Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2531
เบื้องหลังศึกชิงงานประมูลโครงการรถไฟฟ้า "น้ำแยกสาย ไผ่แยกกอ"             
 


   
search resources

ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ, บมจ.
Transportation
Auctions
จรัล บูรพรัตน์




ระบบรถไฟฟ้าเป็นโครงการหนึ่งของระบบขนส่งมวลชนที่นครใหญ่ ๆ ของโลกต่างให้บริการรับใช้คนในเมืองหลวงกันมานมนานแล้ว ในบ้านเราเองเวลานี้ก็หยิบเอาโครงการนี้มาใช้บ้างทั้ง ๆ ที่โดยสภาพความเป็นจริงของปัญหาการจราจรควรจะเกิดขึ้นมานานก่อนหน้านี้แล้ว

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เตรียมวางแผนจัดสร้างระบบรถไฟฟ้ามานานแล้วตั้งแต่ปี 2524 โดยให้บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาจากเยอรมัน DORCH CONSORTIUM มาออกแบบและศึกษาความเป็นไปได้

ถ้าเป็นประเทศอื่น โครงการนี้ก็คงดำเนินการจัดสร้างไปตั้งนานแล้ว

แต่นี่เป็นประเทศไทย ก็มักจะมีเหตุของความล่าช้าอยู่เสมอ

สาเหตุความล่าช้า จุดใหญ่คงไม่ใช่เพราะอ้างว่าโครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่สอดคล้องกับสภาพการจราจร และภูมิศาสตร์ตั้งบ้านเรือนของกรุงเทพ ดังที่เข้าใจกันเพียงอย่างเดียว ความเป็นจริงของมันอยู่ที่วัฒนธรรมการบริหารของราชการไทยที่ยังฝังแน่นกับการลูบหน้าปะจมูกของผู้หลักผู้ใหญ่บางคน ซึ่งมีผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจ

เมื่อทุกอย่างพอจะตกลงกันได้ โครงการนี้ก็เริ่มเกิดขึ้นจริง ๆ จัง ๆ เสียที

หลังจากรอคอยกันมานานเกือบ 7 ปี!

กลุ่มนักลงทุนที่เข้าประมูลโครงการนี้มี 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม AEC กลุ่ม LAVALIN และกลุ่ม FRANCO-JAPANESE

ว่ากันว่าผู้เข้าประมูลทั้ง 3 กลุ่ม วิ่งกันฝุ่นตลบทั้งเปิดเผยและซ่อนเร้น เพื่อโน้วน้าวให้กรรมการของการทางพิเศษให้คะแนนความน่าเชื่อถือแก่กลุ่มตน

โครงการนี้มีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาท ประกอบด้วยเส้นทางการให้บริการ 2 เส้นทาง คือเส้นทางแรก สายพระโขนง หัวลำโพงและบางซื่อ ความยาว 24 กม. เส้นที่ 2 สายสาธร-ลาดพร้าว ความยาว 12 กม.

ปัจจุบันความคืบหน้าของโครงการนี้อยู่ในช่วงการพิจารณาประเมินความน่าเชื่อถือทางการเงินที่กลุ่มทั้ง 3 เสนอมา

กลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของกรรมการการทางพิเศษฯ ในการพิจารณาว่ากลุ่มใดจะได้งานประมูลโครงการนี้ไปก็คือ กลุ่ม THAI AMERICAN TRANSIT ซึ่งเป็นที่ปรึกษาที่การทางพิเศษว่าจ้างมาตามข้อตกลงเงินช่วยเหลือเกือบ 100 ล้านบาทจากรัฐบาลสหรัฐฯ

กลุ่มที่ปรึกษากลุ่มนี้ประกอบด้วยธนาคารแห่งอเมริกา บริษัทวิศวกรรมที่ปรึกษา พาร์สันบิกเกอร์ฮอฟ บริษัท ทีดีซีไอ และบริษัทเอซีซีไทย ซึ่งว่ากันว่ามีความสนิทชิดเชื้อกันอย่างมากกับสินธุ พูนศิริวงศ์ วิศวกรที่ปรึกษาชื่อดังของไทย

กลุ่มบริษัท THAI-AM นี้เป็นตัวตั้งตัวตีอย่างออกหน้าคือ บริษัท เดลู คาร์เตอร์ ที่ผู้ว่าการทางฯ จรัล บูรพรัตน์ เคยทำงานอยู่ด้วยสมัยที่อยู่ที่อเมริกาหลายปีก่อน

