Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2552
การควบคุมดนตรีในรัฐเผด็จการ             
โดย วิมล อังสุนันทวิวัฒน์
 


   
search resources

Musics
Political and Government




คิวบา ครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 มีนโยบายหวาดระแวงดนตรีแจ๊ซอยู่จนถึงปลายทศวรรษ 70

รัสเซีย ปี 1928 ประกาศว่าใครก็ตามที่นำเข้าหรือเล่นดนตรีแจ๊ซของอเมริกา จะถูกปรับ 100 รูเบิล และติดคุก 6 เดือน

สมัยนาซีเรืองอำนาจในยุโรปตะวันออก มีข้อห้ามวงดนตรีเต้นรำ (dance orchestra) เช่น ห้ามเล่นเพลงในคีย์ไมเนอร์ ห้ามเล่นจังหวะบลูส์ ห้ามเล่นจังหวะยก ห้ามโซโลกลอง ห้ามดีดดับเบิลเบส ห้ามร้องด้นสดแบบฟังไม่ได้ศัพท์ (scal singing) ห้ามเล่นแซกโซโฟน ระบอบสตาลินทำให้เกิดการห้ามเล่นดนตรีแจ๊ซ จนกลายเป็นวัฒนธรรมดนตรีใต้ดินไป หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นักดนตรีแจ๊ซในบางประเทศใช้ช่องโหว่ของฝ่ายบริหารเอาเงินของรัฐมาใช้ผ่านทางสหภาพนักดนตรี

เชคโกสโลวะเกีย ช่วงต้นทศวรรษ 70 ปฏิเสธดนตรีร็อก เนื้อร้อง ชื่อวง ที่เป็นภาษาอังกฤษ และนักดนตรีผมยาว นักดนตรีจำนนต่อรัฐด้วยการตัดผมให้สั้น และร้องเพลงป๊อปสไตล์ยุโรปแบบวง Abba ดนตรีร็อกกลายเป็นดนตรีใต้ดินที่ต้องแอบเล่น เพื่อหลบหนีการรังควานของตำรวจ

โปแลนด์ หลังกฎอัยการศึกในปี 1981 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ ละคร และวรรณกรรมอย่างเข้มงวด ดนตรีร็อกกลับได้รับการอนุญาตให้เล่นได้ เพราะเชื่อว่าไม่ส่งผลต่อการเมือง หากกลับเป็นช่องทางให้คนปลดปล่อยความตึงเครียดในรัฐ ด้วยการร้องเพลงด่ารัฐได้ ขณะที่วงดนตรีเปลือยกายโชว์อวัยวะเพศกลางฝูงชนนับหมื่นนั้นรัฐกลับทนไม่ได้ สะท้อนว่าความอนาจารเป็นสิ่งที่สั่นสะเทือนอำนาจรัฐได้มากกว่าข้อความท้าทายการเมือง

ฮังการี ปลายทศวรรษ 70 ไม่ห้ามเล่นดนตรีร็อก แต่ผูกขาดธุรกิจการบันทึกเสียงในประเทศผ่าน Hungarian Record Company ทำให้ถูกควบคุมโดยปริยาย และดนตรีร็อกจากต่างประเทศถูกแบนโดยสิ้นเชิง รัฐยังเก็บภาษีดนตรีที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์อย่างแจ๊ซและร็อก ในอัตราที่สูงกว่าดนตรีอื่นๆ 30%

เวียดนาม เมื่อวัฒนธรรมร็อกในเวียดนามใต้ที่เฟื่องฟูไล่เลี่ยกับในอเมริกาได้ยุติโดยสิ้นเชิงในช่วงรวมประเทศปี 1975 ทำให้เกิดตลาดมืดเทปเพลงร็อก ขณะที่การทรงเจ้าและดนตรีพิธีกรรมก็ถูกห้าม แต่ชาวบ้านยังปฏิบัติอย่างลับๆ โดยเฉพาะแถบชนบท ด้วยการลดขนาดวงและความดังของเสียงลง

รัฐเริ่มเห็นศักยภาพในการใช้ดนตรีร็อกช่วงปลายทศวรรษ 70 เป็นต้นมา ดนตรีร็อกและดนตรีแบบอื่นๆ มีลักษณะของความเป็นชาติเวียดนาม ศิลปินร็อกที่ได้รับการยอมรับจากทางการคนแรกๆ สร้างบทเพลงด้วยสเกลท้องถิ่น และเริ่มเปิดรับดนตรีร็อกในทศวรรษ 80 ตามประเทศในยุโรปตะวันออก และสหภาพโซเวียต รูปแบบดนตรีร็อกค่อยๆ หลากหลายขึ้น

จีน ควบคุมดนตรีภายใต้การปฏิวัติวัฒนธรรม ช่วงสูงสุดของการปฏิวัติวัฒนธรรม มีงานดนตรีเพียง 8 ชิ้น ที่รัฐอนุญาตให้ศึกษาในระดับประถมจนถึงการแสดง ได้แก่ อุปรากร 5 ชิ้น บัลเลต์ 2 ชิ้น และเดี่ยวเปียโน 1 ชิ้น สภาวะนี้ดำรงอยู่ 10 ปี จนเหมาเจ๋อตุงตาย และแก๊ง 4 คน ถูกจับได้เมื่อปี 1976

เขมร ปราบปรามดนตรีสมัยนิยมในช่วงเขมรแดง เป็นส่วนหนึ่งของการสังหารหมู่ นักดนตรีสมัยนิยมในเขมรตาย 9 ใน 10 คน ที่เหลือรอดก็ลี้ภัยไปต่างแดนเกือบหมด ทำให้วัฒนธรรมดนตรีสมัยนิยมของเขมรขาดช่วงไปกว่า 20 ปี กว่าที่จะตั้งตัวขึ้นมาได้อีกครั้งในทศวรรษ 90

อิหร่าน ในช่วงปฏิวัติ สิ่งที่จัดว่าเป็น "ดนตรี" ถูกระงับภายใต้แนวคิดศาสนาอิสลาม ภายหลังการปฏิวัติแล้วดนตรีที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกได้ถูกกวาดล้าง หลังการตายของโคไมนีในปี 1989 นโยบายทางดนตรีเปิดเสรีมากขึ้น ในทศวรรษ 90 ดนตรีเริ่มหลากหลายขึ้น แต่ยังคุมเข้ม การสอนดนตรีต้องได้รับใบรับรองจากรัฐ งานดนตรีต้องผ่านการอนุมัติ ซึ่งมีหน่วยงานคอยแยกแยะแนวดนตรี

แอฟริกาใต้ช่วงทศวรรษ 50 รัฐเข้าแทรกแซงอย่างเข้มข้นมาก นักดนตรีแอฟริกาใต้จึงอ้างว่าเนื้อเพลงนั้นเป็นการรายงานข่าว หรือสะท้อนภาพที่เกิดขึ้น ก็ผ่านการเซ็นเซอร์ไปได้ และด้วยการร่วมมือกับนักธุรกิจดนตรีที่สนับสนุนการท้าทายการเมืองในทศวรรษ 70 และ 80 การควบคุมผ่อนคลายลง โดยรัฐยังควบคุมเครือข่ายวิทยุกระจายเสียง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us