Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2531
ไกรศรีที่ไทยเซ็นทรัลเคมี การคืนกลับของ GREATEST NEGOTIATOR             
 


   
search resources

ไทยเซ็นทรัลเคมี, บมจ.
ไกรศรี จาติกวณิช
Chemicals and Plastics




ไกรศรีปีนี้ใกล้ชราแล้ว แต่บุคลิกภาพของเขากลับมิได้โรยราไปตามวัย 58 ปี ยามเดินตัวตรงดั่งลำทวน เปี่ยมพลานามัยที่แข็งขันอันเพาะสร้างมาจากการกีฬาใช้แรงอย่างเทนนิสและว่ายน้ำ

หลังจากผ่านพ้นเภทภัยที่กรมศุลกากร ทุกวันนี้ถูกเชื้อเชิญมารับภารกิจที่ท้าทายฝีมือคือ รื้อฟื้นความรุ่งโรจน์ของบริษัทไทยเซ็นทรัลเคมีจากสภาพหนี้สินล้นตัว ด้วยฐานะประธานบริษัท

คนเชื้อเชิญก็สนิทสนมคุ้นเคย และให้ความเชื่อมั่นศรัทธากันมานาน เพราะเขาเป็นบุคคลที่บิดาของเขาเองฝากเนื้อฝากตัวกับไกรศรี เมื่อครั้งยังเป็นเศรษฐกรแห่งกระทรวงการคลังในคราวที่มาพบปะทำธุระกับบิดา หลังจากยกมือไหว้กันแล้ว ความเชื่อมั่นศรัทธาของบิดาต่อไกรศรีก็บังเกิดขึ้นในตัวบุตรชายเช่นกัน คนเชื้อเชิญคนนั้นก็คือ ชาตรี โสภณพนิชแห่งธนาคารกรุงเทพ

คนที่ยินดีกับการเชื้อเชิญครั้งนี้ ก็เห็นว่า "พี่ไกรศรีเป็นผู้ปั้นโรงปุ๋ยมา ท่านกลับมาคุมก็ถูกแล้ว" คำเรียกฐานะที่ยกย่อง บ่งบอกความเป็นมาอย่างเชื่อมั่นและวางใจ แสดงถึงความยินดีของคนผู้นี้ - สว่าง เลาหทัย แห่งศรีกรุงวัฒนา

ความเชื่อมั่นวางใจมาจากผลงานอันโดดเด่นของไกรศรีตลอดระยะเวลาที่รับราชการ

เขาเจรจากับคณะรัฐมนตรีมาเลเซีย พลิกมติให้ยอมต่ออายุสัญญาภาคีข้อตกลงดีบุกเมื่อคราวเกิดวิกฤตดีบุกปี 2510 เป็นผู้ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2517 ตัดสินใจถอนใบอนุญาตราชาเงินทุนในยามวิกฤตตลาดหลักทรัพย์ปี 2522 เจรจาต่อรองกับ "ฟูลออร์" ที่เรียกร้องค่าใช้จ่ายต่อรัฐในโครงการโรงงานแยกก๊าซ จนลดทอนค่าใช้จ่ายไปมากและเปลี่ยนผู้ลงทุนหาที่ดีกว่าแทน เจรจาหาผู้ลงทุนโครงการผาแดง ผลักดันให้เกิดขึ้น เข้าไปฟื้นฐานะธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ตกต่ำถึงขั้นวิกฤตจนมีฐานะมั่นคง และปฏิวัติระบบการทำงานแบบราชการของกรมศุลกากร

กับไทยเซ็นทรัลเคมี เดิมก็คือ โครงการปุ๋ยแม่เมาะที่ริเริ่มขึ้นในสมัยรัฐบาลถนอมปี 2506 ตอนนั้นโครงการครบวงจรตั้งแต่อัฟสตรีม แต่ไกรศรีขณะเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและรับผิดชอบโครงการนี้ไม่เห็นด้วย เนื่องจากยังไม่มีก๊าซธรรมชาติเป็นของเราเอง และไม่คุ้มการลงทุน จึงเห็นว่าควรจะเริ่มจากดาวน์สตรีมให้มีฐานที่แข็งแรงก่อน

โครงการปุ๋ยแม่เมาะจึงเริ่มขึ้นจากการนำเข้าปุ๋ยมาผสมขายให้กับเกษตรกร

โครงการนี้ดำเนินไปด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชน ปี 2517 โครงการนี้ก็อยู่ในมือของกลุ่มศรีกรุงวัฒนาในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายเดียว

