|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
@ 'ไทยยามาฮ่า' ตีแผ่แนวทางการบริหารคนยุควิกฤต
@ เทคนิคสำคัญเน้นสื่อสารแบบเข้าใจ ลดทำโอเวอร์ไทม์ไม่ปลดพนักงาน
@ มุ่งสร้างคนไทยก้าวสู่ตำแหน่งบริหารแทนคนญี่ปุ่น
@ พิสูจน์คว้า 'Excellence In Practice Award' ครั้งแรกของประเทศไทย
ในวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ส่งผลกระทบไปทั่วทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะลดต่ำลงถึง 15%
'ผู้จัดการ 360 รายสัปดาห์' ได้มีโอกาสพูดคุยกับ 'พงศธร เอื้อมงคลชัย' ผู้จัดการใหญ่ด้านการวางแผนและบริหารกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ถึงแนวทางการบริหารในช่วงวิกฤตเช่นนี้ พบว่าเทคนิคสำคัญที่ไทยยามาฮ่าใช้คือ ลดงบประมาณที่ไม่จำเป็น จำกัดโอเวอร์ไทม์ สื่อสารกับพนักงานอย่างเข้าใจ
พร้อมเผยวิธี 'Employer of Choice' เลือกพนักงานเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารจนคว้ารางวัล 'Excellence In Practice Award' ของ ASTD (American Society for Training & Development)
'ลดงบ-โอเวอร์ไทม์' เพิ่มการสื่อสารให้เข้าใจ
พงศธร กล่าวถึงการบริหารงานในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ว่า ไทยยามาฮ่า มีพนักงานทั้งหมดที่จะต้องดูแล 3,000 กว่าคน ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ซึ่งอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่ายอดขายว่าจะมีการตกต่ำลงถึง 15%
แต่สำหรับไทยยามาฮ่าแล้วคาดว่ายอดขายจะตกลงประมาณ 5-7% จากภาพตลาดโดยรวมของตลาดรถจักรยานยนต์ที่จะลดลงถึง 15% ทั้งนี้เพราะบริษัทมีสินค้าที่ขายดีคือ รถจักรยานยนต์ รุ่น ฟีโน่ แต่อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าแม้รายได้ลดลงเล็กน้อยหรือทรงตัว สิ่งที่ต้องทำคือการควบคุมค่าใช้จ่ายให้ได้มากสุด โดยค่าใช้จ่ายที่จะถูกลดคือค่าใช้จ่ายที่ไม่สร้างรายได้
อย่างที่ผ่านมาก็มีการเปลี่ยนระบบไฟ ระบบการโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ แต่ยังคงปริมาณการใช้เท่าเดิม ซึ่งพนักงานก็พอใจ ส่วนค่าใช้จ่ายที่สร้างรายได้ก็ยังคงต้องให้การสนับสนุนต่อไป อย่าง การจัดงานมอเตอร์โชว์ โฆษณา ที่สำคัญจะต้องมีการสื่อสารกับพนักงานอย่างชัดเจน เช่น ได้เงินหรือไม่ หรือมีปัญหาอะไรก็ต้องสื่อสารออกมา
นอกจากนี้ งบของการเทรนนิ่งก็ต้องลดลงไปด้วยแต่ชั่วโมงการเทรนนิ่งไม่ลดลง ด้วยการลดการค่าใช้จ่ายในการเชิญวิทยากรที่ค่าตัวสูง แต่ใช้การเทรนนิ่งโดยให้พนักงานเทรนนิ่งกันเอง ซึ่งเทคนิคในการลดค่าใช้จ่ายทั้งหมดนี้ สำหรับบริษัทแล้วพนักงานเข้าใจทำให้ไม่มีการเรียกร้องใด
ที่สำคัญบริษัทรักษาขวัญกำลังใจให้กับเขาด้วยการไม่ลดจำนวนพนักงาน แต่ลดการทำโอเวอร์ไทม์แทน อย่างเคยทำโอเวอร์ไทม์วันเสาร์-อาทิตย์ก็ลดลง หรือ ทำโอเวอร์ไทม์หลังเลิกงานจากเดิมที่เริ่มห้าโมงครึ่งถึงสามทุ่ม ก็เปลี่ยนเป็นห้าโมงครึ่งถึงหนึ่งทุ่มกะหนึ่ง แล้วก็เป็นหนึ่งทุ่มถึงสามทุ่มอีกกะหนึ่ง
