Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2552
คุยบนกรีนกับ “พรพินิจ พรประภา”             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
search resources

พรพินิจ พรประภา




ในชีวิตคนเราทุกคนย่อมต้องมีอุปสรรคให้ต้องฝ่าฟัน เปรียบกับการเล่นกอล์ฟในสนามที่มีทั้งหลุมทราย บ่อน้ำ เนินเขา และแดดลม กว่าจะเล่นครบทั้ง 18 หลุม นักกอล์ฟต้องใช้แรงกายและแรงใจในการฮึดสู้ครั้งใหม่ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า...เหมือนกับเรื่องราวชีวิตของชายคนนี้

ท่ามกลางสีเขียวขจีของทุ่งหญ้าบนลานกรีนสนามกอล์ฟ เสื้อโปโลสีส้มกับกางเกงขาสั้นสีน้ำตาลโทนส้มของนักกอล์ฟมือสมัครเล่นจึงดูโดดเด่นขึ้นมา วงสวิงที่ดูสวยงามไม่แพ้ มืออาชีพของนักกอล์ฟวัย 56 ปีผู้นี้ แม้ว่าแรงปะทะจะอ่อนกำลังไปบ้างตามอายุของผู้ตี แต่ด้วยทิศทางและจังหวะที่ดีก็ทำให้ช็อตต่อไป ดูจะไม่ยากเกินกว่าที่จะทำอีเวน (even) หรือโบกี้ (bogey) และแม้แต่อาจจะเบอร์ดี้ (birdie) ได้ด้วยซ้ำ หากกระแสลมเป็นใจ

สำหรับแมทช์นี้ สกอร์ดูจะไม่มีความสำคัญมากเกินไปกว่าความสนิทสนมที่จะเพิ่มมากขึ้นระหว่างผู้เล่นในก๊วนนี้ ซึ่งประกอบไปด้วยพรพงษ์ พรประภา, พรพินิจ พรประภา และอดิเรก ศรีวัฒนาวงษา ในฐานะเขยแห่งตระกูลพรประภา รวมถึงก๊วนอื่นซึ่งล้วนเป็นคนในตระกูลพรประภาทั้งรุ่นลูกรุ่นหลานที่ยกกันมาออกรอบดวลวงสวิงร่วมกันถึง 27 คน ณ สนาม Siam Country Club Pattaya (Old Course) ในวันแข่งขันกอล์ฟประจำปีของ ตระกูล

ทั้งนี้ "พรประภา แฟมิลี่ กอล์ฟ เดย์" จัดขึ้นมาปีนี้เป็นปีที่ 3

"เจตนารมณ์จริงๆ ของงานนี้คือ เพื่อให้คนในตระกูลพรประภาได้รู้จักกัน โดยเฉพาะ คนรุ่นลูกอย่างลูกๆ ของพวกพี่น้องผม พวกเขาก็จะรู้จักกันดี แต่พอเป็นสายคุณอาหรือสายคุณลุง พอเริ่มโตขึ้นมาก็แทบจะไม่รู้จักกัน ไม่คุยกันด้วยซ้ำเวลาเจอหน้ากันข้างนอก ก็เลยคิดว่าน่าจะจัดกิจกรรมให้เขาได้มีโอกาสมาเจอกัน รู้จักกัน เผื่อในอนาคตจะมีอะไรช่วยกันได้" พรพินิจกล่าว

อันที่จริงตระกูลพรประภามีการจัดงานสังสรรค์พร้อมหน้ากันทุกรุ่นทุกปีที่กรุงเทพฯ แต่ในฐานะนักธุรกิจที่เล่นกอล์ฟเป็นงานอดิเรก พรพินิจย่อมรู้ดีว่าบทสนทนาบนกรีนย่อมน่ารื่นรมย์และสนุกสนานกว่า ซึ่งก็จะง่ายต่อการสานสายสัมพันธ์ให้ลึกซึ้งแนบแน่น และง่ายต่อการคลายปมคาใจที่อาจยังตกค้างหลงเหลือในคนรุ่นหลัง

