลดลง ทำให้ตลาดรีไฟแนนซ์กลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง แต่หากแบงก์อื่นมารีไฟแนนซ์ลูกค้าของแบงก์ไทยพาณิชย์ แบงก์ก็จะเอาคืนเป็น 2 เท่า ซึ่งตลาดสินเรื่องรีไฟแนนซ์นั้นไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจมีการขับเคลื่อน เนื่องจากย้ายจากแบงก์หนึ่งไปอีกแบงก์หนึ่งเท่านั้น

แบงก์ชาติยอมรับNPLรายย่อยพุ่ง

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ภาคสถาบันการเงินต่างงัดผลิตภัณฑ์หลากหลาย แคมเปญต่างๆ รวมทั้งเงื่อนไขพิเศษสุดทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมบางประเภท เพื่อกระตุ้นรายได้และเพิ่มฐานลูกค้าอย่างล่าสุดได้มีการจัดงานมหกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 7-10 พ.ค.นี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่สายนโยบายสถาบันการเงินได้รายงานการภาวะการให้บริการบัตรเครดิต แยกตามประเภทบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.ล่าสุดในเดือน มี.ค.หรือไตรมาสแรกของปีนี้

ทั้งนี้ ธุรกิจบัตรเครดิตยังคงมีปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมลดลงต่อเนื่อง แต่หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่สูงตามภาวะเศรษฐกิจ แม้จำนวนบัตรเครดิตและยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมที่ออกโดยผู้ประกอบการทุกประเภทมีจำนวนรวม 8.01 หมื่นล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 6.42 พันล้านบาท ลดลงถึง 13.47% โดยการใช้จ่ายผ่านบัตรของธนาคารพาณิชย์ลดลงมากที่สุด 3.20 พันล้านบาท รองลงมาเป็นบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) 2.71 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 517 ล้านบาท

โดยเมื่อแยกตามประเภทการใช้จ่าย พบว่า ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศผ่านบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 5.93 หมื่นล้านบาท ลดลง 5.29 พันล้านบาท ลดลง 16.10% จากไตรมาสก่อน ซึ่งบัตรที่ออกโดยผู้ประกอบการทุกประเภทลดลงไปในทิศทางเดียวกันบัตร โดยธนาคารพาณิชย์ 2.43 พันล้านบาท นอนแบงก์ 2.34 พันล้านบาท และสาขาต่างชาติ 501 ล้านบาท

เช่นเดียวกันในระบบมีการเบิกเงินสดล่วงหน้าผ่านบัตรเครดิตโดยรวม 1.78 หมื่นล้านบาท ลดลง 1.52 พันล้านบาท ลดลงในสัดส่วน 10.93% ซึ่งผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ลดลง 951 ล้านบาท นอนแบงก์ลดลง 474 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 93 ล้านบาท นอกจากนี้ ปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศกลับสวนกระแสมียอดเพิ่มขึ้น 382 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 39.87% จากปัจจุบันที่มียอดทั้งสิ้น 2.92 พันล้านบาท โดยผู้ประกอบในส่วนของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 199 ล้านบาท นอนแบงก์ 107 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 76 ล้านบาท

ยอดค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไป หรือเอ็นพีแอลในธุรกิจบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นในสัดส่วนถึง 17.16% เพิ่มขึ้น 363 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้เอ็นพีแอลในส่วนของธนาคารพาณิชย์ 344 ล้านบาท คิดเป็น 16.26% นอนแบงก์ 167 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.70% แต่มีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติกลับลดลง 149 ล้านบาท ลดลง 12.89% ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตลดลง 8.05 พันล้านบาท ลดลง 11.90% ซึ่งเป็นการลดลงของผู้ประกอบทุกประเภททั้งธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์และสาขาธนาคารต่างชาติ 3.57 พันล้านบาท 3.34 พันล้านบาท และ1.14 พันล้านบาท ตามลำดับ จากปัจจุบันที่ในระบบมียอดคงค้างสินเชื่อประเภทนี้ทั้งสิ้น 1.82 แสนล้านบาท

ส่วนปริมาณบัตรเครดิตโดยรวมมีจำนวน 13.14 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 1.65 แสนใบ เพิ่มขึ้น 3.28% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ 2.29 แสนใบ แต่ในส่วนของนอนแบงก์และสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 5.84 หมื่นล้านบาท และ 5.70 พันล้านบาท ตามลำดับ

ทั้งนี้ ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลมีจำนวนบัญชีทั้งสิ้น 9.45 ล้านบัญชี ลดลง 8.77 แสนบัญชี คิดเป็น 8.49% ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อ 2.25 แสนล้านบาท ลดลง 4.22 พันล้านบาท หรือลดลง 1.84% ซึ่งผู้ประกอบการสินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภทต่างมีจำนวนบัญชีและยอดคงค้างสินเชื่อลดลง โดยเฉพาะนอนแบงก์ที่มีจำนวนบัญชีลดลงถึง 7.95 แสนบัญชี และมียอดคงค้างสินเชื่อลดลง 3.15 พันล้านบาท

ยอดเอ็นพีแอลของสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.57% จากปัจจุบันที่มียอดเอ็นพีแอลรวม 8.3 พันล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการนอนแบงก์มีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 305 ล้านบาท แต่ในส่วนของธนาคารพาณิชย์และสาขาธนาคารต่างลดลง 18 ล้านบาท และ 240 ล้านบาท ตามลำดับ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us