โครงการที่มีมูลค่า 40,000 ล้านบาท ใคร ๆ ก็รู้ว่า ต้องมีการวิ่งเต้นกันฝุ่นตลบ กลุ่ม AEC หรือ เอเชีย-ยูโร อาศัยวอลเตอร์ ไมเยอร์จากบริษัทเบอลี่-ยุคเกอร์เป็นหัวหอกเพราะรู้ว่างานนี้ ไมเยอร์เหมาะสมที่สุดจากขุมข่ายของไมเยอร์ที่รู้จักมักคุ้นอย่างดีกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงในหลายหน่วยงานของรัฐ

ส่วนทางด้านกลุ่มลาวาลินก็ใช่ย่อย การเข้าหาบริษัทการค้าอย่างเอสซีทีในเครือปูนใหญ่ ที่มีเส้นสายโยงใยดุจใยแมงมุมในหน่วยงานรัฐ ก็ยิ่งช่วยเพิ่มน้ำหนักความได้เปรียบเสียเปรียบในงาน NETWORKING ให้ดูสมดุลยิ่งขึ้น

สำหรับฐานกำลังหนุนด้านการเงิน ซึ่งถือเป็นหัวใจของการจับงานประมูลครั้งนี้ ความจริงจุดเริ่มต้นของงานนี้ กลุ่มลาวารินอาศัยบริษัททางการเงิน มอร์แกน กรีนเฟล เป็นตัวหลักในการสร้างเครือข่ายในต่างประเทศ และให้บริษัทเอสซีทีในเครือปูนใหญ่เป็นตัวประสานงานกับกลุ่มสถาบันการเงินชั้นนำในประเทศ

"ตอนแรกทั้งแบงก์ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย และกรุงเทพ ได้ตกลงในหลักการร่วมกันว่าจะเป็น CO-LEADER ในการเป็นฐานกำลังการเงินหนุนกลุ่มลาวาริน" แหล่งข่าวเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงเรื่องราวก่อนที่จะมีข่าวการแตกตัวออกไปของแบงก์ไทยพาณิชย์ ที่หันไปหนุนกลุ่ม AEC แทน

ส่วนกลุ่ม AEC ใช้บริษัทการเงินวอดล์เล่ย์ เป็นหัวหอกในต่างประเทศอาศัยเครือข่ายของธนาคารฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้ เป็นตัววิ่งประสานงานหากลุ่มการเงินมาสนับสนุน

จุดแตกตัวของไทยพาณิชย์ออกจากกลุ่มแบงก์ที่หนุนกลุ่มลาวาริน ว่าไปแล้วมีเหตุที่มาเล็กน้อยมาก แต่ซ่อนเร้นความหมายที่ดูใหญ่เอามาก ๆ ทีเดียว มันเป็นเรื่องศักดิ์ศรีที่ดูแคลนกันไม่ได้!

เมื่อทางเอสซีทีแจ้งให้ลาวารินทราบว่าแบงก์ไทยชั้นนำ 3 แห่ง คือ ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย และกรุงเทพ ยินดีให้การสนับสนุนการเงินแก่โครงการ

จะเป็นเพราะลาวาลินบกพร่องในเรื่องการสื่อสารกับทางมอร์แกน กรีนเฟล ไม่ชัดเจนอย่างไรก็ไม่ทราบแน่ชัด

ปรากฏว่า ทางมอร์แกน กรีนเฟล รีบไปออกข่าวว่าทางกสิกรไทยเป็น LEADER ทางการเงินเพียงผู้เดียว โดยมีไทยพาณิชย์และกรุงเทพเป็นตัวสนับสนุน

"เรื่องนี้พอข่าวออกไปรู้ถึง ดร. โอฬาร ไชยประวัติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นตัวหลักของแบงก์ในโครงการนี้ก็ไม่พอใจ เพราะถือว่าข่าวนี้ไม่เป็นไปตามข้อตกลงในหลักการที่จะเป็น CO-LEADER ร่วมกัน" แหล่งข่าวกล่าว

ทางบริษัทวอดด์เล่ย์ เมื่อรู้ว่าไทยพาณิชย์ไม่พอใจก็เข้ามาจีบทันที เรื่องก็กลายมาเป็นว่าไทยพาณิชย์ไม่เป็นพันธมิตรทางการเงินกับกลุ่มวอดล์เล่ย์ที่หนุน AEC ไปเสียฉิบ

มันเป็นเรื่องของหน้าตาหรือศักดิ์ศรีจริง ๆ ที่เป็นเหตุให้เกิดการแตกตัวของไทยพาณิชย์จากกลุ่มลาวาลิน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us