Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2552
ความจริงกับความหวังใน G20             
 


   
search resources

Economics
International




ผลการประชุม G20 เมื่อเดือนเมษายน ดูเหมือนจะห่างไกลจากความคาดหวังที่เกิดขึ้นมากมายก่อนการประชุม ก่อนหน้าที่จะถึงวันประชุมเมื่อต้นเดือนเมษายน นายกรัฐมนตรี Gordon Brown ของอังกฤษเดินทางทัวร์ 4 ทวีป เพื่อโปรโมตข้อเสนอของเขาให้ทำข้อตกลงใหม่ของโลก ซึ่งเขาเรียกว่า New Deal ส่วนประธานาธิบดี Nicholas Sarkozy แห่งฝรั่งเศสกับนายกรัฐมนตรี Angela Merkel แห่งเยอรมนี ต่างกล่าวถึงการ "สร้างทุนนิยมแบบใหม่" Sam Palmisano CEO ของ IBM เรียกร้องให้การประชุม G20 ปลดปล่อยคลื่นลูกใหม่ของการลงทุนระยะยาว ส่วน Fred Bergsten นักวิเคราะห์วิจารณ์ด้านเศรษฐกิจ ชื่อดังกล่าวว่า การประชุมดังกล่าวเป็นความหวังสุดท้ายที่ผู้นำโลกจะร่วมมือกันในด้านนโยบายเศรษฐกิจ เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก

แต่ Jeffrey E. Garten ศาสตราจารย์ด้านการค้าและการเงินระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัย Yale School of Management เตือนว่า ในยุคที่เศรษฐกิจโลกมีความเปราะบางสูงอย่างทุกวันนี้ หากความจริงกับความหวังแตกต่างกันมากเกินไป ก็อาจสร้างความผิดหวังให้แก่ตลาดการเงิน นักลงทุนและผู้บริโภค ได้ และยังอาจกลายเป็นการส่งเสริมลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจที่อันตราย ซึ่งกำลังเริ่มก่อตัวขึ้นได้ ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อความร่วมมือกันในระยะยาวของผู้นำชาติต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าการประชุมสุดยอดเพียงแค่วันเดียว ดังนั้น สิ่งที่บรรดาผู้นำระดับโลกที่จะประชุมสุดยอดอย่างเช่นการประชุม G20 เมื่อเดือนที่แล้ว ควรจะตระหนักก็คือจะต้องลดความคาดหวัง ไม่ใช่กระพือความคาดหวังจนสูงเกินไปถึงความสำเร็จของการประชุม

แม้กระทั่งในยามปกติ การร่วมมือกันระหว่างประเทศก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่าย ยิ่งมีปัญหาเศรษฐกิจโลกอย่างทุกวันนี้ การร่วมมือกันก็ยิ่งยากมากขึ้น เนื่องจากบรรดาผู้นำแต่ละประเทศต่างก็ต้องเผชิญกับความกดดันอย่างหนักจากภายในประเทศของตน ซึ่งเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ ที่รุมเร้า ทั้งการเติบโตที่ติดลบ การปล่อยสินเชื่อติดลบ การค้าติดลบ การว่างงานพุ่งสูง และการประท้วงที่เกิดขึ้นไปทั่ว เมื่อสมัยที่ G7 ยังเป็นเวทีหลักในการหารือการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโลก การพยายามจะเจรจาให้ทุกประเทศร่วมแรงร่วมใจกันแก้ปัญหาให้มีความเป็นเอกภาพก็ยากอยู่แล้ว แต่การเจรจาใน G20 ยิ่งยากเย็นและซับซ้อนมากขึ้นกว่า อีกหลายเท่า เพราะมีจำนวนชาติสมาชิกมากขึ้นและแต่ละประเทศก็ล้วนแล้วแต่มีผลประโยชน์ที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งยังมีกระบวนการทางการเมืองในประเทศที่แตกต่างกันไปอีก