ซึ่งเมื่อการทำโอเวอร์ไทม์เปลี่ยนไปจากเดิม HR จะต้องมีหน้าที่ในการจัดสรร รถ อาหาร ให้พอดีกับคนในช่วงนั้น นอกจากนี้ ในไลน์ที่ต้องผลิตมากเพื่อให้ไลน์อื่นสามารถผลิตได้ก็ให้ทำโอเวอร์ไทม์เหมือนเดิมหรือมากที่สุด ส่วนเวลาที่เหลือจากการทำโอเวอร์ไทม์ก็นำพนักงานมาเทรนนิ่งแทน หรือไม่ก็จัดการอบรมเรื่องระบบความปลอดภัยของพนักงาน หรือดึงเอาระบบ 5 ส. กลับมาใช้เหมือนเดิม
'Employer of Choice'เส้นทางคัดเลือกผู้บริหาร
พงศธร ยังได้กล่าวถึง กลยุทธ์ทางด้าน HR ที่เรียกว่า 'Employer of Choice' โดยมีการส่งเสริมให้พนักงานได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทิศทางที่บริษัทกำหนด คือ Competency Model ของบริษัท ซึ่งประกอบด้วยความรู้ความสามารถหลัก (Core Competency) 5 รายการ และความรู้ความสามารถในการบริหาร (Managerial Competency) 8 รายการ ซึ่งทางบริษัทก็ได้ออกแบบหลักสูตรพัฒนาพนักงานในทุกระดับชั้นมาเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว
โดยจุดเริ่มต้นของโครงการเริ่มจากการคัดเลือกพนักงานที่มีศักยภาพที่จะได้ปรับเลื่อนตําแหน่งให้เข้าสู่กระบวนการที่เรียกว่า Promotion Process ซึ่งมีระยะเวลา 6 เดือน โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกนี้ มักเป็นพนักงานที่มีศักยภาพ ผลงาน และทัศนคติ ตามเกณฑ์ที่องค์กรกําหนด
หลังจาก ผ่านกระบวนการ Promotion Process แล้ว พนักงานเหล่านี้จะถูกวัดระดับความรู้ ความสามารถ ของแต่ละคน ผ่านการทําแบบทดสอบต่างๆ ซึ่งรวมถึงการทําแบบประเมินแบบ 360 องศาด้วย การประเมิน 360 องศานี้จะมีผู้ประเมินคือ ตัวคนถูกโปรโมตจะต้องประเมินตัวเอง หัวหน้าของเขาจะต้องประเมินเขา เพื่อนร่วมงาน และลูกน้องจะเป็นผู้ประเมินเขาด้วย
ต่อจากนั้นทีมงานที่ปรึกษาจะทําหน้าที่พัฒนาพนักงานเหล่านี้ ผ่านการโค้ชแบบตัวต่อตัว โดยบริษัท ออคิด สลิงชอท จำกัด จะเป็นคนออกแบบโปรแกรมเทรนนิ่งที่เหมาะสมให้กับแต่ละคน เนื่องจากแต่ละคนมีข้อดีเสียเสียแตกต่างกัน อย่างบางคนมอบหมายงานไม่ชัดเจน สอนงานลูกน้องไม่เก่ง บางคนเก่งเรื่องานไม่เก่งเรื่องคนก็มี ฯลฯ ก็ต้องมาเทรนเรื่องนั้นโดยขั้นตอนนี้ใช้เวลา 3 เดือน
โดยเป้าหมายของกระบวนการ Promotion Process คือ สร้างความรู้ความเข้าใจใน Core & Managerial Competency เพื่อการพัฒนาตนเองอย่างเป็นรูปธรรม ตอบรับกับนโยบายของบริษัทในการ 'Promote-from-within' และเตรียมความพร้อมเพื่อให้พนักงานคนไทยรับตำแหน่งทดแทนเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่น
สำหรับหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกที่เข้าร่วมโครงการจะดูจากผลงานที่ผ่านมา 2 ปีย้อนหลัง การพัฒนาตนเองในช่วงเวลา 6 เดือน ทักษะภาษาอังกฤษของเขาเนื่องจากต้องมีการติดต่อกับสำนักงานใหญ่ ติดต่อกับต่างประเทศด้วยตัวเอง การเขียนบทความตามหัวข้อที่กำหนด และการเข้าสัมภาษณ์ โดย Panel Interview Committee ซึ่งโครงการนี้ได้จัดทำมาหลายรุ่นแล้ว โดย 84% ของผู้ที่เข้าโครงการได้รับการเลื่อนตําแหน่ง และในจำนวนนี้มีคนไทย 16 คนที่ได้รับการเลื่อนตําแหน่งขึ้นมาเป็นผู้บริหารแทนผู้บริหารชาวต่างประเทศ
ส่วนปัญหาของคนที่ออกจากโครงการกลางขั้น คือ โรงงานอยู่ไกล ดังนั้น คนที่ถูกโปรโมตบางคนอยู่ในเมืองทำให้เดินทางไปไม่ไหว หรือบางคนไม่ถนัดที่จะต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่าง บางคนอยู่บริษัทโฆษณามาก่อนรูปแบบการทำงานการแต่งตัวไม่เหมือนกับคนที่อยู่โรงงานซึ่งต้องเป็นระเบียบทำให้อึดอัด บางคนผลงานไม่ดีก็มีออกไป
