Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 เมษายน 2552
คลังจี้พัฒนาตลาดอนุพันธ์ เคลียร์ทางรับทุนต่างชาติ             
 


   
www resources

ภัทรา ศิลาอ่อน พี่ใหญ่แห่ง S&P
โฮมเพจ ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย)- TFEX

   
search resources

กระทรวงการคลัง
Funds
ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย), บมจ.-TFEX




รมช.คลัง จี้ตลาดอนุพันธ์ เร่งเพิ่มสินค้าใหม่ ลดกฎเกณฑ์ เปิดทางต่างชาติซื้อขายสะดวก คาด 3 เดือนสรุปผลศึกษาควบรวม TFEX-AFET พร้อมแนะเพิ่มขนาดสัญญาซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์สเป็น 100 บาท จากเดิมอยู่ที่ 50 บาทต่อสัญญา หวังป้องกันรายย่อยเก็งกำไร–ลดผลกระทบร้านค้าทองคำ ด้านประธานตลาดอนุพันธ์ขานรับ เล็งออกสินค้าอ้างอิงดัชนีต่างประเทศหรือการนำอนุพันธ์จากตลาดอื่นมาซื้อขายในลักษณะซื้อขายระหว่างกัน ส่วน ก.ล.ต.เล็งผ่อนเกณฑ์กับกำดูแล หนุนใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง

นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ “วิสัยทัศน์การพัฒนาตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทย” ซึ่งจัดโดยบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) หรือ TFEX ในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 4 วานนี้ (28 เม.ย.) ว่า จากวิฤกตทางการเงินที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมานั้นอนุพันธ์ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดวิฤกตขึ้น แต่หากผู้ที่เกี่ยวข้องที่รู้ข้อดีและความเสี่ยงของอนุพันธ์และใช้อนุพันธ์ด้วยความระมัดระวัง และมีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี จะไม่ประสบปัญหาจากการใช้อนุพันธ์ในการบริหารทางการเงิน

“ปัจจุบันมีตลาดอนุพันธ์ทั่วโลก 69 แห่ง ยังมีการดำเนินธุรกิจที่ดี จากที่มีการกำกับที่ดีของก.ล.ต ในแต่ละประเทศ ซึ่งตลาดอนุพันธ์ไทยเองมีผลการดำเนินงานที่ดี วอลุ่มซื้อขายมากขึ้น หากจัดอันดับความสามารถเทียบกับต่างประเทศเราจะอยู่ที่ 45 ของอนุพันธ์โลก ”

สำหรับแนวทางของรัฐด้านการพัฒนาตลาดอนุพันธ์ นั้นมีประเด็นหลักๆ 3 ด้านที่ต้องเร่งพัฒนา คือ ความหลากหลายของสินค้า ความรู้ความเข้าใจ และความสะดวกในการซื้อขาย ซึ่งในส่วนของสินค้านั้นที่ผ่านมาสินค้าที่ซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ มีเพียง 4 สินค้า คือ SET 50 ฟิวเจอร์ส SET50 ออปชั่น สต๊อกฟิวเจอร์ส และ โกลด์ฟิวเจอร์ นั้นยังถือว่ามีน้อยเกินไป ดังนั้น การเพิ่มประเภทของสินค้าให้มีความหลากหลายและครอบคลุมสินค้าอ้างอิงอื่นๆ ที่มีความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจ ประเด็นที่สองในเรื่องการให้ความเข้าใจให้มากขึ้น ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันไม่ใช่หน้าที่ของตลาดอนุพันธ์ และตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น

นอกจากนี้ จะต้องเพิ่มความสะดวกในการซื้อขาย ให้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ เข้ามาทำธุรกรรมได้สะดวก ปราศจากอุปสรรคหรือข้อขัดข้องในการเข้ามาทำธุรกรรม ในเรื่องกฎเกณฑ์การทำงานของตลาดอนุพันธ์ ของสำนักหักบัญชี กฎเกณฑ์ของผู้กำกับดูแล และการส่งเงินเข้าและออกจากประเทศไทยต้องไม่เป็นอุปสรรคกับผู้ลงทุนต่างชาติ รวมถึงผู้ลงทุนในสถาบันในประเทศด้วย และกฎเกณฑ์การกำกับดูแลที่มีอยู่ รวมทั้งแนวทางปฏิบัติงานของผู้ประกอบการควรพัฒนาให้เป็นแนวทางที่ใกล้เคียงกับระดับสากล

3 เดือนสรุปควบTFEX- AFET

ส่วนความคืบหน้าการควบรวมตลาดอนุพันธ์ฯ และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) นั้น นายประดิษฐ์ กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการหารือ กับกระทรวงพาณิชย์ โดยได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาว่าจะมีการควบรวมหรือไม่ คาดจะทราบผลศึกษาภายใน 3 เดือน