นอกจากนั้นการจะตัดสินใจใดๆ ในการประชุมสุดยอดแบบ G20 ก็ยิ่งยากขึ้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างสูงในขณะนี้ จนป่านนี้ก็ยังไม่มีใครรู้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้จะกินเวลายาวนานและจะหนักหนาสาหัสเพียงใด ไม่มีใครรู้สภาพที่แท้จริงของปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในระบบการเงินการธนาคารในขณะนี้ และไม่มีใครรู้ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่ได้ออกไปแล้วนั้นจะเพียงพอหรือไม่

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความแตกต่างทางความคิดของบรรดาชาติสมาชิก G20 สหรัฐฯ ซึ่งเกรงว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตนได้ทุ่มเทงบประมาณอย่างมหาศาล จะทำให้ยุโรปพลอยได้รับประโยชน์ไปแบบฟรีๆ จึงพยายามจะผลักดันให้ EU เพิ่มงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจให้มากขึ้นอีก แต่ EU กลับต้องการให้สหรัฐฯ เพิ่มการควบคุมตลาดการเงินโลกให้เข้มงวดและครอบคลุมมากกว่านี้ ขณะเดียวกันทั้งสหรัฐฯ และ EU ต่างก็กลัวว่าจีนจะเพิ่มการอุดหนุนการส่งออก ด้านบราซิลอยากจะให้เปิดเจรจาการค้าโลกรอบใหม่ แต่ประธานาธิบดี Obama ของสหรัฐฯ ปฏิเสธเรื่องนี้อย่างสิ้นเชิง

สิ่งที่การประชุมแบบ G20 จะทำได้อย่างดีที่สุดก็คือ การประกาศเป้าหมายที่หนักแน่นชัดเจนและสามารถทำได้จริงเพียงไม่กี่ประการ ที่ไม่ใช่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่อย่างการยกเครื่องระบบการเงินโลกระดับ Bretton Woods เมื่อครั้งที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง และ G20 ควรจะมีการประชุมกันทุกๆ ไตรมาสหลังจากนี้เป็นต้นไป เพื่อแสดงให้เห็นว่า การประชุมที่ประกาศว่าเพื่อจะร่วมมือกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจโลกนั้น ไม่ใช่โอกาสเพียงเพื่อให้ผู้นำโลกได้มาถ่ายภาพร่วมกันเท่านั้น

การประชุม G20 ควรสามารถจุดประกายความหวังให้แก่ตลาดโลกและประชาชนว่า ผู้นำโลกกำลังจะลงมือออกมาตรการสำคัญในอีกไม่ช้า แต่ในขณะเดียวกันก็สมควรถ่วงดุลความหวังนั้นด้วยความจริงที่ว่า การประชุมสุดยอดผู้นำโลกแบบ G20 นี้ สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้แต่เพียงจำกัดเท่านั้น แม้ว่าในเวลานี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างก็ตระหนักแล้วว่า การทำอะไรไปโดยลำพังโดยไม่สนใจคนอื่น เป็นสิ่งที่อันตรายและเปล่าประโยชน์ แต่ความตระหนักดังกล่าวนั้นก็ยังไม่มากพอที่จะทำให้ประเทศต่างๆ ยอมร่วมหัวจมท้ายกัน จนถึงขั้นที่สามารถจะสร้างระบบการเงินโลกขึ้นใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งสถาบันการเงินระดับโลกแห่งใหม่ เพราะผู้นำโลกยังไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจมาก่อนที่จะยอมรับการมีสถาบันทางการเงินระดับโลกที่มีอำนาจในการควบคุมด้วย หรือในแง่ของกรอบความคิด บรรดาประเทศสำคัญต่างๆ ใน G20 ก็ยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศของตนอย่างถึงแก่น เพื่อที่จะรองรับความจำเป็นระหว่างประเทศ

โดยสรุปคือรัฐบาล G20 กำลังพยายามอย่างดีที่สุดที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากวิกฤติการเงินโลก แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ยังไม่พร้อมหรือมีศักยภาพมากพอที่จะจับมือกันทำเรื่องใหญ่อย่างการยกเครื่องระบบการเงินโลกได้

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค 30 มีนาคม 2552   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us