Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2552
HARA JAPAN Top of the World Baseball Classic 2009             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Sports




World Baseball Classic 2009 ปิดฉากลงพร้อมกับตำนานใหม่แห่งวงการเบสบอลโลก ที่เล่าขานผ่านการช่วงชิงตำแหน่งชนะเลิศของทีมจากทวีปเอเชียระหว่างทีมชาติเกาหลีใต้เจ้าของเหรียญทองเบสบอลโอลิมปิกครั้งล่าสุดกับทีมชาติญี่ปุ่นเจ้าของบัลลังก์แชมป์โลกรายการนี้เมื่อปี 2006*

ปัจจุบันกีฬาเบสบอลในระดับนานาชาติภายใต้การดูแลของ IBAF (International Baseball Federation) มีด้วยกัน 3 รายการได้แก่ (1) การแข่งขันเบสบอลในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน (2) Baseball World Cup และ (3) World Baseball Classic (WBC) หากแต่การแข่งขันใน 2 รายการแรกนั้นจัดอยู่ในระดับ minor league เนื่องเพราะช่วงเวลาการแข่งขันมักทับซ้อนกับฤดูกาลลงสนามของนักเบสบอลอาชีพทั้งฝั่งอเมริกาและญี่ปุ่น

ในขณะที่ WBC มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้เบสบอลเป็นกีฬาระดับโลก (Global Sport) ด้วยรูปแบบการแข่งขันที่คัดเลือกผู้เล่นที่ดีที่สุดจาก major league รวมเข้าเป็นทีมชาติซึ่งหากเปรียบกับฟุตบอลแล้ว WBC พึงมีศักดิ์ศรีเทียบเท่าฟุตบอลโลกในเวอร์ชั่นเบสบอล

WBC 2009 ในครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งมีประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน 16 ทีมจาก 4 ทวีป เหมือนครั้งก่อน แต่เปลี่ยนระบบวางสายการแข่งขันแบบ Double Elimination ซึ่งหากแพ้ 2 ครั้งในรอบคัดเลือกก็ตกรอบ ไปจนกระทั่งเหลือ 4 ทีมเข้ารอบสุดท้าย ซึ่งจะแข่งแบบพบกันครั้งเดียวแพ้คัดออก (ดูแผนผังการแข่งขันประกอบ)

โดยที่ MLB (Major League Baseball) แจงถึงเหตุผลไว้ว่าเพื่อให้โอกาสแต่ละทีมสามารถแก้ตัวได้หากแพ้ไปแล้วหนึ่งครั้งประกอบกับคำนวณรายได้จากการขายตั๋วเข้าชมการแข่งขันในแต่ละนัด, การจำหน่ายสินค้าที่ระลึก, ค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดผ่านดาวเทียมและรายได้จากสปอนเซอร์ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่ารวมกันมากกว่า 16 ล้านดอลลาร์

จากข้อสังเกตภายใต้บริบทการวางสายการแข่งขันดังกล่าว ตัวเต็ง 3 ทีมของรายการคือทีมคิวบา, เกาหลีใต้และญี่ปุ่น จะถูกจัดวางอยู่ในสายเดียวกันซึ่งกรณีนี้ทำให้ทีมเกาหลีใต้มีโอกาสพบกับทีมญี่ปุ่นทั้งหมด 5 ครั้งและทีมคิวบามีโอกาสพบกับทีมญี่ปุ่น 2 ครั้ง (ในรอบคัดเลือกของ Pool 1) ในขณะที่อีกฟากหนึ่งของสายการแข่งขันเหลือเพียงทีมชาติอเมริกาที่เป็นตัวเต็งเข้ารอบสุดท้ายเพียงทีมเดียว