ขณะที่โกลด์ฟิวเจอร์ส ปัจจุบันที่มี 50 บาทต่อสัญญานั้น ส่วนตัวมองว่าถูกไปหรือไม่ ควรที่จะต้องมีการปรับเพิ่มเป็นซื้อขายทองคำ 100 บาทต่อสัญญาหรือไม่ เพื่อไม่กระทบต่อการซื้อขายร้านทอง เพราะนักลงทุนรายย่อยได้เข้ามาเก็งกำไรทองคำจำนวนมากซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดี ควรที่จะเข้ามาใช้โกลด์ฟิวเจอร์สในการบริหารความเสี่ยงเท่านั้นไม่ควรที่จะเข้ามาเก็งกำไร

ยึด3แนวทางพัฒนาอนุพันธ์

นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และประธานกรรมการ บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ตลาดอนุพันธ์มีการพัฒนาการที่ดี ปริมาณการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น และในช่วงวิกฤตทางการเงินโลกและปัญหาทางการเมืองของไทยในปีที่ผ่านมานั้นทำให้ตลาดหุ้นผันผวนสูง ทำให้นักลงทุนต้องการเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการซื้อขายของ TFEX ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงมาก ทำสถิติสูงสุด ที่มีการซื้อขายสูงสุดถึง 21,000 สัญญาต่อวัน และปัจจุบันมีนักลงทุนเปิดบัญชีซื้อขายกว่า 20,000 บัญชีเพิ่มขึ้น 5 เท่าจากปีแรก

ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานในอนาคตมี 3 เรื่องใหญ่ คือ 1.การพัฒนาสินค้าใหม่ๆมากขึ้น ซึ่งจะพยายามที่จะศึกษาสินค้าที่อ้างอิงกับสินค้าอื่นๆนอกเหนือจากตราสารทุน ที่เป็นสินค้าที่มีความสำคัญแก่ระบบเศรษฐกิจและผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ หรือ สินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เพื่อให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการ และผู้ลงทุน ในการบริหารความเสี่ยงหรือลงทุนได้อย่างเหมาะสม และมีแนวคิดที่จะออกสินค้าที่อ้างอิงกับดัชนีต่างประเทศ หรือการนำอนุพันธ์จากตลาดอื่นมาซื้อขายในลักษณะซื้อขายระหว่างกัน (Cross Trading) เพื่อเป็นกระจายการลงทุนให้แก่นักลงทุนในประเทศอีก

แนวทางที่ 2 คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของช่องทางการซื้อขายอนุพันธ์ ได้อย่างกว้างขวาง มีประสิทธิภาพรวดเร็วและมีต้นทุนต่ำ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานของตลาดอนุพันธ์ ซึ่งทาง TFEX ได้การพัฒนาช่องทางการซื้อขายอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องคุ้นเคย และใช้เวลาในการสร้างกลยุทธ์เพื่อปรับตัวเข้ากับพัฒนาการต่างๆ และแนวทางที่3 ต้นทุนการดำเนินธุรกิจ ทางTFEX จะมีการทบทวนอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมให้มีความเหมาสะ รวมถึงต้นทุนในเรื่องการวางหลักประกันให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นภาระกับนักลงทุน ในขณะเดียวกันก้ไม่เกิดความเสี่ยงแก่ระบบโดยรวม

อย่างไรก็ตาม TFEX จะใช้นโยบายในการกำหนดโครงสร้างค่าธรรมเนียมในลักษณะที่จะส่งเสริมสมาชิกให้มีแรงจูงใจในการทำธุรกรรม และขยายฐานนักลงทุน และมุ่งสนับสนุนให้สมาชิกที่มีความตั้งใจในการประกอบธูรกิจ โดย TFEX จะพยายามผลักดันให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนโยบายที่สอดคล้องกันในเรื่องการกำหนดค่าธรรมเนียม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ลงทุน

ผ่อนคลายเกณฑ์หนุนอนุพันธ์

นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ก.ล.ต.จะยึดหลักในการกำกับดูแลตลาดอนุพันธ์เหมือนเดิม ซึ่งอยู่ในกรอบเดียวกันของตลาดอนุพันธ์ทั่วโลก แต่อาจจะมีความยืดหยุ่นบ้างเพื่อตอบสนองในการใช้อนุพันธ์ในการเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ โดยในปีนี้ก.ล.ต.ได้มีการออกแบบสำรวจความคิดเห็น (เฮียริ่ง)ในเรื่องเกณฑ์ต่างๆไปแล้ว 22 ฉบับ ซึ่งสูงกว่าทั้งปีที่ผ่านมาที่มีการเฮียร์ริ่ง 21 ฉบับ

