Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 เมษายน 2552
พิษเศรษฐกิจฟาดคอนซูเมอร์เดี้ยงคนรอซื้อสินค้ามีตำหนิเน้นอยู่บ้าน             
 


   
search resources

Commercial and business
ลักขณา ลีละยุทธโยธิน




ส.การตลาดฯ ชี้ วิกฤตเศรษฐกิจกระทบคนไทยเริ่มรัดเข็มขัด เปลี่ยนพฤติกรรมอยู่บ้านแทนใช้ชีวิตนอกบ้าน แนะนักการตลาดปรับตัวขุดขุมทองโลกดิจิตอล อาศัยช่องทางใหม่บุกผู้บริโภคยันที่บ้าน ระบุพิษการเมืองพ่นตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคเดี้ยงโตแค่ 1-2% จับตาพฤติกรรมคนไทยแห่ซื้อสินค้าลดลง โปรโมชันอย่างเดียว สะท้อนกำลังการซื้อสุดแย่ ชงภาครัฐเร่งฟื้นส่งออก-การท่องเที่ยว หวังอุ้มเศรษฐกิจไทย

นางสาวลักขณา ลีละยุทธโยธิน อดีตนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการบริหาร ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เซเรบอส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในการบรรยายในเรื่อง “Marketing & Customer Strategies during the economic slowdown”ว่า ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งพบว่าการส่งออกติดลบ 20% ส่วนกำลังการซื้อของผู้บริโภคไม่ค่อยดีมากนักอีกทั้งยังพบว่าความเชื่อมั่นลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี ทำให้พฤติกรรมของคนไทยเริ่มรัดเข็มขัดมากขึ้น และเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์มาอยู่ที่บ้านแทนการใช้ชีวิตนอกบ้าน

จากการสำรวจพบว่า คนไทย 58% ต้องการออมเงินมากขึ้น หลังจากซื้อสินค้าที่ตนเองสนใจ และ 40% กังวลในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจ และ 80% มองว่าต้องประหยัดรายจ่ายอาหาร เครื่องสำอาง และเสื้อผ้า ส่วน 40% ซื้อสินค้าเพราะมีโปรโมชัน และ 26% ซื้อสินค้าที่มีตำหนิ อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้บริโภคจะระมัดระวังการจับจ่ายใช้ แต่การสร้างแบรนด์หรือตอกย้ำแบรนด์ยังเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ต้องดำเนินอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพบว่า คนกรุงเทพฯ อายุระหว่าง 30-39 ปี มีความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจ แต่ยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าที่มีแบรนด์ เป็นต้น

นักการตลาดขุดทองโลกออนไลน์

นางสาวลักขณา กล่าวว่า นักการตลาดต้องปรับกลยุทธ์การตลาด เพื่อรองรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง โดยอาศัยช่องทางการตลาดใหม่ๆ อาทิ ช่องทางผ่านทางอีคอมเมิร์ซ ซึ่งจากการสำรวจผู้บริโภคในปี 2551 มีถึง 2.6 หมื่นคน ขณะที่มูลค่าธุรกิจพุ่งกว่า 4 แสนล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอีก

หรือกระทั่งปรับตัวเข้าหาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีไลฟ์สไตล์อยู่ที่บ้านให้มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม บันเทิง และสินค้าซ่อมแซมบ้าน เป็นตลาดที่มีศักยภาพเป็นอย่างมาก

สำหรับสินค้าที่ยังคงเป็นดาวรุ่งและไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ มีด้วยกัน 5 กลุ่ม ได้แก่ สินค้าเด็ก เครื่องสำอาง สินค้าผู้หญิง อีคอมเมิร์ซ และสินค้าซ่อมแซมบ้าน ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ คือ สินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ รถยนต์

อย่างไรก็ตามในขณะนี้นักการตลาด คงต้องหันมาเน้นรักษาฐานลูกค้าเก่าเป็นหลัก เพราะไม่ต้องใช้งบการตลาดมากนัก เมื่อเทียบกับการขยายฐานลูกค้าใหม่ต้องใช้งบการตลาดถึง 5 เท่า อีกทั้งจากการสำรวจพบว่า 58% ใช้สินค้าใหม่แต่เป็นแบรนด์เดิม และมีเพียง 3% เท่านั้นที่ต้องการทดลองใช้สินค้าแบรนด์ใหม่ ขณะเดียวกันต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรให้มีความแข็งแกร่งและการพัฒนาความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์กับพันธมิตร

ตลาดคอนซูเมอร์เดี้ยง 1-2%

นายสมบุญ ประสิทธิ์จูตระกูล นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตค่อนข้างชะลอตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง แม้ว่าในช่วงเดือน ม.ค.จะเริ่มมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น แต่หลังจากเดือนก.พ.-มี.ค.กำลังซื้อของผู้บริโภคก็เริ่มชะลอตัว จึงส่งผลให้ภาพรวมไตรมาสแรกของตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโตไม่ดีนักเช่นเดียวกับเดือนเม.ย.นี้ที่มีการชุมนุมประท้วงจนถึงขั้นรุนแรง ซึ่งจากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้คาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ภาพรวมสินค้าอุปโภคบริโภคน่าจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 1-2% ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตได้ที่ 4-5%

สำหรับกำลังการซื้อลดลงเฉพาะผู้บริโภคเขตกรุงเทพและปริมณฑล เนื่องจากกลุ่มคนดังกล่าวมีความอ่อนไหวกับปัญหาทางการเมืองค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดต่างจังหวัด เพราะจากผลการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดต่างจังหวัด พบว่ายังมีกำลังซื้อที่ค่อนข้างดี เนื่องจากพืชผลทางการเกษตรยังคงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แม้ว่าจะมีการปรับตัวลดลงมาบ้าง

นายสมบุญ กล่าวว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการซื้อสินค้าลดลง และซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็น ในขณะที่บางคนซื้อสินค้าเฉพาะที่มีการจัดโปรโมชัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องมีการปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและกระตุ้นตลาดให้มีการเติบโต เนื่องจากปัจจุบันตลาดคอนซูเมอร์เล็กลงไปมาก เพราะผู้บริโภคชะลอกำลังซื้อและซื้อน้อยลง

สำหรับประเภทของสินค้าและแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคที่จะอยู่ในตลาดได้ท่ามกลางปัจจัยลบที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้คือ ต้องการออกมาทำการตลาดที่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างสินค้าให้มีความต่างจากคู่แข่งในตลาด เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ เพราะจากปัจจุบันการเปิดตัวสินค้าใหม่เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ทำได้ค่อนข้างยากพร้อมกันนี้ผู้ประกอบการควรมีการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด เพื่อนำพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปมาปรับเป็นกลยุทธทางการตลาด

“สิ่งที่ภาครัฐต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การโปรโมทส่งออกและการท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยเหมือนเดิม เพราะธุรกิจดังกล่าวสามารถกระตุ้นให้อีกหลายธุรกิจมีการขับเคลื่อน ซึ่งถ้าหากภาครัฐสามารถจัดให้มีการประชุมผู้นำอาเซียน+6,+3 รอบ 2 ให้เกิดขึ้นได้เชื่อว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและนักลงทุนกลับคืนมา”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us