แม้ว่า Sadaharu Oh ซึ่งเคยนำทีมชาติญี่ปุ่นคว้าตำแหน่งชนะเลิศ WBC จากการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี 2006 จะหายป่วยเป็นปกติหลังจากผ่าตัดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารแล้วก็ตามปัญหาสุขภาพในวัยเกษียณอายุนั้นย่อมส่งผลให้การเลือกสรรผู้จัดการทีมคนใหม่เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน

คณะกรรมการ NPB (Nippon Professional Baseball) เสนอชื่อของ Tatsunori Hara ผู้จัดการทีม Yomiuri Giants มานำทีมชาติญี่ปุ่นซึ่งใช้ชื่อเล่นทีมในครั้งนี้ว่า HARA JAPAN และในเวลาต่อมาได้ประกาศรายชื่อผู้เล่นสัญชาติญี่ปุ่น 28 คนจาก major league ในญี่ปุ่นและที่ไปเล่นใน major league ของอเมริกาโดยมี Ichiro Suzuki เป็นหัวหน้าทีมและเรียกลูกทีมทั้งหมดว่า "Samurai Japan"

บทเรียนจากโอลิมปิกครั้งที่ผ่านมาสะท้อนภารกิจที่สำคัญยิ่งไปกว่าการเชื่อมั่นในศักยภาพส่วนบุคคลของ บรรดา Samurai Japan ซึ่งส่วนใหญ่เคยเป็นคู่แข่งกันใน major league นั้นก็คือการหล่อหลอมทีมให้เป็นหนึ่งเดียวภายใต้เงื่อนไขของเวลาอันจำกัด

ทันทีที่ WBC 2009 เปิดฉากขึ้นในต้นเดือนมีนาคม การแข่งขันอันเข้มข้นเริ่มขึ้นตั้งแต่รอบคัดเลือก โดยเฉพาะ Pool A ที่ใช้สนามแข่งขันในญี่ปุ่น โดยที่ทีมญี่ปุ่นชนะเกาหลีใต้ 14 : 2 ก่อนที่ทีมเกาหลีใต้จะแก้ กลับเอาชนะทีมญี่ปุ่นในการพบกันครั้งที่ 2 ด้วยคะแนน 0 : 1 ซึ่งทั้ง 2 ทีมจับมือผ่านเข้ารอบคัดเลือกรอบที่ 2 ไปตามความคาดหมาย

ในรอบคัดเลือกรอบที่ 2 มีทีมจาก Pool B สมทบอีก 2 ทีม ได้แก่ ทีมคิวบาด้วยศักดิ์ศรีรองแชมป์เก่าและ เจ้าของเหรียญเงินเบสบอลโอลิมปิกครั้งล่าสุด กับทีมเม็กซิโกซึ่งเคยทำให้ทีมอเมริกาตกรอบไปเมื่อ WBC 2006 ยิ่งเพิ่มดีกรีความดุเดือดให้การแข่งขันภายใน Pool 1

แม้ว่าทีมคิวบาจะมี Pitcher ที่ขว้างบอลได้เร็วที่สุดในโลกอย่าง Aroldis Chapman ด้วยสถิติอัตราเร็ว สูงกว่า 160 km/h แต่ Samurai Japan อาศัยทีมเวิร์ก ที่มีประสิทธิภาพนำไปสู่ชัยชนะเหนือทีมคิวบาทั้ง 2 นัด ด้วยคะแนน 6 : 0 และ 5 : 0 ส่งผลให้ทีมคิวบาไม่สามารถผ่านสู่รอบ 4 ทีมสุดท้าย ขณะที่ทีมญี่ปุ่นพ่ายเกาหลีใต้ไป 1 : 4 ในการพบกันครั้งที่ 3 ก่อนที่จะพลิก เอาชนะทีมเกาหลีใต้ด้วยคะแนน 6 : 2 ในการพบกันครั้งที่ 4 ซึ่งทั้งทีมเกาหลีใต้และญี่ปุ่นผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายไปพบกับทีมอเมริกาและเวเนซุเอลา