นี่จึงเป็นเหตุให้พรพินิจพาลูกชายหัวแก้วหัวแหวนทั้ง 2 คน ที่อยู่ระหว่างปิดภาคเรียน ในต่างประเทศมาเยี่ยมบ้านมาร่วม เหมือนกับพรเทพและพี่น้องรุ่น "พร" คนอื่นที่ชวนลูกๆ มาด้วย

"กอล์ฟเป็นกีฬาที่เล่นได้ทุกคน ไม่เกี่ยงอายุ เด็กก็เล่นได้ อายุมากก็ยังเล่นได้ และยัง เป็นกีฬาที่สร้างมิตรภาพได้เป็นอย่างดี" พรพินิจสรุปความสำคัญของกีฬากอล์ฟสำหรับเขา

เพื่อให้ลูกๆ มีฟอร์มการเล่นที่ดีและท่าทางวงสวิงที่สวยงามกว่าตัวเอง พรพินิจจึงส่งโปรกอล์ฟเข้ามาจับแต่งท่าทางและสอนเทคนิคการเล่นกอล์ฟให้กับลูกๆ ตั้งแต่ยังเล็ก

สำหรับพรพินิจ เขาเริ่มต้นเล่นกอล์ฟครั้งแรกพร้อมเริ่มต้นการทำงาน ครั้งแรกในตำแหน่งผู้จัดการสนามกอล์ฟ ณ Siam Country Club Pattaya (สนาม Old Course ปัจจุบัน) พร้อมกับบริหารโรงแรมทรอปิกาน่า พัทยา ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูล

จริงๆ ตอนเป็นเด็กไม่ชอบเล่นกอล์ฟเลย เพราะรู้สึกว่าเป็นกีฬาคนแก่ สมัยเป็นนักเรียนกลับชอบเล่นสกีน้ำ สมัยหนุ่มๆ ก็แล่นเรือออกไปชอบตกปลา ทะเล เป็นคนชอบเล่นกีฬาหนักๆ แต่พอ ต้องมาคุมสนามกอล์ฟ ก็คิดว่าถ้าขืนเรายังไม่เล่นกอล์ฟก็คงคุยกับลูกค้าและพนักงานไม่รู้เรื่องแน่ ก็เลยเป็นแรงดลใจให้เริ่มเล่นกอล์ฟ แต่พอเล่นเป็นแล้วก็เริ่มชอบมาตั้งแต่นั้น" พรพินิจเล่าย้อนกลับไปเมื่อ 30 กว่า ปีก่อน

Siam Country Club Pattaya นับเป็นสนามกอล์ฟเอกชนแห่งแรกของเมืองไทย ที่เปิดขายสมาชิก โดยช่วงแรกยังใช้ชื่อว่า "สโมสรกอล์ฟกีฬาสยาม" ออกแบบและสร้างขึ้นมาโดยทีมงานของโซเดงาอุระ คันทรีคลับ ราชาสนามกอล์ฟของประเทศญี่ปุ่น แล้วเสร็จในปี 2514 ซึ่ง ดร.ถาวร พรประภา ลงทุนสร้างขึ้น โดยได้แรงบันดาลใจจากเพื่อนชาวญี่ปุ่น

ด้วยความใหม่ของธุรกิจสนามกอล์ฟและรูปแบบการขาย ณ เวลานั้น ประกอบกับค่าสมาชิกกอล์ฟคลับมีราคาสูงถึง 4 หมื่นบาท ช่วงแรกของการรับตำแหน่งผู้จัดการ พรพินิจจึงต้องพบกับความลำบากไม่น้อย

"ตอนกลับมาใหม่ๆ สนามกอล์ฟเป็นธุรกิจที่ขาดทุน ตอนนั้นกว่าจะขายได้สัก 1 เมมเบอร์ แทบต้องเข้าไปกราบเท้าเขาเลย เรียกว่าแทบตาย แต่สุดท้ายก็พยายามทำจนมีกำไรขึ้นมา โดยผมใช้วิธีการจัดแข่งขันกอล์ฟบ่อยๆ"