ไทยเซ็นทรัลเคมี คือชื่อใหม่ที่มีนิชโช-อิวายแห่งญี่ปุ่นถือหุ้นร่วมด้วยและอาศัยเงินกู้จากแบงก์กรุงเทพมาดำเนินการ

ในระยะหลัง กลุ่มศรีกรุงวัฒนาประสบภาวะวิกฤต โดยเฉพาะ "เจ้าพระยาพืชไร่" บริษัทยักษ์ใหญ่ในเครือที่ขาดทุนมหาศาลฉุดให้บริษัทอื่น ๆ อัปปางไปด้วย

กลุ่มศรีกรุงเป็นหนี้ไทยเซ็นทรัลเคมีอยู่ 1,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันไทยเซ็นทรัลเคมีเองก็ร่อแร่ปางตายเพราะถูกกระหน่ำอย่างต่อเนื่องจากการลดค่าเงินบาทครั้งล่าสุด ทำให้วัตถุดิบนำเข้าราคาแพง ภาวะราคาพืชผลตกต่ำ และการแทรกแซงตลาดของรัฐบาลด้วยปุ๋ยราคาถูก หนี้สินจึงล้นตัวหลายพันล้านบาท นิชโช-อิวายจึงเข้ามาบีบให้เพิ่มทุนจดทะเบียน และขอเป็นผู้ถือหุ้นทุนจดทะเบียนจำนวนนั้น

ปัญหาที่เสนอตัวขึ้นมาก็คือจะรักษาไทยเซ็นทรัลเคมีไว้กับกลุ่มศรีกรุงฯ ไว้อย่างไร?

คำตอบก็คือ สว่าง-ไกรศรีชาตรี

ชาตรีเข้าครอบครองกิจการโดยให้กู้เงินอีก 500 ล้านบาท และสว่างต้องโอนหุ้น 75% ให้ชาตรี ส่วนนิชโช-อิวายยังคงถืออยู่ประมาณ 20% ที่เหลือเป็นของกลุ่มศรีกรุง จากนี้จึงมีไกรศรีตัวละครสำคัญที่กำหนดอนาคตของไทยเซ็นทรัลเคมี

ปัญหาการฟื้นคืนกิจการที่ไกรศรีเห็นว่าสำคัญที่สุด แก้ไขตรงจุดที่สุด ก็คือ การขยายกำลังการผลิต

ที่ผ่านมา บริษัทปุ๋ยเอกชนต่างถูกสกัดกั้นการขยายกำลังการผลิต เพราะนโยบายแทรกแซงการตลาด และโครงการปุ๋ยแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม บังเอิญที่ไทยเซ็นทรัลเคมียังหลงเหลือใบอนุญาตขยายกำลังการผลิตอยู่อีกหนึ่งใบ ช่วยต่อชีวิตไปได้

งานนี้ต้องลงทุนอีก 1 พันล้านบาทขยายกำลังการผลิตจาก 6 แสนตันเป็น 9 แสนตันต่อปี ชาตรีหนุนช่วยเงินลงทุนด้วยความมั่นใจในการมองตลาดปุ๋ยที่กำลังคึกคักตามภาวะราคาพืชผลที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา การขาดแคลนปุ๋ย และการล้มลงของโครงการปุ๋ยแห่งชาติ

ภารกิจอีก 2 ประการที่จะหนุนการฉุดรั้งจากปลักโคลนแห่งการขาดทุน ก็คือ การหาวัตถุดิบราคาถูกและการหาตลาดที่แน่นอน

ภารกิจแรก ไกรศรีต้องออกเดินทางไปต่างประเทศบ่อย ๆ โดยเฉพาะญี่ปุ่น เพื่อเจรจาหาแหล่งวัตถุดิบสำหรับปุ๋ยที่ราคาถูก

ส่วนภารกิจที่สอง ไกรศรีประสบความสำเร็จเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ในการเจรจากับเอเย่นต์จำหน่ายปุ๋ยจนสามารถเซ็นสัญญาขายปุ๋ยต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ได้ออเดอร์ถึง 2 ล้านกว่าตัน

ความเป็น NEGOTIATOR ของไกรศรี ยังเป็นฝีมือที่เชื่อถือได้ตลอดกาลนาน

ทุกวันนี้เขาเข้าบริษัทบ้าง ไปโรงงานบ้าง คอยคุมนโยบายของบริษัท ขณะที่พนักงานระดับปฏิบัติก็ล้วนแต่เป็นคนเก่าที่คุ้นเคยเมื่อครั้งแรกเริ่มก่อตั้งบริษัท

ไกรศรี จาติกวนิชจึงเป็น RENEWAL FACTOR ที่สำคัญเพียงพอจะเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในอนาคตข้างหน้านี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us