|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในโลกสมัยใหม่ของวัฒนธรรมดนตรีนั้น ภายหลังสงครามเย็นในช่วงทศวรรษ 90 เป็นต้นมา รัฐทั่วโลกเปิดเสรีมากขึ้น เกิดกระแสโลกาภิวัตน์แพร่ออกไปอย่างกว้างขวางในทางดนตรีก็เกิดมิติข้ามชาติเช่นกัน โลกาภิวัตน์ได้เข้าครอบงำดนตรีท้องถิ่น เกิดอาณานิคมทางสุนทรียะในวัฒนธรรมดนตรีขึ้น เพื่อตอบสนองทุนนิยมและความหลากหลายที่เกิดขึ้น ก็เป็นเพียงเพื่อตอบสนองระบบทุนกระแสหลักเท่านั้น
Veit Erlmann นักชาติพันธุ์ดนตรีวิทยาที่ทำการศึกษาดนตรีในแอฟริกา มองว่าประเทศหลังอาณานิคมในยุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่การแสดงอัตลักษณ์ที่หลากหลาย หรือการแสดงความสามารถในการกำหนดตัวเอง ดนตรีระดับโลก (World Music) เป็นเพียงความต้องการของประเทศโลกที่หนึ่งที่แสวงหาความแปลก ด้วยการออกแสวงหาดนตรีดั้งเดิมในประเทศโลกที่สาม เพื่อมาตอบสนองผู้บริโภคของตน ซึ่งไม่ใช่ดนตรีเพื่อคนพื้นเมืองที่แท้จริง
เช่น คณะร้องประสานเสียงชาวแอฟริกัน ที่ไปเล่นในยุโรปตอนต้นศตวรรษที่ 20 หรือในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 Paul Simon นักร้องเพลงป๊อปชื่อดัง นำคณะร้องประสานเสียงชื่อดังจากแอฟริกา วง Ladysmith Black Mambazo มาร่วมร้องในอัลบัม Graceland เป็นเพียงดนตรีของคนขาว เพราะชาวแอฟริกันต้องการตอบสนองผู้ฟังคนขาว
ความเป็นแอฟริกาถูกกลั่นกรองผ่านคนขาวและดนตรีของคนขาว เขาชี้ให้เห็นว่าสไตล์ดนตรี isicathamiya ของ Ladysmith Black Mambazo ดั้งเดิม เป็นดนตรีตะวันตกที่ถูกทำให้เป็นท้องถิ่น โดยพวกแรงงานอพยพชาวซูลู ซึ่งสภาวะความเป็นแรงงานอพยพเกิดจากทุนนิยมโลก ลัทธิอาณานิคมไปจนถึงโลกาภิวัตน์ ดนตรีจึงปนเปื้อนโลกาภิวัตน์ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว
ขณะที่ Mark Slobin นักชาติพันธุ์ดนตรีวิทยามองว่า โลกาภิวัตน์ไม่มีส่วนครอบงำท้องถิ่น แต่ท้องถิ่นกลับใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ ในการคัดสรรและต่อรองกับวัฒนธรรมภายใน (interculture) วัฒนธรรมย่อย (subculture) และวัฒนธรรมกระแสหลัก (superculture)
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่มีบทบาทในการผลิตดนตรี ไม่ว่าจะเป็นค่ายเพลง ผู้จัดการสตูดิโอ ช่างเทคนิค นักดนตรี มีความเข้าใจโลกาภิวัตน์ต่างกันไป บางกรณีก็ตอบโจทย์ดนตรีแอฟริกันในจินตนาการของชาวตะวันตก โดยไม่สนใจดนตรีแอฟริกันที่มีอยู่จริง บางกรณีตอบโจทย์ท้องถิ่นโดยไม่ใส่ใจโจทย์ระดับโลก แต่ก็กลายเป็นดนตรีระดับโลกไปได้ เช่น ช่วงต้นทศวรรษ 90 อัลบัม Didi ของ Cheb Khaled ซึ่งเป็นดนตรี Rai จากแอลจีเรีย ทำมาเพื่อตอบโจทย์โลกภาษาอาหรับ แต่กลับดังระดับโลก
นอกจากประเด็นอาณานิคมทางสุนทรียะแล้ว เรื่องลิขสิทธิ์ก็ไม่ยอมรับว่า ชุมชนเป็นผู้สร้างสรรค์งานได้ งานที่เกิดจากภูมิปัญญาชุมชนเป็นของสาธารณะ ก่อให้เกิดการขูดรีดทางดนตรีระดับข้ามชาติ โลกาภิวัตน์จึงก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางอำนาจใหม่ในวัฒนธรรมดนตรี เช่น มิติการครอบงำผ่านอาณานิคมทางสุนทรียะ ในดนตรีสมัยนิยมยุคใหม่ที่มีกำเนิดมาจากโลกภาษาอังกฤษที่แพร่กระจายไปทั่ว ผสานกับการแสวงกำไรจากลิขสิทธิ์ข้ามชาติอย่างแนบเนียน
จะเห็นว่าคนยุคใหม่ทั่วโลก ต่างยกย่องว่างานดนตรีชั้นเลิศต้องมาจากโลกภาษาอังกฤษ ที่ถูกทำให้เป็นงานชิ้นเอกผ่านกลไกสื่อจำนวนมาก จนเกิดรูปแบบดนตรีหลักที่ผู้คนทั่วโลกต้องปฏิบัติตาม แล้วไปสร้างกำไรมหาศาลให้กับบรรษัทยักษ์ใหญ่เจ้าของลิขสิทธิ์ กลายเป็นอาณานิคมทางสุนทรียะในที่สุด ซึ่งไปมีผลต่อนโยบายต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ที่รัฐหลายแห่งต้องปฏิบัติ
|
|
|
|
|