หลังจากโชว์ฝีมือการบริหารงานจนประสบความสำเร็จในทั้ง 2 ธุรกิจย่อย ดร.ถาวรก็เรียกตัวพรพินิจกลับมาเริ่มเรียนรู้งานในธุรกิจหลักของครอบครัว นั่นก็คือ "สยามกลการ" ซึ่งกำลังมีปัญหาและเริ่มขาดทุน โดยหวังจะใช้ทักษะทางภาษาญี่ปุ่นและ ความคุ้นเคยกับคนญี่ปุ่นมาช่วยกันกอบกู้ธุรกิจของตระกูลร่วมกับพี่ๆ

ผ่านมรสุมในการบริหารงานสายการตลาดให้กับบริษัทสยามกลการมานานหลายสิบปี พรพินิจต้องรับศึกทางธุรกิจทั้งภายนอกและภายในประเทศ แต่ศึกที่สำคัญและหนักหนาที่สุด ดูเหมือนจะเป็นศึกสายเลือด ซึ่งครั้งหนึ่งเคยดุเดือดมากจนสื่อมวลชนบางแห่งเปรียบเปรยว่าเป็น "สงคราม 3 ก๊ก" แห่งตระกูลพรประภา

"ตอนนั้นมันวุ่นอยู่พักหนึ่ง ผมก็เข้ามาเป็นตัวกลาง เพราะเป็นคนง่ายๆ ไม่ค่อยโกรธใคร ใจเย็น และไม่ค่อยชอบขัดแย้งกับพี่น้อง ไม่อยากให้งานมาทำให้พี่น้องแตกกัน สุดท้ายก็คลี่คลายได้ด้วยดี ทุกคนก็โอเค" ดูเหมือนพรพินิจไม่ค่อยอยากรื้อฟื้นเรื่องนี้นัก

เมื่อศึกภายในสิ้นสุด สยามกลการก็เริ่มเผชิญกับมรสุมของโลกาภิวัตน์หนักขึ้น จนในที่สุดปี 2547 "พรเทพ" ผู้พี่ในฐานะผู้จัดการใหญ่ก็ตัดสินใจขายหุ้นบริษัทให้บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นเพิ่มอีก 50% เหลือหุ้นที่กลุ่มพรประภาถืออยู่เพียง 25% แลกกับเงินสดเกือบ 8 พันล้านบาท

สำหรับพรพินิจ เขามองว่ามันเป็นสิ่งที่หลีกหนีไม่ได้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่ผู้กำ R&D เหมือนกับที่กลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจรถยนต์ของตระกูลใหญ่ รายอื่น ซึ่งก็ถูกเจ้าของแบรนด์ซื้อหุ้นคืนไปก่อนหน้านี้ แต่โชคดีของตระกูลพรประภาที่ขายหุ้นได้ในราคาดี

ในชุดสูทหรือชุดทำงานเสื้อเชิ้ตแขนยาว พรพินิจดูเป็นผู้บริหารที่มีบุคลิกเรียบร้อย เก็บตัวและพูดน้อย แต่เมื่อสวมชุดนักกอล์ฟอยู่กลางสนาม แม้ยังไม่ค่อยพูดมากนักแต่ก็ตอบคำถามสัมภาษณ์หลายประโยคขึ้น ส่วนความผ่อนคลายที่เห็นชัดสุดคือใบหน้าที่เคย ดูนิ่งเรียบเริ่มมีรอยยิ้มมาแต่งเติมบ่อยขึ้น โดยเฉพาะในแมทช์ดวลวงสวิงภายในตระกูลครั้งนี้

"เวลาตีกอล์ฟ บรรยากาศมันช่วยได้ 2 อย่างคือ ดีลกันเพื่อให้สนิทขึ้น และดีลกันเพื่อธุรกิจ แต่สำหรับผมมักใช้กอล์ฟเพื่อกรณีแรก เวลามา กับก๊วนเพื่อนสนิท เราจะพนันกันนิดหน่อย เพื่อให้ได้แหย่ๆ กันให้ได้หัวเราะ บางทีชนะพนันไม่เกิน 300 บาท แต่ต้องไปเลี้ยงฉลองต่อเป็นพัน" พรพินิจหัวเราะอย่างสดใส ซึ่งมีไม่บ่อย นักที่สื่อมวลชนจะได้ยินเสียงหัวเราะร่วนของเขา

