Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2552
Wind of Change             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

Deloitte & Touch Homepage

   
search resources

สุภศักดิ์ กฤษณามระ
Auditor and Taxation
ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ, บจก.




ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ธุรกิจรุ่นปู่ที่เริ่มต้นจากสำนักงานตรวจสอบบัญชีเล็กๆ กลายเป็นบริษัทระดับนานาชาติ ที่สืบทอดไปถึงรุ่นหลานมีการเปลี่ยนแปลงมายาวนาน 70 ปี

ในขณะที่ ผู้จัดการ 360 ํ นั่งสัมภาษณ์สุภศักดิ์ กฤษณามระ วัย 44 ปี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ในฐานะรุ่นหลานที่เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้บริหารคนที่ 5 ของบริษัทแห่งนี้ เพื่อทำหน้าที่นำพาองค์กรเข้าสู่สมรภูมิการแข่งขันในระดับอินเตอร์ฯ มากขึ้น แต่ในเวลาเดียวกันก็ต้องยืนหยัดอย่างแข็งแกร่งในตลาดเมืองไทย

แนวโน้มการแข่งขันธุรกิจตรวจสอบบัญชี ภาษี ที่ปรึกษาทางด้านการเงินเพิ่มสูงมากขึ้น ภายใต้ความต้องการของลูกค้าที่เรียกร้องบริการในรูปแบบมาตรฐานสากล ในขณะที่คู่แข่งของดีลอยท์มีการพัฒนาศักยภาพ รวมไปถึงการควบรวมกิจการทำให้ขยายฐานลูกค้าใหญ่มากขึ้น อย่างเช่น บริษัทเอินสท์ แอนด์ ยัง บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส และเคพีเอ็มจี

หรือแม้แต่ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ก็เกิดจากความร่วมมือกับพันธมิตร 4 ชาติด้วยกัน คือไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น

ถึงแม้ว่าบริษัทจะดำเนินธุรกิจมายาวนานที่สุดในประเทศไทยที่มีอายุถึง 70 ปี แต่เมื่อเปรียบเทียบฐานลูกค้าและขนาดธุรกิจ บริษัทถูกจัดให้อยู่ลำดับที่ 4 ในตลาดปัจจุบัน

สุภศักดิ์มีนโยบายสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและขยายวงกว้างให้เป็นที่รู้จักของลูกค้า กลุ่มใหม่เพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มจากพัฒนาบุคลากรภายใต้โปรแกรมที่เรียกว่า Standard of Excellent มีเป้าหมายให้พนักงานทำงานเสมือนทูตของบริษัท

ดีลอยท์มีที่ปรึกษาเข้ามาร่วมพัฒนาโปรแกรม อย่างเช่นดนัย จันทร์เจ้าฉาย บริษัทดีซี คอนซัลแทนซ์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด และชาลอต โทณวณิก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) เพื่อให้พนักงานเข้าใจ สิ่งที่บริษัทสื่อสารออกไป และได้บัญญัติความหมายของการทำงานขึ้นมา เรียกว่า SIMPLI Deloitte. พร้อมกับความหมาย

Straightforward ชัดเจน ตรงไปตรงมา

Insightful รอบรู้ รู้ลึก รู้จริง

Multidimensional ความหลากหลาย

Principled จริยธรรมและจรรยาบรรณ

Leader มีวิสัยทัศน์ เป็นผู้นำ กล้าริเริ่ม

Inclusive รับฟัง ทำงานเป็นทีม

โปรแกรม Standard of Excellent เริ่มดำเนินการมากว่าหนึ่งปี และมีเป้าหมายที่จะเห็นพนักงานสามารถปฏิบัติได้ภายใน 3 ปี แต่สุภศักดิ์รู้ดีว่าการให้ความรู้กับพนักงาน ทั้งหมด 520 คนนั้น อาจต้องใช้เวลามากกว่านั้น

พนักงานที่เข้ารับการอบรมในโปรแกรมนี้จะมีทักษะแสดงให้ลูกค้าได้เห็นความรู้ความชำนาญ และสร้างความแตกต่างของบริการที่มีอยู่ แม้ว่าการบริการจะมีความคล้ายคลึงเหมือนกันหมดทั้งตลาดก็ตาม เช่น บริการทางวิชาชีพด้านการสอบบัญชี ภาษีอากร การบริหารความเสี่ยง ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ และที่ปรึกษาทางด้านการเงิน

นอกจากการพัฒนาทักษะบุคลากรภายในประเทศ การส่งพนักงานไปเรียนรู้งานในต่างประเทศ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ทำกันมาอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของบริษัทแม่ แต่โปรแกรม การส่งพนักงานไปเรียนรู้ในปีนี้ต้องสะดุด เพราะบริษัทแม่ต้องตัดค่าใช้จ่าย เพื่อประหยัดงบประมาณและปรับโปรแกรมใหม่ ภายใต้ชื่อว่า GMP (Global Mobility Program) บริษัทในแต่ละประเทศจะต้องเริ่มเสียค่าใช้จ่าย แตกต่างจากในอดีตที่บริษัทแม่จะเสียค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด

