Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้ัจัดการรายสัปดาห์4 พฤษภาคม 2552
วิกฤต.! SMEs ทุกเซกเตอร์ต่ำสุดในรอบ 5 ปี 'รายได้หด-ส่งออกแย่'ผู้ประกอบการต้องทำใจ             
 


   
search resources

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
SMEs




SMEs ไทยวิกฤตหนัก - saw เผยผลสำรวจผู้ประกอบการทั่วประเทศทุกเซกเตอร์ต่ำสุดในรอบ 5 ปี ชี้ปัจจัย 'ศก.-การเมือง'น่าห่วงมากที่สุด นอกจากนี้ยังรับสภาพว่าจะมีรายได้ลดลง-การส่งออกที่ตกฮวบ.!

จากการศึกษาของโครงการวิเคราะห์และเตือนภัย SMEs รายสาขา (SAW ) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) พบว่าผลการสำรวจล่าสุดเมื่อ 9 เมษายน 2552 ที่ผ่านมาจากผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 4,200 รายทั่วประเทศในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจการค้าและบริการ ยังคงจะต้องเฝ้าระวังและน่าเป็นห่วงต่อไปในสถานการณ์ในปัจจุบัน

โดยในรายงานดังกล่าวระบุว่า แม้ว่าโครงการการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะมีการช่วยเหลือและเริ่มดำเนินการไปแล้วก็ตาม แต่ยังคงประเมินว่าปัญหาของ SMEs จะต้องแก้ไขอย่างต่อเนื่องไปไม่น้อยกว่า 2 ปี เนื่องมาจากความอ่อนแอทั้งการตลาด การดำเนินการ การผลิต เทคโนโลยี ทรัพยากรมนุษย์ และการเงินที่เป็นทุนเดิม ประกอบกับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกในปัจจุบัน โดยในส่วนของปี 2552 จากข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 24 เมษายน 2552 คาดว่า GDP ของ SMEs จะลดลงประมาณร้อยละ 2.0 โดยมีมูลค่าประมาณ 3.4 ล้านล้านบาท

ทุกเซกเตอร์ต่ำสุดในรอบ 5 ปี

ในขณะที่จำนวนวิสาหกิจ SMEs อาจจะอยู่ในสภาวะที่ทรงตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยมีจำนวนประมาณ 2.40 ล้านราย จำนวนแรงงานที่น่าจะมีจำนวนประมาณ 8.91 ล้านคน ลดลงร้อยละ 2.74 ส่วนดัชนีเพื่อการเตือนภัยอื่นๆ พบว่า มูลค่าตลาดวัดจากรายได้สุทธิ การส่งออก กำไร ผลตอบแทนจากการดำเนินงาน ความสามารถในการชำระหนี้ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภาพทุน อาจจะลดลงต่อเนื่องจากปี 2551 ซึ่งคงจะทำให้ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี (รายได้มูลค่าประมาณ 5.7 ล้านล้านบาท หดตัวจากปี 2551 ร้อยละ 2.33 โดยเป็นการส่งออก 1.58 ล้านล้านบาท หดตัวร้อยละ 6.41 กำไรสุทธิมูลค่าประมาณ 0.229 ล้านล้านบาทหดตัวจากปี 2551 ร้อยละ 8.51, ผลิตภาพแรงงาน ปรับลดลงต่อเนื่องอีกร้อยละ 4.71,ผลตอบแทนจากการดำเนินงานร้อยละ 3.98 ปรับลดลงต่อเนื่องร้อยละ 6.31, ความสามารถในการชำระหนี้ 2.59 เท่า ปรับลดลงต่อเนื่องอีกร้อยละ 5.68 และ ผลิตภาพทุน 0.22 เท่า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87 (ผลิตภาพทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น 0.01 มาจากสัดส่วนของค่าใช้จ่ายที่ลดลงของกิจการจากการลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน การผลิต ที่ผ่านมาในไตรมาส 1/2552)

นอกจากนี้แล้วจากผลสำรวจ SMEs (ปัจจัยและผลกระทบ ณ 9 เมษายน 2552) จากสถานการณ์และความวิตกกังวลของผู้ประกอบการ SMEs ทางสสว.โดย SAWได้ทำการสำรวจผู้ประกอบการ SMEs 5 ภูมิภาคๆ ละ 840 รายรวม 4,200 รายทั้งอุตสาหกรรมการผลิต และธุรกิจการค้าและการบริการในสาขาที่มีจำนวนวิสาหกิจเป็นจำนวนมาก เพื่อการรายงานสถานการณ์และเพื่อเป็นเสียงสะท้อนถึงสภาพปัญหาทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ชี้ผู้ประกอบการ 'ศก.ไทย-การเมือง' มากที่สุด