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดอนุพันธ์ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีให้กับนักลงทุนในการบริหารความสี่ยง ปัจจุบัน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2552 มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยที่ระดับ 8621 สัญญาต่อวัน โดยในปีที่ผ่านมาตลาด TFEX มีปริมาณการซื้อขายสูงขึ้นถึง 66% ในทางกลับกันปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นกลับปรับตัวลดลง 6%

ปัจจุบันตลาด TFEX มีบริษัทสมาชิกจำนวน 40 ราย และมีจำนวนบัญชีผู้ลงทุนกว่า 20,000 บัญชี จึงเป็นตัวแสดงที่เห็นได้ชัดว่าตลาดนี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมาก ฉะนั้นทางตลาดหลักทรัพย์ญ จึงมีความมุ่งมั่นในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาตอบสนองความต้องการของนักลงทุน โดยการเติบโตของตลาดTFEX ที่ผ่านมาเป็นผลจากความสำเร็จของสินค้าหลักคือ SET50 Futures

เปิดตัวหุ้นอ้างอิงอีก 10 ตัวม.ย.นี้

นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TFEX กล่าวว่า ในเดือนมิถุนายน 52 ทางตลาดอนุพันธ์เตรียมเปิดตัวหุ้นในฟิวเจอร์ที่อ้างอิงหุ้นสามัญรายตัว (single stock future) อีกจำนวน 10 ตัว โดยครอบคลุมกลุ่มธนาคารพาณิชย์และอื่นๆ จากเดิมที่ในส่วนดังกล่าวมีหลักทรัพย์อยู่แล้ว 3 ตัว คือ ADVANC, PTT, PTTEP

ขณะเดียวกันภายหลังจากที่ TFEX ได้มีการออกสินค้าประเภท สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า (gold future) ไปแล้วก่อนหน้านี้ก็เตรียมที่จะออกสินค้าใหม่ชนิดใหม่ เช่น อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยน และอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับราคาน้ำมัน ส่วนจะเป็นสินค้าตัวใดนั้นคงต้องนำเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

อย่างไรก็ตาม แนวทางการดำเนินงานของตลาดอนุพันธ์ในช่วงที่ผ่านมายังถือว่าเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ 5 ปี คือต้องขยายสินค้าให้มีความหลากหลายและครอบคลุม 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ หลักทรัพย์, อัตราแลกเปลี่ยน, อัตราดอกเบี้ย, ตราสารหนี้ โภคภัณฑ์

นอกจากนี้ ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาและรอการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในเรื่องการออก Derivative Warrant หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ที่ให้สิทธิ์ในการซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งในแก่นักลงทุนของบริษัทจดทะเบียนโดยไม่ผ่านบริษัทเจ้าของหลักทรัพย์นั้น แต่เป็นการซื้อขายผ่านธุรกิจหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) แทน ซึ่งในสินค้าดังกล่าวจะนำไปไว้ในตลาดหุ้นไทย และคาดว่าจะได้ความชัดเจนไตรมาส 3 ปีนี้

ด้านนายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่ต่างรอคอย Derivative Warrant ดังกล่าว และประเมินว่าหากเมื่อใดที่มีการออกมาก็จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก

ขณะที่ผลงานของตลาดอนุพันธ์ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาถือว่าน่าพอใจ และในฐานะที่เป็นโบรกเกอร์นั้นการเพิ่มสินค้าให้หลากหลาย อาทิ gold future single, stock future , SET50 INDEX, SET INDEX OPTION นั้นยังคงเป็นสิ่งที่ดี และมีส่วนช่วยแรงผลักดันให้ TFEX เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากข้อมูลที่ผ่านมาคือ ในปี 49 มูลค่าการซื้อขายของSET อยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านบาท/วัน เทียบกับ TFEX ที่มีวอลุ่มประมาณ 593 สัญญา/วัน หรือคิดเป็น 3.6% ของมูลค่าการซื้อขายเมื่อเทียบกับวอลุ่มของตลาดหุ้น โดยในปี 50 มีอัตราส่วนคิดเป็น 16.87% และปี 51 มีสัดส่วน 24% จนถึงปี 52 ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 28%

ด้านนายทรงเดช ประดิษฐสมานนท์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด กล่าวว่า ตลาดอนุพันธ์ของไทยนั้นถือว่ามีความสมบูรณ์ด้านเศรษฐศาสตร์ เพราะเป็นตลาดฯที่นักลงทุนใช้ในการรองรับความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดหุ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us