|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บทสรุปในกรณีที่เกิดขึ้นกับปรียา ซึ่งได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้สะท้อนถึงบทบาทความรับผิดชอบของธนาคารพาณิชย์ไทยได้เป็นอย่างดี
เพราะเมื่อเธอได้ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจและมีการประสานกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารมาตรวจสอบการทำรายการจากตู้เอทีเอ็มย้อนหลัง จนพบหลักฐานว่าเธอถูกขโมยเงินในบัญชี โดยแก๊งอาชญากรที่มีความชำนาญในการปลอมแปลงบัตรเอทีเอ็มจริง
ธนาคารที่เธอเปิดบัญชีเอาไว้ยอมรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น โดยการโอนเงินของธนาคารกลับคืนมาเข้าในบัญชีของเธอในจำนวนเท่าที่เธอถูกขโมยไป
ทั้งพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข จากธนาคารไทยพาณิชย์และสมชาย พิชิตสุรกิจ จากธนาคารกสิกรไทย ยืนยันตรงกันว่าปัญหาของอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จะไม่มีผลกระทบไปถึงลูกค้าของธนาคารที่เป็นเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย เพราะถ้ามีหลักฐานว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแก๊งอาชญากรจริง ธนาคารทุกแห่งจะรับภาระความเสียหายดังกล่าวไว้เองทั้งหมด
"เราสามารถตรวจสอบได้ทุก transaction ที่เกิดขึ้นจากการใช้บัตร เราสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็น transaction ที่ลูกค้าใช้ หรือถูกใช้โดยกลุ่มคนร้าย" พงษ์สิทธิ์ยืนยัน
การที่ธนาคารยอมรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการก่ออาชญากรรมประเภทนี้ถือว่ามีส่วนช่วยทำให้ไม่เกิดความตื่นตระหนกในหมู่ประชาชนทั่วไปที่มีบัตรเครดิต หรือบัตรเอทีเอ็มอยู่ในกระเป๋า จนไม่มีใครกล้าใช้บัตรเหล่านั้น เพราะระแวงว่าจะถูกขโมยข้อมูลในบัตร
เพราะหากว่าเกิดภาวะเช่นนี้ขึ้นมาจริงๆ ผลเสียที่จะมีต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจโดยรวมนั้นรุนแรงมากกว่า
แต่ในอีกทางหนึ่งการแสดงตัวออกมารับผิดชอบของธนาคารก็อาจก่อให้เกิดเป็นความชะล่าใจ ทำให้คนบางคนไม่ระมัดระวังในการใช้บัตร เพราะคิดว่าถึงอย่างไรธนาคารผู้ออกบัตรก็ต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว
ทางออกที่สมดุลที่สุดในเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรจึงเป็นเรื่องที่น่าคิด
จากบทบาทของธนาคารพาณิชย์ต่อกรณีการก่ออาชญากรรมประเภทนี้ในช่วงที่ผ่านมา เหมือนเป็นฝ่ายที่ต้องวิ่งไล่ตามแก้ปัญหา ขณะที่กลุ่มคนร้ายสามารถดิ้นหนีไปได้เรื่อยๆ ตามแต่เทคโนโลยีที่จะเปิดช่องให้
เจอรูรั่วในระบบตรงไหน หรือพบรูปแบบการกระทำผิดตรงไหน ธนาคารจึงค่อยตามเข้าไปอุด
ยังไม่พบเห็นกระบวนการป้องกันที่เป็นระบบ
เรื่องนี้มันพูดยาก เพราะถ้าพูดในด้านของเทคโนโลยีแล้ว ในหลักการเราสามารถป้องกันได้ 100% แต่มันจะไปมีผลกระทบต่อลูกค้า เพราะลูกค้าจะไม่ได้รับความสะดวกสบายในการใช้บัตร เช่นกรณีที่ใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้า หากทุกรายการเมื่อใช้ไปแล้ว ต้องมีเจ้าหน้าที่ธนาคารโทรศัพท์มาสอบถามทุกครั้ง ว่ารายการนี้คุณใช้จริงหรือเปล่า บางคนอาจจะชอบ แต่บางคนก็อาจจะรู้สึกรำคาญว่าทำไมต้องมาถามทุกครั้งด้วย มันเป็นเรื่องต่างจิตต่างใจของแต่ละคน" สมชายสะท้อน
"มันเป็นเรื่องของความพยายามสื่อสารกับลูกค้า แต่ต้องไม่ลืมว่าในธุรกิจธนาคาร ไม่ใช่จะมีเพียงแต่แผนกของเราที่ต้องการสื่อสารกับลูกค้าฝ่ายเดียว ฝ่ายการตลาดเขาก็ต้องการสื่อสารแบบหนึ่ง เพราะเขาต้องการให้ลูกค้ามาใช้บัตรมากๆ แต่ทางเราก็ต้องการสื่อสารออกไปว่าลูกค้าต้องระมัดระวัง มันก็ขัดแย้งกันเอง ปัญหาคือเราจะสร้างสมดุลตรงนี้อย่างไร"
ทางออกหนึ่งของปัญหานี้ ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์เกือบทุกแห่งได้มีการจัดตั้งฝ่ายงานที่ดูแลรับผิดชอบการกระทำผิด หรือการทุจริตขึ้นมาเป็นการเฉพาะ
หน่วยงานเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้าระวังการทำรายการต่างๆ ของลูกค้า ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อคอยดูว่ามีรายการใดที่มีพฤติกรรมน่าสงสัย หรือเข้าข่ายเงื่อนไขที่ธนาคารตั้งไว้จะรีบตรวจสอบทันทีและหากพบว่าอาจเป็นการทุจริตก็สามารถระงับการทำรายการดังกล่าวได้ทันทีเช่นกัน
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนี้ทำงาน 24 ชั่วโมงใน 1 วันและทำงาน 7 วันใน 1 สัปดาห์
นอกจากเฝ้าระวังการทำรายการต่างๆ แล้ว เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนี้จะต้องทำงานที่สอดประสานกันอย่างใกล้ชิด ทั้งระหว่างธนาคารด้วยกันเอง และระหว่างธนาคารกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนี้ในบางธนาคาร อย่างของธนาคารไทยพาณิชย์ จำเป็นต้องจ้างนายตำรวจนอกประจำการให้เข้ามานั่งทำงานประจำ
เพราะเป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะ
บางธนาคารมีการจัดสายตรวจตระเวนออกไปตรวจสอบตู้เอทีเอ็มตามที่ต่างๆ หากพบว่าตู้ใดมีการติดตั้ง skimmer และกล้องวงจรปิดเอาไว้ก็จะรายงานข้อมูลไปให้ธนาคารที่เป็นเจ้าของตู้รับทราบและเข้ามาแก้ไขทันที
บางธนาคาร อาทิ กสิกรไทยก็มีบริการที่ช่วยเพิ่มความระมัดระวังให้กับลูกค้า เช่นบริการ SMS Alert ซึ่งเป็นบริการที่เมื่อลูกค้าได้ทำรายการรูดบัตรเพื่อจ่ายค่าสินค้า ระบบจะแจ้งกลับมายังลูกค้ารายนั้นทันทีว่าได้มีรายการเหล่านี้เกิดขึ้น
แต่ความพยายามเหล่านี้ก็ยังไม่แน่ว่าจะป้องกันไม่ให้มีอาชญากรรมประเภทนี้ เกิดขึ้นมาได้อีกในอนาคต
|
|
|
|
|