ซึ่งจากการสำรวจล่าสุดพบว่าปัจจัยที่ SMEs ให้ความคิดเห็น SMEs ในทุกภูมิภาคโดยรวม ได้ให้ความสำคัญกับปัจจัย เศรษฐกิจไทย สถานการณ์ทางการเมือง พฤติกรรมผู้บริโภค เศรษฐกิจโลก การแข่งขันภายในประเทศ และนโยบายของรัฐบาล เป็นลำดับต้นๆโดยมีสถานการณ์ล่าสุด (9 เม.ย. 52) ดังนี้

ลำดับที่ 1 ยังคงเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจไทย ร้อยละ 98.66 กังวลมากขึ้นร้อยละ 0.1 จากปี 2551 เนื่องจากความ วิตกกังวลเรื่อง การลงทุน ความเชื่อมั่น และความสามารถในการส่งออก ที่ยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง

ลำดับที่ 2 สถานการณ์ทางการเมือง ร้อยละ 97.21 กังวลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.40 เนื่องจาก SMEs ยังคงวิตกกังวลเรื่อง ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อและยาวนาน อันจะส่งผระทบต่อความเชื่อมั่น การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจไทย จนทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคหันกลับมาเก็บออมแทนการบริโภคที่น่าจะเป็นตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะ SMEs ในภาคกลาง

ลำดับที่ 3 พฤติกรรมผู้บริโภค ร้อยละ 96.23 คิดว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคภายในประเทศน่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจในปี 2552 ต่อไปเนื่องจาก SMEs มีความวิตกกังวลว่าเหตุการณ์ทางการเมืองจะส่งผลการออมมากกว่าบริโภคตามปกติ

ลำดับที่ 4 เศรษฐกิจโลก ร้อยละ 91.23 กังวลน้อยลงร้อยละ 2.30 เนื่องจาก SMEs ประเมินว่าเหตุการณ์ภายในประเทศในปัจจุบันน่าจะส่งผลมากกว่า และเริ่มจะเข้าใจในสถานการณ์ที่ผ่านมา

ลำดับที่ 5 การแข่งขันภายในประเทศ ร้อยละ 89.75 กังวลลดลงร้อยละ 0.41 เนื่องจาก SMEs ประเมินว่าเหตุการณ์ภายในประเทศในปัจจุบันน่าจะส่งผลให้ เกิดการชะลอการลงทุนด้านการตลาด แต่ก็คงให้ความสำคัญในลำดับที่ 5 เนื่องจากยังคงวิตกกังวลเรื่องการแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือผู้ที่มีศักยภาพ จนทำให้ตนเองไม่สามารถอยู่รอดได้

ทำใจ 'รายได้-ส่งออก'ลดลง

ขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการในปี 2552 นั้น SMEs จำนวน 3,578 รายจากกลุ่มตัวอย่าง 4,200 ราย ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบด้านรายได้รวมโดยกว่าร้อยละ 51 คาดว่า ปี 2552 น่าจะมีรายได้รวมที่ลดลงจากปีก่อน SMEs กว่าร้อยละ 17 คาดการณ์ว่ารายได้รวมจะเพิ่มขึ้น ขณะที่กว่าร้อยละ 31 คาดการณ์ว่าจะยังรักษาสภาพได้เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 ที่ผ่านมา

ส่วนผู้ประกอบการ SMEs ที่ทำธุรกิจส่งออกนั้น SMEs กว่าร้อยละ 53 คาดการณ์ว่าตนเองจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกจนทำให้การส่งออกลดลง และ กว่าร้อยละ 31 ประเมินว่าไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ ร้อยละ 15 ยังคาดการณ์ว่าโอกาสในการเพิ่มยอดการส่งออกยังพอจะเป็นไปได้ในปี 2552 แม้ว่าจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนก็ตาม

นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบว่าผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 60 คาดการณ์ว่าผลกำไรสุทธิของตนจะลดลงในปี 2552 อย่างไรก็ตามมีผู้ประกอบการประมาณร้อยละ 15 ยังคงคาดการณ์ว่าตนเองจะสามารถสร้างผลกำไรได้ในปี 2552   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us