Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2531
บทเรียนด้านกลับของโซโก้และโตคิว             
โดย เพิ่มพล โพธิ์เพิ่มเหม
 


   
search resources

สยามจัสโก้
Shopping Centers and Department store
ยูตากะ ฟูรูตานิ




"ผู้จัดการ" มีโอกาสพบกับ ยูตากะ ฟูรูตานิ กรรมการผู้จัดการสยามจัสโก้ จำกัด ในการสัมมนา "การพัฒนาเศรษฐกิจญี่ปุ่นกับพฤติกรรมธุรกิจของญี่ปุ่น" ในวาระครบ 50 ปี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2531

ยูตากะ ฟูรูตานิ ได้เสนอความเห็นและเบื้องหลังแนวคิดการดำเนินธุรกิจค้าปลีกในเมืองไทย อีกทั้งแนวคิดการค้าปลีกแบบของจัสโก้ที่น่าสนใจหลายประเด็น

"ผู้จัดการ" ขออนุญาตนำบางประเด็นมาถ่ายทอดดังนี้

ตามที่คุณได้ทราบว่าเมื่อ 3 ปีที่แล้วได้เกิด "สยามจัสโก้" ขึ้นมาที่ถนนรัชดาภิเษก ทำเลที่ไม่มีแหล่งทางการค้าอยู่เลย และผมเองก็ได้ฟังจากเพื่อนคนไทยและคนญี่ปุ่นว่า คุณเปิดสัก 6 เดือน คุณก็ต้องปิด แต่ทุกอย่างก็ดำเนินมาถึงทุกวันนี้

ลักษณะของ CHAIN STORE นั้น เป็นลักษณะธุรกิจที่เราเข้าไปตั้งในทำเลที่ใดที่หนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเข้าไปตั้งในตำแหน่งแหล่งการค้าที่มีมาก่อน นั่นก็คือสยามจัสโก้ตั้งอยู่บนถนนเพียงสายเดียวและไม่มีสิ่งก่อสร้างอื่นใดเลย ขณะที่ซูเปอร์มาร์เก็ตจะตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนหนาแน่น

ตามที่คุณทราบว่าเมื่อ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โรบินสันเพิ่งไปเปิดกับสยามจัสโก้ ซึ่งก็มีคนไปพูดว่า ซัพพลายเออร์ก็คงจะถอนจากสยามจัสโก้ไปโรบินสันหรือไม่ก็เหลือเพียง 50% เพราะคนเข้าใจว่ารูปแบบระหว่างดีพาร์ทเม้นท์สโตร์และซูเปอร์มาร์เก็ตจะแข่งขันกันหรือเหมือนกันความจริงแล้วไม่ใช่

การทำธุรกิจคือการแข่งขันหรือสงคราม แต่สงครามไม่ได้กำหนดที่ตำแหน่งของธุรกิจที่เข้ามาเท่านั้น มันเป็นเพียงช่วงแรกเท่านั้นของการทำธุรกิจ แต่ผมจะบอกความจริงให้ทราบนะครับว่าโรบินสันเขาคงไม่สามารถแข่งกับเราได้ จนกระทั่งโรบินสันเองจะปรับกลยุทธ์เป็นว่าเขาจะเปลี่ยนเป็น DEPARTMENT CHAIN STORE ซึ่งถ้าเขาเปลี่ยนเมื่อไรเขาจะสามารถแข่งกับสยามจัสโก้ได้ เพราะตอนนี้เราเป็น SUPER MARKET CHAIN STORE

CHAIN STORE ในความหมายของผมคือ หนึ่ง-เมื่อเราพิจารณาถึงขอบเขตของการควบคุม จากประสบการณ์ของผมคิดว่าผู้บริหาร 1 คนน่าจะสามารถควบคุมและบริหารสาขาได้ประมาณ 20 สาขาด้วยกัน ซึ่งถ้ามากกว่านั้นมันก็จะเป็นจุดเปลี่ยน (TURNING POINT) ที่ไม่ใช่ CHAIN STORE แล้ว

ซึ่งถ้าผมนิยามความหมาย CHAIN STORE ตามนี้แล้วระบบฟาสต์ฟู้ดของที่นี่ก็น่าจะเป็นระบบ CHAIN STORE ได้ แต่ในระบบการค้าปลีกอื่นผมไม่เห็นระบบอื่นเลยที่เป็นระบบ CHAIN STORE

