Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2531
การวางแผนที่เป็นระบบของกิจการขนาดย่อมทำกันอย่างไร!             
 


   
search resources

SMEs
Knowledge and Theory




องค์ประกอบซึ่งจะยกมากล่าวโดยสังเขปต่อไปนี้ล้วนแต่มีส่วนสัมพันธ์กับการวางแผนงานของกิจการอยู่ไม่มากก็น้อย อาจใช้เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารงานแต่ละด้านได้ และใช้วางแนวทางบริหารบุคลากรของบริษัทได้ด้วย

การกำหนดเป้าหมาย

กำหนดสิ่งที่บริษัทมุ่งหมายจะกระทำให้ชัดเจน โดยอาจครอบคลุมถึงสิ่งต่อไปนี้ได้แก่

- ประเภทและช่องทางธุรกิจที่ทางบริษัทสนใจจะดำเนินการ

- วิธีการโดยรวมที่บริษัทจงใจจะใช้ เพื่อสร้างลักษณะเฉพาะของตัวเองให้ต่างจากคู่แข่งโดยเน้นในจุดที่บริษัทเข้มแข็งอยู่แล้ว

- จำนวนเงินและกำหนดเวลาในด้านการเงิน รวมทั้งวัตถุประสงค์อันสามารถประเมินได้อื่น ๆ

- บทบาทหน้าที่ที่บริษัทพึงมีต่อหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับทางบริษัท

- กำหนดปรัชญาการจัดการของบริษัทให้เป็นเอกภาพ

- จัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายต่าง ๆ ที่ประดังกันอยู่

- คิดเผื่อสำหรับการศูญเสียที่อาจเป็นไปได้ตลอดจนปัญหาและความไม่แน่นอนที่อาจประสบเข้าและแผนงานที่วางไว้จะต้องมีการยืดหยุ่นได้

แผนการตลาด

วิเคราะห์ตำแหน่งการตลาดในปัจจุบันของบริษัท และมองถึงโอกาสที่บริษัทจะเลื่อนตำแหน่งการตลาดต่อไป โดยพิจารณาถึงสิ่งเหล่านี้ ได้แก่

- แนวโน้มที่ดำเนินอยู่และลู่ทางในตลาดร้านค้าส่งและร้านค้าปลีกที่ทางบริษัทติดต่อขายอยู่หรือที่กำลังหาช่องทางจะขายต่อไป กรณีนี้ครอบคลุมถึงส่วนแบ่งการตลาด ความต้องการของผู้ซื้อ เทคโนโลยี ประชากรศึกษา แนวทางการใช้ชีวิต ตลอดจนปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบถึง

- ตำแหน่งการตลาดของคู่แข่งขันรายอื่น ๆ

- ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงในตลาดสินค้าตัวอื่นที่มีผลต่อสินค้าและตลาดของบริษัท

- วิเคราะห์คุณลักษณะที่ทำให้สินค้าดึงดูดใจผู้ซื้อทั้งตัวสินค้าของทางบริษัทเองและสินค้าของคู่แข่ง โดยการมองจากทัศนะของผู้ซื้อว่าสิ่งใดคือคุณค่าที่สามารถตอบสนองความพึงพอใจ ในแง่มุมใด และมากน้อยเพียงไร

- ความเหมาะสมระหว่างปริมาณการผลิตกับส่วนแบ่งการตลาดของบริษัท

- เลือกเฟ้นวิธีการที่สามารถดึงดูดใจลูกค้า และทำให้สินค้าเข้าถึงตัวลูกค้าได้

- กำหนดราคาให้เหมาะสมโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลอื่น ๆ ประกอบ

- ประเมินขนาดของตลาด แนวโน้มการขยายตัวของตลาดให้แม่นยำ แล้วจึงกำหนดส่วนแบ่งการตลาดที่คาดหวังเอาไว้

แผนการขาย

ผลสำเร็จของการขายโดยมากมักต่อเนื่องมาจากแผนการตลาดนั่นเอง แต่กระนั้นการเขียนใบสั่งซื้อสินค้าก็ยังไม่ใช่ของตายที่ควรวางใจ ควรมีแผนงานเฉพาะที่จะบุกเบิกการขาย อบรมพนักงานขาย จัดหน่วยการขาย แนะนำสินค้า และส่งเสริมการขาย เพื่อช่วยสนับสนุนอีกแรงหนึ่งด้วย

แผนการผลิต

แผนการผลิตโดยทั่วไปมักเน้นถึงความคล่องตัวในการผลิต โดยต้องตระหนักถึงขีดความสามารถในปัจจุบันและขีดความสามารถในอนาคต การพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต ประเภทของสินค้าที่ผลิต ปริมาณสินค้าคงคลัง เวลาที่ใช้ในการผลิตคุณภาพและมาตรฐานของผลผลิต ตลอดจนการควบคุมดูแลการผลิต

แผนการผลิตและขีดความสามารถในอนาคต

เมื่อมีแผนการผลิตแล้วก็ควรคิดต่อเนื่องเตรียมเอาไว้ แต่กระนั้นที่จะกำหนดเรื่องนี้ให้ได้แน่นอนนั้นเป็นการยาก หัวใจสำคัญของแผนงานส่วนนี้สัมพันธ์โดยตรงกับผลผลิตและขั้นตอนในการผลิตก็จริง แต่ยังต้องรวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น แนวโน้มของเทคโนโลยีที่จะใช้ในบ้านเรือนในอนาคต แผนการค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขั้นตอนในการติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตข้อกำหนดสำหรับระบบการผลิตและอาคารแบบใหม่ ตลอดจนการศึกษาเรื่องทำเลที่ตั้ง ตามปกติแล้วแผนงานด้านนี้มักย่อยออกเป็นโครงการต่าง ๆ อาศัยการวิเคราะห์แจกแจงขีดความสามารถทางการผลิตในปัจจุบัน เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การกำหนดขีดความสามารถในอนาคตได้อย่างสร้างสรรค์