ไม่เพียงก๊วนเพื่อนสนิทสมัยเรียนวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ที่เล่นกันมากว่า 10 ปี อีกก๊วนคนรู้ใจที่มักออกรอบกับพรพินิจอยู่บ่อยๆ ก็คือก๊วนลูกๆ ซึ่งพรพินิจบอกว่า ในวัยจวนแซยิดเช่นเขา กอล์ฟเป็นงานอดิเรกเดียวและกีฬาเดียวที่เขายังคงเล่นกับลูกๆ ได้

มาถึงวันนี้ นอกจากพรพินิจจะนั่งแท่นเป็นผู้บริหารบริษัทในเครือของตระกูลกว่า 40 แห่ง ร่วมกับพี่น้อง ดูเหมือนเขากำลังทุ่มเทอย่างเต็มที่ในการสร้างรากฐานธุรกิจของตัวเองให้เข้มแข็ง ทั้ง SMI Travel บริษัททัวร์รองรับนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่ต้องการเดินทางมาเมืองไทยและบางประเทศในแถบนี้ ซึ่งตั้งขึ้นราว 30 ปีก่อน และ Siam@Siam ธุรกิจโรงแรมที่เพิ่งครบรอบ 2 ปี

"เทียบกับอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีศักยภาพกว่า เพราะเมืองไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามและมีทรัพยากรมนุษย์ที่โดดเด่นในเรื่องบริการ ฉะนั้นเราก็เลยไปได้"

ความเชื่อมั่นของพรพินิจยืนยันด้วยตัวเลขอัตราการเข้าพักของโรงแรม Siam@Siam ในกรุงเทพฯ ที่แม้จะมีการปิดสนามบินเมื่อปลายปีที่แล้ว แต่ก็อัตราเข้าพักทั้งปีก็ยังสูงถึง 80% และเดือนมกราคมก็ยังอยู่ที่ 81% ผลการดำเนินงานที่ดีเกินคาดส่งผลให้เขาเชื่อว่าโรงแรมแห่งนี้น่าจะคืนทุนภายใน 6 ปี จากเดิมที่ตั้งไว้ 8 ปี

ตัวเลขเหล่านี้ต่อยอดความมั่นใจให้พรพินิจพร้อมลุยในธุรกิจนี้อย่างจริงจัง ดังจะเห็นจากแผนการขยายจำนวนโรงแรมใน 3-5 ปีที่เขาหวังจะผุดขึ้นตามแหล่งท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง เช่น สีลม พัทยา ภูเก็ต สมุย หัวหิน เป็นต้น

"ผมว่าการลงทุนและการทำตลาดโรงแรมง่ายกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์" พรพินิจ เคยพูดไว้ก่อนวิกฤติการเมือง 2 ครั้งหลังที่ส่งผลถึงการท่องเที่ยวอย่างหนัก แต่ถึงจะถาม ใหม่อีกครั้ง เชื่อว่าเขาก็คงยืนยันคำพูดเดิม เพราะอย่างน้อยธุรกิจใหม่นี้ก็ไม่มีศึกสายเลือดให้หนักใจ

หลังจากเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์และติดตามชมวงสวิงของพรพินิจและเหล่าผู้บริหารรุ่นเล็กรุ่นใหญ่แห่งตระกูลพรประภาแล้ว บทเรียนข้างสนามกอล์ฟที่ ผู้จัดการ 360 ํ ได้รับร่วมกับข้อคิดจากชีวิตการทำงานของพรพินิจ นั่นคือ ...ไม่ว่าหลุมที่ผ่านมาจะลงเอยด้วยสกอร์ที่เลวร้ายแค่ไหน แต่อย่างน้อยก็ยังมีหลุมถัดไปให้เริ่มต้นนับพาร์ใหม่เสมอ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us