|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
งานครบรอบ 40 ปีของกลุ่มทิสโก้สถาบันการเงินอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ทิสโก้ไม่ได้เลือกจัดงานฉลองใหญ่โต แต่ตั้งใจจัดแสดงงานศิลปะร่วมสมัยที่รวบรวมมาถึง 4 ทศวรรษ
ทิสโก้เริ่มสะสมผลงานศิลปะพร้อมกับการก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2512 ในขณะนั้นมีสถานะเป็นบริษัทเงินทุนจนกระทั่งปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียล กรุ๊ป
เวลา 40 ปีที่ผ่านมาทิสโก้ได้สะสมศิลปะมากกว่า 300 ชิ้น จากศิลปินที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เช่น สวัสดิ์ ตันติสุข ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ สุเชาว์ ศิษย์คเณศ ช่วง มูลพินิจ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในวันครบรอบ 40 ปี เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา ทิสโก้ได้จัดผลงานศิลปะจำนวน 24 ชิ้น บริเวณชั้น 1 อาคารทิสโก้ ถนนสาทรเหนือ เพื่อให้อาคันตุกะและบุคคลทั่วไปได้เยี่ยม ชมในวาระพิเศษ
งานแสดงศิลปะบ่งบอกนัยของทิสโก้ที่ต้องการสื่อสารว่าศิลปะสะท้อนความรุ่งโรจน์ของชาติที่ลื่นไหลไปกับสังคมไทยในแต่ละยุคสมัย งานศิลปะในแต่ละยุคบ่งบอกให้เห็นวิวัฒนาการของศิลปะ และสภาพเศรษฐกิจของไทยได้อย่างลงตัว เริ่มจากทศวรรษ 2512-2521 เป็นยุคสมัยที่การปกครองเต็มไปด้วยความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงจากรัฐบาลทหารสู่การเรียกร้องประชาธิปไตยของปัญญาชน ศิลปะที่นำเสนอในช่วงนั้นจึงเป็นศิลปะเพื่อชีวิต
ทศวรรษ 2522-2531 การเมืองถูกเรียกว่าประชาธิปไตยครึ่งใบ แต่ก็มีบรรยากาศผ่อนคลายด้านเสรีภาพทำให้งานศิลปะได้รับอิทธิพลจากตะวันตกแต่ศิลปินอีกกลุ่มหนึ่งก็เลือกที่จะสื่อความคิดกลับไปหารากเหง้าของศิลปะไทย
ทศวรรษ 2532-2542 เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี 2535 ตามมาด้วยเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 แต่งานด้านศิลปะกลุ่มคนชนชั้นกลางและสูงเริ่มสะสมงานศิลปะหรือใช้ตกแต่งในสำนักงาน ทำให้เกิดเวทีประกวดผลงานเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งทำให้ศิลปินก้าวไปสู่เวทีศิลปะนานาชาติ
ทศวรรษ 2542-2551 ประเทศไทยยังพบกับมรสุมเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องแต่ผลงานด้านศิลปะเกิดความร่วมมือจัดนิทรรศการศิลปินข้ามชาติมากขึ้น และหน่วยงานรัฐและเอกชนเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุน ศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ รองกรรมการอำนวยการ บมจ.ธนาคารทิสโก้เล่าให้ ผู้จัดการ 360 ํ ฟังว่า ผลงานบางชิ้นที่ซื้อมามีราคา 5 พันบาท แต่ปัจจุบันมีราคาค่างวดถึง 2 ล้านบาท
ศิลปะนอกจากจะสะท้อนความเจริญและความเปลี่ยนแปลงของสังคม องค์กรภาคเอกชนที่สะสมผลงานเหล่านี้สามารถตีค่าผลงานให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรได้เช่นเดียวกัน
|
|
|
|
|