พงศธร กล่าวต่อว่า โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรนี้ไม่เพียงแต่พัฒนาคนขึ้นมาเป็นผู้บริหารให้กับบริษัทเท่านั้น ในปีนี้โครงการยังได้รับรางวัล Excellence In Practice ซึ่งเป็นโครงการแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับรางวัลนี้
2 บริษัทคว้ารางวัล 'Excellence In Practice Award'
อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออคิด สลิงชอท จำกัด กล่าว่า ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2009 ที่ผ่านมาทางบริษัทฯ ได้รับแจ้งจากผู้บริหารของ ASTD (American Society for Training & Development) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีเป้าหมายในการยกมาตรฐานอุตสาหกรรมการอบรม และการพัฒนาบุคลากร ว่าแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาบุคลากรภายใต้หัวข้อ 'Competency Development Through Executive Coaching' ซึ่งบริษัทฯ และบริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จํากัด ได้ส่งแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาบุคลากรหัวข้อดังกล่าวไปร่วมแข่งขันในการประกวด Excellence In Practice กับ ASTD ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จนได้รับรางวัล Excellence In Practice Award ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บริษัทที่ปรึกษา และบริษัทที่ดําเนินธุรกิจในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลนี้
โดยในการแข่งขันครั้งนี้ มีผู้ส่งแนวทางการปฏิบัติเข้าประกวดทั้งสิ้น 132 ผลงาน และมี แนวทางการปฏิบัติที่ได้รับรางวัลระดับ Award จํานวน 17 รางวัล และได้รับรางวัล ระดับ Citation อีกจํานวน 48 รางวัล ทุกองค์กรที่ได้รางวัลจะเดินทางไปรับรางวัลในงาน ASTD International Conference & Expo ประจําปี 2009 ณ มลรัฐ วอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2009 นี้ เพื่อไปแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อที่ส่งเข้าประกวด
สำหรับหลักเกณฑ์ในการตัดสินรางวัลจะดูจาก 1.Need Identification ระบุว่าโครงการพัฒนาเหมาะสมกับปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร หรือความต้องการขององค์กร 2.Design Values พิสูจน์ให้เห็นว่าการออกแบบโครงการพัฒนาได้ถูกทำขึ้นโดยคำนึงถึงประโยชน์ สูงสุดของ พนักงานและขององค์กร
3. Alignment พิสูจน์ให้เห็นถึงความสอดคล้องกันของแนวทางการพัฒนา การฝึกอบรม การเรียนรู้ของพนักงาน การปรับปรุงศักยภาพในการทำงาน และเป้าหมายขององค์กร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่โครงการต้องการ 4.Evaluation Strategy พิสูจน์ให้เห็นว่าโครงการพัฒนามีการประเมินผลที่ชัดเจน สามารถวัดค่าได้ และดำเนินการได้จริง
5.Results พิสูจน์ให้เห็นว่าผลที่ได้รับจากโครงการพัฒนาส่งผลต่อ ตัวพนักงานและองค์กร และ 6.Shared learning ระบุถึงแนวทางหรือวิธีการที่องค์กรอื่นๆสามารถเรียนรู้โครงการพัฒนานี้และนำไปปรับใช้ได้
|
|
|
|
|