ถ้าผมประมาณกำลังของเซ็นทรัล เซ็นทรัลเองก็มีสาขา 7-8 สาขาเท่านั้น ผมเข้าใจว่าเขาคงยังไม่พัฒนาเป็น CHAIN STORE แต่ถ้ามองในแง่บริษัทของผมนะครับ เราก็มองว่า เขาเองก็ไม่ได้เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของเรานัก

ประเด็นสำคัญ 3 ประเด็นในการบริหาร CHAIN STORE คือ

1. STANDARDIZATION ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

2. ต้องมีความเชี่ยวชาญทางด้านนั้น

3. DECENTRALIXATION

ผมคิดว่าการบริหาร CHAIN STORE ต้องใช้ทั้งสามหลักการนี้ ผมอยากจะกล่าวว่า การพัฒนาของธุรกิจค้าปลีกนี้ เราจะเห็นได้ว่าการพัฒนาลักษณะการบริหารแบบ CHAIN STORE นี้เป็นการ MODERNIZATION นะครับ ให้ธุรกิจค้าปลีกมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ทำไมเราต้องเปลี่ยนเป็นระบบ CHAIN STORE จุดดีคือ หนึ่ง เราสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอันเกิดจากการบริหารได้ คือถ้าเราสร้างห้างใหญ่โตมโหฬาร มียอดขายสูง แต่ในอนาคตข้างหน้า คุณไม่รู้หรอกว่า มันมีความเสี่ยง ยอดขายอาจจะตกฮวบฮาบ

สอง-ในการบริหาร เราตระหนักถึงการ DECENTRALIZATION และ CENTRALIZATION ที่เหมาะสม เพราะนั่นหมายถึงการลดต้นทุนได้อย่างมาก

สาม-เราสามารถทำ MASS MERCHANDISE คือซื้อเข้ามามาก ราคาถูก เมื่อขายออกไปมาก ราคาก็จะต่ำ

ผมมีความเชื่อในเรื่อง MASS MERCHANDISE การค้าปลีกจะต้องมีลักษณะเช่นนี้เพื่อสนองความต้องการแก่ผู้บริโภค ดังนั้น เมื่อผมมีความคิดที่จะขายสินค้าถูกเช่นนี้ ผมจึงถูกเกลียดชังจากผู้ผลิตและผู้ส่งสินค้า มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผมพยายามลดราคาสินค้าตัวหนึ่ง ผู้ส่งสินค้าคนหนึ่งเข้ามาพบผมทันที ไม่ยอมให้ผมลดราคา ซึ่งผมอธิบายว่า ผมลดกำไรของผม แล้วมันผิดตรงไหน

ลักษณะเช่นนี้ผมก็เคยพบในญี่ปุ่นเมื่อ 25-30 ปีมาแล้ว ในตอนนั้นเป็นยุคสมัยของห้างสรรพสินค้ารุ่งเรือง ร้านเล็กอย่างผม เมื่อลดราคาก็ถูกมองว่าเป็นร้านที่อยู่ในเกรดที่ต่ำที่สุด สมัยเมื่อผมจบมหาวิทยาลัยและเข้ามาทำงานในห้างนี้ ผมก็ถูกหัวเราะเยาะ เขาหาว่าคนที่จบมหาวิทยาลัยอย่างนายไม่น่ามาทำงานในซูเปอร์มาร์เก็ตเกรดต่ำอย่างนี้

สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือว่าการที่จะอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น แล้วก็สังเกตพฤติกรรมผู้บริโภค แล้วก็หาทางสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ นั่นแหละครับคือสิ่งสำคัญที่สุดและที่สำคัญอีกก็คือว่า สินค้าที่มีกำไรต่อหน่วยต่ำจะต้องขายให้ได้เร็ว ซึ่งจะทำให้สินค้ามีความสดใหม่ทุกวัน ซึ่งผมหวังที่จะให้มันเป็นเช่นนั้น

ธุรกิจค้าปลีกไม่ใช่การแข่งขันที่พื้นที่การขาย แต่อยู่ที่การเข้าใจจิตวิทยาของผู้บริโภคมากกว่า ปัญหาอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรจะทำให้ลูกค้าสนใจในสินค้าโดยที่ผู้บริโภคเองไม่ได้ตั้งใจ เราจะชักชวนให้เขาเดินไปในเส้นทางซื้อของได้อย่างสบายใจ โดยไม่รู้สึกว่าได้รับการบังคับและมีความพอใจต่างหาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us