ก่อนหน้านี้โปรแกรมดังกล่าวใช้ชื่อว่า Global Development Program ซึ่งสุภศักดิ์ได้มีโอกาสไปเรียนที่ประเทศแคนาดา เขาได้เรียนรู้ตั้งแต่เริ่มต้นจากงานวิเคราะห์ การให้คำปรึกษา ทำให้เขาเห็นขั้นตอนการทำงานทั้งหมด

ชวาลา เทียนประเสริฐกิจ หุ้นส่วนด้านการสอบบัญชีเป็นผู้บริหารอีกคนหนึ่งที่ได้รับโอกาสเข้าเรียนโปรแกรมดังกล่าว เขาถูกส่งไปเรียนรู้งานที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2541 ทำให้เขาเห็นความแตกต่างของการทำงาน คือในประเทศไทยการตรวจสอบบัญชีอยู่บนวิธีการแบบดั้งเดิม ใช้เอกสารอ้างอิงเป็นหลัก

กระบวนการตรวจสอบแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ประเทศไทยเน้นความถูกต้องของเอกสาร แต่ต่างประเทศตรวจสอบด้วย การประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ จุดไหนที่เป็นจุดอันตราย ดูกระบวนการบริหารจัดการ การเรียนรู้ ทำให้กระบวนการคิดและการทำงานของเขาเริ่มเปลี่ยนไป เช่นข้อมูลเรื่องการเงิน ไม่ได้ผิดจากคนลงบัญชี แต่อาจผิดที่คนสั่งลงบัญชี ฉะนั้นสิ่งสำคัญ ต้องดูความรู้ความสามารถฝ่ายบริหารและ วิธีการควบคุมธุรกิจ

"สิ่งที่เราเห็นคือ กระบวนการทำงานของโลกที่จะเกิดขึ้นในอีก 5-10 ปีข้างหน้า เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และพัฒนาตามเขาให้ทันและอีกส่วนหนึ่งที่เรียนรู้ ฝรั่งนำความรู้มาจัดเรียงให้เป็นกระบวนการ ของเราก็มีองค์ความรู้ไม่ต่าง แต่องค์ความรู้ของเราไม่เป็นระบบ" ชวาลากล่าวกับผู้จัดการ 360 ํ

นอกเหนือจากการเรียนรู้ทางด้านธุรกิจได้ช่วยสร้างเครือข่ายจากพันธมิตรที่ไปเรียนรู้ อย่างเช่นมาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์

โครงการ Global Development Program เป็นโปรแกรมที่ริเริ่มเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มเมื่อปี 2533 บริษัทได้ส่งคนไปเรียนรู้ปีละ 2-4 คน ส่งไปหลายส่วน อาทิ ไอที การเงิน บัญชี และที่ปรึกษา

ในขณะเดียวกันผู้บริหารในต่างประเทศก็เข้ามาเรียนรู้ในเมืองไทยเช่นเดียวกัน

การปรับวิสัยทัศน์กระบวนการทำงานให้ไปสู่มาตรฐานสากลของดีลอยท์ในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับอดีตในยุคเริ่มต้น ที่ก่อตั้งสำนักงานตรวจสอบบัญชีไชยยศ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2482 โดยพระยาไชยยศสมบัติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งในยุคนั้นเป็นยุคแรกที่ประเทศไทยเริ่มมีระบบการตรวจสอบบัญชี

พระยาไชยยศสมบัติจบจากประเทศอังกฤษ เป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านระบบบัญชีอันดับต้นๆของประเทศไทย จึงทำให้เป็นผู้สอบบัญชีคนแรกของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคนแรก

สำนักงานแห่งแรกของพระยาไชยยศ เริ่มที่บริเวณหัวลำโพงกับผู้ร่วมก่อตั้งทั้งหมด 3 คน หลังจากนั้นได้ย้ายไปอยู่บริเวณสีลม มีพนักงานเพิ่มมากขึ้น 50-60 คน จนกระทั่งพระยาไชยยศเสียชีวิต หลังจากทำงานมาเป็นระยะเวลา 38 ปี

