|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ดนตรีในรัฐเสรีนิยมจะขึ้นอยู่กับกลุ่มคนในรัฐ เกิดการต่อต้านวัฒนธรรมใหญ่ของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยทางดนตรี เกิดวัฒนธรรมดนตรีในลักษณะการเมืองอัตลักษณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชาติพันธุ์ เพศสถานะ ดนตรีในรัฐเสรีนิยมเป็นไปในลักษณะการต่อต้านกระแสหลักและยืนยันตนเองในรัฐ โดยเริ่มศึกษากันตั้งแต่ราวทศวรรษ 70 เป็นต้นมา นักวิชาการกลุ่มแรกๆ ที่กล่าวถึงเรื่องนี้คือสำนักเบอร์มิงแฮม ที่เริ่มมองวัฒนธรรมดนตรีในแง่ของการต่อต้าน โดยมองบนฐานวัฒนธรรมย่อยของวัยรุ่นชนชั้นแรงงาน ซึ่งเกิดในสังคมอังกฤษที่มีวัฒนธรรมชนชั้นแรงงานเข้มแข็ง
คนพวกนี้มองวัฒนธรรมฮิปปี้ ที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางในอเมริกาในทศวรรษ 60 อันเป็นวัฒนธรรมกระแสต้าน ที่เชื่อมโยงกับดนตรีร็อกอย่างระแวดระวังในแง่ที่ว่าวัฒนธรรมเหล่านี้มีลักษณะชนชั้นกลางอยู่ การศึกษาแนวนี้ทำให้ไปเชื่อมโยงกับดนตรีพังค์ เรฟ ฮิพฮอพ หรือเร็กเก้ เป็นภาพวัฒนธรรมดนตรีที่ต่อต้านอุดมการณ์กระแสหลัก
เช่น พังค์ต่อต้านวิถีการผลิตดนตรีแบบทุนนิยม ต่อต้านการเล่นดนตรีที่ต้องเล่นยากๆ ต่อต้านการบริโภคสิ่งที่ผลิตจากบรรษัทใหญ่ ต่อต้านรัฐ ต่อต้านฝ่ายขวา ต่อต้านฝ่ายซ้าย ต่อต้านคติในการใช้ขีวิตแบบปล่อยเนื้อปล่อยตัว ความหลากหลายของการต่อต้านเกิดจากความซับซ้อนของวัฒนธรรม พังค์เอง ที่แตกย่อยเป็นหลายกลุ่มที่ต่างกัน และมุมมองนักวิชาการที่ตีความ
ความไม่สนใจวัฒนธรรมย่อยทางดนตรีบางแนว เช่น เฮฟวี่เมททัลในวงวิชาการ ทำให้มองว่าวัฒนธรรมย่อยทางดนตรีไม่มีพลังในทางการเมืองและการต่อต้านอุดมการณ์กระแสหลัก อาจจะเป็นเพราะดนตรีเฮฟวี่เมททัลไม่มีความเชื่อมโยงกับชนชั้นแรงงานและการต่อต้าน แต่ความจริงแล้ววัฒนธรรมเฮฟวี่เมททัลได้รับความนิยมอย่างมหาศาลในทศวรรษ 80 อาจจะนิยมมากกว่าดนตรีพังค์ในโลกแองโกลอเมริกันด้วยซ้ำ จนพัฒนามาเป็นวัฒนธรรมย่อยที่มีสมาชิกมหาศาลมาถึงปัจจุบัน
การเมืองในดนตรีในรัฐเสรีถูกมองประเด็นอื่นด้วย และเชื่อมโยงกับเพลงเต้นรำในคลับต่างๆ ในอังกฤษ การเมืองในดนตรีชาติพันธุ์ เช่น การศึกษาดนตรีของคนดำในอเมริกา ดนตรีในแอฟริกา ดนตรีเอเชียน ที่มีระบบสุนทรียะทางเสียงต่างจากแนวดนตรีคลาสสิกแบบยุโรปที่มีแบบแผนจริงจัง จนเกิดการถอดถอนอคติของสุนทรียะแบบคนขาว โดยเฉพาะดนตรีแอฟริกันอเมริกัน เช่น ดนตรีแจ๊ซ
ภาพการศึกษาดนตรีกับการเมืองในรัฐเสรีนิยมดูเหมือนปราศจากรัฐ แต่รัฐก็ควบคุมดนตรีเช่นเดียวกับรัฐเผด็จการ แต่มีระดับน้อยกว่าและเป็นแบบอ้อมๆ เช่น องค์กร Parent Music Resource Center ในสหรัฐอเมริกา ที่ฝ่ายอนุรักษนิยมร่วมมือกับรัฐในการเซ็นเซอร์ดนตรีบางประเภท
|
|
 |
|
|