จาก Pool 2 ไฮไลต์ของ WBC 2009 ครั้งนี้คงหนีไม่พ้นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระหว่างทีมเกาหลี ใต้และญี่ปุ่นที่ผลัดกันแพ้-ชนะทีมละ 2 ครั้งจากการพบกัน 4 ครั้งตั้งแต่รอบคัดเลือก การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ เริ่มขึ้นตั้งแต่ 10 โมงเช้าของวันจันทร์ที่ 24 มีนาคม ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งมีผู้ชมหลายล้านคนจากทั้งสองประเทศรวมถึงแฟนเบสบอลทั่วโลกต่างใจจดใจจ่อเฝ้าติดตามดูการแข่งขัน ซึ่งเฉพาะในญี่ปุ่นมีเรตติ้งผู้ชมการ ถ่ายทอดสดพุ่งสูงกว่า 60% ทั้งที่เป็นวันทำงานเริ่มต้นสัปดาห์

ทีมญี่ปุ่นออกนำไปก่อน 1 : 0 ในเกมที่ 3 จากนั้นทั้งสองทีมผลัดกันทำคะแนนจนกระทั่งเกมที่ 9 ซึ่งเป็นเกมสุดท้ายที่ทีมญี่ปุ่นนำอยู่ 3 : 2 แต่ ทีมเกาหลีใต้สามารถทำคะแนนตีเสมอได้ การแข่งขันต่อเวลาออกไปในเกมที่ 10 เริ่มจากฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่ง Ichiro Suzuki ตีลูกเบสบอลจากการขว้างของ Chang Yong Lim ส่งผลให้ Seiichi Uchikawa และ Akinori Iwamura วิ่งกลับเข้าโฮมทำคะแนนทิ้งห่างทีมเกาหลีใต้เป็น 5 : 3 จากนั้นทีมเกาหลีใต้ไม่สามารถทำคะแนนเพิ่มได้จากการขว้างของ Yu Darvish ในเกมสุดท้ายทำให้ Samurai Japan คว้าแชมป์ติดต่อกันได้เป็นครั้งที่ 2

นอกเหนือจากภาพการแข่งขันแล้ว กิริยามารยาทของกองเชียร์เกาหลีใต้ที่ถ่ายทอดสดจาก Dodger Stadium ใน Los Angeles แพร่ภาพออกไปสู่สายตาผู้คนทั่วโลกนั้นยิ่งตอกย้ำความจริงที่ว่าด้วย "ความพ่ายแพ้สมบูรณ์แบบ" อีกครั้งไม่ต่างไปจากคราว WBC 2006

หากพิจารณา WBC 2009 ที่จบลงไปในแง่ของผลการแข่งขันแล้วคงกล่าวได้ว่ามาตรฐานของทีมเบสบอล จากทวีปเอเชียก้าวขึ้นสู่ระดับแนวหน้าซึ่งได้รุกคืบสู่ห้วงรับรู้ของผู้คนทั่วโลกแล้ว

หากพิจารณาทั้งในแง่รายได้ที่สูงขึ้นและจำนวนผู้ชมทั้งหมดซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวอาจประเมินได้ว่าการแข่งขันในครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ในระดับที่น่าพอใจแต่ยังไม่เพียงพอที่จะกล่าวได้ว่ากีฬาเบสบอลได้เป็นกีฬาระดับโลกอย่างแท้จริง

แม้กระนั้นก็ตามที WBC ยังคงดำเนินต่อไปเพื่อผลักดันกีฬาเบสบอลให้บรรลุสู่เป้าหมายในอนาคต

พบกันใหม่ครั้งหน้าใน WBC 2013

- ขอบคุณภาพสวยจากโฮมเพจของ WBC และ NPB

*อ่านเพิ่มเติม :
นิตยสารผู้จัดการคอลัมน์ Japan Walker ฉบับพฤษภาคม 2549   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us