แผนบริหารทรัพยากรบุคคล

ส่วนหนึ่งของแผนงานด้านนี้อาจเริ่มต้นโดยการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพของบุคลากรทุกระดับในบริษัทเสียให้ถี่ถ้วน แล้วจึงค่อยกำหนดมาตรฐานตามที่ต้องการขึ้น ควรกำหนดไว้ในแผนนี้ด้วยว่าจะพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรที่มีอยู่เดิมอย่างไรและจะเลือกเฟ้นบุคลากรใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มเติมอย่างไร

อีกส่วนหนึ่งของแผนงานนี้ก็คือ รวบรวมปัญหาด้านเศรษฐกิจและเทคนิควิธีการที่ส่งผลกระทบต่อบุคลากร เพื่อใช้ในการปรับแนวทางและท่าทีที่จะใช้บริหารบุคลากรทั้งหลายในบริษัทต่อไป

แผนการจัดองค์กร

แผนงานส่วนนี้ได้อาศัยแผนบริหารทรัพยากรบุคคลมาใช้เป็นประโยชน์ด้วยอย่างมาก แต่ก็ยังมีอีกบางส่วนที่ต้องเก็บงำเป็นความลับโดยเฉพาะ

การวางแผนการจัดองค์กร ต้องตั้งต้นด้วยคำถามหลากหลายเสียก่อน อาทิเช่น ความสำเร็จของกิจการนี้คืออะไร? จะหล่อหลอมบุคลากรแต่ละคนให้กลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างไร? จะจัดสรรภาระความรับผิดชอบให้แต่ละคนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายของงานที่วางไว้? จะชักจูงให้แต่ละคนเห็นคุณค่าของงานที่ตนรับผิดชอบอยู่ได้อย่างไร เพื่อให้ทุกคนเกิดกำลังใจในการทำงาน? รูปแบบการบริหารควรเป็นเช่นไร? ควรสร้างแรงจูงใจ การสื่อสาร และความเป็นเอกภาพ ซึ่งจะสามารถทำให้บุคลากรทั้งปวงทำงานประสานกันได้เป็นอย่างดีได้อย่างไร? ทั้งนี้ก็เพื่อบรรลุถึงซึ่งเป้าหมายของทางบริษัทเป็นสำคัญ

การจัดงบประมาณ

งบประมาณประจำปีกำหนดได้หลายรูปแบบ อาจใช้ปฏิทินเป็นหลักหรือใช้ช่วงระยะ 12 เดือนใด ๆ ก็ได้ตามแต่จะสะดวกสำหรับกิจการแต่ละประเภท ส่วนงบประมาณอุดหนุนอาจกำหนดช่วงเวลาไว้นานกว่านั้นได้ และหากเป็นงบประมาณเฉพาะกาลก็อาจกำหนดเวลาประมาณ 3 เดือน อาจมีงบประมาณหลักที่จะใช้แยกย่อยมาจากแผนการดำเนินงานด้วยก็ได้ สำหรับงบประมาณส่วนที่เป็นตัวเงินสดนั้นจัดว่าสำคัญเป็นพิเศษ

ผู้จัดการแต่ละฝ่ายควรเอาใจใส่ต่อการจัดงบประมาณไม่น้อยกว่าที่เอาใจใส่การบริหารงานทีเดียว โดยทำการประเมินผลและติดตามงานแต่ละส่วนอย่างใกล้ชิด

แผนการเงิน

แผนการเงินนั้นสัมพันธ์และได้รับผลกระทบมาจากการดำเนินงานและลู่ทางของกิจการนั้น ๆ โดยตระหนักถึงความเป็นจริงของสภาพตลาดการเงินและการตัดสินใจของผู้บริหารหรือตัวเจ้าของกิจการเอง การกำหนดแผนการเงินอาจกระทำเพียงในระยะสั้นชั่วปีต่อปีก็ได้ หรืออาจคาดหมายตระเตรียมไว้ในระยะยาวก็ได้เช่นกัน เป้าหมายของแผนการเงินก็คือวางแนวทางในการจัดสรรเงินให้แน่ชัดนั่นเอง ในขณะที่การจัดงบประมาณเน้นเรื่องประมาณการกำไรขาดทุนในระยะสั้น ๆ แผนการเงินจะเน้นที่ตัวเลขบัญชีงบดุลในอนาคต (ซึ่งก็ได้มาจากตัวเลขกำไรขาดทุนนั้นเอง)

แผนควบคุมงาน

ส่วนหนึ่งของระบบควบคุมงานก็คือการจัดงบประมาณ หัวใจสำคัญของระบบนี้ก็คือรายงานสรุปที่ระบุผลการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน นอกจากนี้ระบบควบคุมยังครอบคลุมไปถึงการดูแลสินค้าคงคลัง การวางโครงสร้างราคา สถิติการสั่งซื้อสินค้า ความคล่องตัวในการผลิต การควบคุมคุณภาพในการผลิต เหล่านี้เป็นอาทิ แผนควบคุมงานโดยทั่วไปมักใช้รูปแบบการจัดการโดยอาศัยวัตถุประสงค์เป็นหลักในการควบคุม

(คัดย่อจากบทความของ ฟิลิป เอช. เทิร์สตัน ในฮาร์วาร์ด บิสสิเนสรีวิว)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us