เติมศักดิ์ กฤษณามระ ทายาทรุ่น 2 ได้เข้ามาสานต่อธุรกิจร่วมกับพี่น้องอีก 3 คน คือ ศจ.สมฤกษ์ กฤษณามระ ทวีเกียรติ กฤษณามระ และเฉลิมขวัญ นิวาตวงศ์ ทำให้ช่วงเวลานั้นบริหารงานในรูปแบบครอบครัว โดยเติมศักดิ์ทำหน้าที่ ดูแลธุรกิจทั้งหมดเป็นหลัก และเป็นเพียงผู้เดียวที่สามารถเซ็นการตรวจสอบบัญชี ซึ่งในตอนนั้นธุรกิจของสำนักงานไชยยศ จะเน้นหนักให้บริการตรวจสอบบัญชีและภาษีเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

ปี 2530 เป็นปีที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้ นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สำนักงานไชยยศมีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยการเปิดให้พันธมิตรเข้ามาร่วมทุนธุรกิจ และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด ทำให้บริษัทกลายเป็นสมาชิกของดีลอยท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

จากระบบบริหารธุรกิจแบบครอบครัว ได้เปลี่ยนการบริหารมาเป็นระบบมาตรฐานสากลมากขึ้น รวมทั้งเปลี่ยนกรรมการผู้จัดการจากเติมศักดิ์ ไปเป็น Robert Taylor และ Andrew Burns ตามลำดับ

ผู้บริหารต่างชาติเข้ามาพร้อมกับการบริหารแบบตะวันตก ยุคของ Taylor ดึงบุคลากรระดับบริหารจากต่างประเทศเข้ามาร่วมงาน ในส่วนของที่ปรึกษาทางด้านการเงิน ด้านภาษีอากร

ส่วน Burns เป็นพันธมิตรที่มีประสบการณ์จากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ทำให้เขามีเครือข่ายที่แข็งแรง ช่วยทำให้บริษัทในเมืองไทยเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายในเอเชียแปซิฟิกและสหรัฐอเมริกาได้มากขึ้น

ธุรกิจถูกแบ่งส่วนเพื่อบริหารงานชัดเจน คือบริการทางวิชาชีพด้านการสอบบัญชี ภาษีอากร การบริหารความเสี่ยง ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ และที่ปรึกษาทางด้านการเงิน

แต่หลังจากที่ผู้บริหารต่างชาติเข้ามาบริหารงานช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดีลอยท์ โกลบอลมีนโยบายที่จะให้คนของประเทศนั้นบริหารจัดการธุรกิจของประเทศตัวเอง และประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้สุภศักดิ์เข้ามารับตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ในปี 2546

อีกเหตุผลหนึ่งที่สุภศักดิ์ก้าวขึ้นเป็นผู้บริหาร เพราะในปัจจุบันลูกค้าที่ใช้บริการของบริษัทส่วนใหญ่เป็นต่างชาติ มีสัดส่วนถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์ จากลูกค้าทั้งหมดที่มีประมาณ 1,900 ราย ดังนั้นบริษัทจึงมีนโยบายที่จะเพิ่มลูกค้าเป็นบริษัทไทยมากขึ้น เพื่อสร้างความสมดุลให้กับธุรกิจ รวมถึงรายได้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 10% จากปัจจุบันที่มีรายได้ประมาณ 1 พันล้านบาท

การกลับมาของสุภศักดิ์ที่เข้ามาบริหารงานในดีลอยท์อีกครั้งจึงเหมือนเป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของพระยาไชยยศสมบัติ ที่จะเปิดโอกาสให้เพิ่มลูกค้าไทยได้มากขึ้น เพราะสายสัมพันธ์และชื่อเสียงเมื่อครั้งในอดีตที่พระยาไชยยศสมบัติสร้างขึ้นมาจนถ่ายทอดมาถึงรุ่นเติมศักดิ์ อดีตอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วม 30 ปี รวม ถึงปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึง 27 ปี ทำให้มีลูกศิษย์ลูกหามากมายในแวดวงธุรกิจ ประกอบกับชื่อเสียงและการทำงานที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นหัวใจของวิชาชีพนี้จึงทำให้ได้รับการยอมรับนับถือ

ทำให้ลูกค้ารุ่นแรกๆ ยังใช้บริการ จนถึงปัจจุบัน เช่นบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ทว่า การทำงานในรุ่นสุภศักดิ์ไม่สามารถอาศัยชื่อเสียงของรุ่นปู่หรือรุ่นบิดาได้มากนัก เพราะแนวโน้มของสังคมข้างหน้าจะยึดถือตัวบุคคลน้อยลง แต่การทำงานจะต้องอยู่ภายใต้กฎ กติกา และวิชาชีพเป็นหลัก

ดีลอยท์ในประเทศไทยอยู่ภายใต้การบริหารของสุภศักดิ์ อาจทำให้เขากดดันอยู่ไม่น้อย หากลูกค้ากำลังจับตามองเขาอยู่ ว่าจะสามารถทำได้ดังเช่นบิดาและปู่ของเขาหรือไม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us