Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2544
แคนาดอยล์ กรุ๊ป             
 


   
search resources

แคนาดอยล์
จาโคโม ซอซซี่
Energy




ความตื่นตัว ที่จะนำทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมัน และก๊าซขึ้นมาใช้ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เป็นแรงจูงใจดึงดูดให้แคนาดอยล์ กรุ๊ป กลุ่มธุรกิจของชาวอิตาลี แต่มีฐานใหญ่อยู่ในแคนาดา ตัดสินใจเข้ามาตั้งโรงงานผลิตข้อต่อท่อขนาดใหญ่ในประเทศไทย

โรงงานดังกล่าว ตั้งอยู่บนพื้นที่ 30 ไร่ ในนิคมอุตสาห-กรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง โดยใช้เงินลงทุนรวม 23.2 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,040 ล้านบาท

การก่อสร้างโรงงานจะเริ่มต้นในเดือนมกราคม 2544 และจะเสร็จ และเริ่มผลิตได้ในเดือนพฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ โดยผลผลิตจากโรงงานในขั้นต้นเป็นข้อต่อท่อขนาดใหญ่สำหรับ ใช้ในการขนส่งก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และขณะนี้แคนาดอยล์กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับสำนักงาน คณะกรรมการนโยบายพลังงาน ซึ่งหากการเจรจา มีผลคืบหน้า อาจมีการขยายสายการผลิตไปยังสินค้าประเภทอื่นได้อีก

แคนาดอยล์ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมพลังงาน ที่ใหญ่ 1 ใน 5 อันดับของโลก ผลผลิตส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์เกี่ยวกับการขนส่ง เช่น ท่อ ข้อต่อ และวาล์วสำหรับท่อขนาดใหญ่ มีส่วนแบ่งการตลาดรวมประมาณ 12% แต่เฉพาะในภูมิภาคอเมริกา และแคนาดา แคนา ดอยล์ถือเป็นรายใหญ่ที่สุด ครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50%

สำหรับในประเทศไทย แคนาดอยล์เป็นผู้จัดส่งข้อต่อท่อขนาดใหญ่ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก และโครงการวางท่อก๊าซจากราชบุรีมายังอำเภอวังน้อย จังหวัดอยุธยา และเตรียมจัดส่งข้อต่อท่อให้สำหรับโครงการท่อส่งก๊าซในพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย ซึ่งยังมีปัญหาจุดขึ้นของท่อก๊าซธรรมชาติ ที่ กำลังถูกต่อต้านจากชาวสงขลาอยู่ในขณะนี้

"ในเมืองไทย เราอาจกล่าวได้ว่าเราครองส่วนแบ่งตลาด ทั้งหมด" จาโคโม ซอซซี่ กรรมการผู้จัดการ บริษัทแคนาดอยล์ เอเชีย บริษัท ที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้น เพื่อเข้ามาลงทุนในประเทศไทยกล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่แคนาดอยล์ ก็ยังเป็นธุรกิจครอบครัว โดยก่อตั้งขึ้นโดยคน ในตระกูลซอซซี่ เมื่อปี 2514 ทางตอนเหนือของประเทศ อิตาลี ก่อน ที่จะขยายการลงทุนเข้าไปในแคนาดา เมื่อปี 2525 และปัจจุบันตระกูลซอซซี่ก็ยังครองหุ้นส่วนใหญ่ และอำนาจการบริหารอยู่ในมือทั้งหมด

ปัจจุบันฐานการผลิตของแคนาดอยล์กรุ๊ป นอกจากในอิตาลี แคนาดาแล้ว ยังมีโรงงานอยู่ในเวเนซุเอลา และคลังสินค้าในสหรัฐอเมริกา การเข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทย จึง ถือเป็นการขยายฐานการผลิตเข้ามาในภูมิภาคนี้เป็นครั้งแรก

"การบริโภคพลังงานในภูมิภาคนี้ มีแนวโน้ม ที่จะขยาย ตัวได้อีกมาก" เขายกตัวอย่างในอินเดีย และจีน ซึ่งยังต้องนำเข้า ก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะในจีน ซึ่งมีโครงการวางท่อก๊าซขนาด ใหญ่ถึง 3 โครงการ ระยะทาง 12,000 กิโลเมตร "เทียบกับโครง การราชบุรี-วังน้อย ที่ยาวเพียง 253 กิโลเมตรแล้วใหญ่กว่ามาก"

การเข้ามาตั้งโรงงานครั้งนี้ เป้าหมายจึงมุ่งส่งออกเป็นหลัก โดยผลผลิต ที่ออกจากโรงงาน ซึ่งเมื่อผลิตได้เต็มที่ จะมีกำลังการผลิตข้อต่อท่อขนาดใหญ่ 6,500 ตันต่อปี ในจำนวนนี้ 95% จะส่งออก โดยมากกว่า 60% จะส่งเข้าไปขายในประเทศย่านเอเชีย ออสเตรเลีย อีก 15% ส่งไปตะวันออกกลาง ส่วน ที่ขายในประเทศ จะมีไม่เกิน 5% เท่านั้น

ก่อนตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นที่ตั้งโรงงาน แคนาดอยล์ กรุ๊ป ได้ไปสำรวจพื้นที่ตั้งมาแล้ว ทั้งในอินโด นีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม จีน และอินเดีย การตัดสินในการเลือกประเทศไทยมีสาเหตุอยู่ 3 ประการ คือ 1. ที่ตั้งของประเทศไทยดีที่สุด 2. ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนัก งานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และ 3. คุณภาพของคนไทยมีความสามารถ

แต่ดูเหมือนเหตุผลประการที่ 2 คือ การได้รับการส่งเสริมจาก BOIจะเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักที่สุดในจำนวน เหตุผลทั้ง 3 ประการ เพราะเดิมแคนาดอยล์มีความ สนใจประเทศจีน แต่ติดเงื่อนไขการลงทุนจากต่างชาติจะต้องหาผู้ร่วมทุนท้องถิ่น ซึ่งแคนาดอยล์ไม่ต้องการ

"เราเป็นธุรกิจในครอบครัว และการลงทุนในธุรกิจประเภทนี้ เป็นการลงทุนระยะยาว ค่อนข้างใช้เวลาสำหรับการ คืนทุน" ซอซซี่ให้เหตุผล

การเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เงื่อนไข ที่ได้รับจาก BOI นอกจากจะได้ถือหุ้นเต็ม 100% โดยไม่ต้องมีผู้ร่วมทุนท้องถิ่นมาแบ่งกำไร และได้รับงดเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นระยะเวลา 8 ปีแล้ว ยังได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่เป็นที่ตั้งโรงงานอีกด้วย

ซึ่งเป็นเงื่อนไข ที่ดึงดูดใจมากกว่า

นอกจากนี้ เงินลงทุน ที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างโรงงาน มูลค่า 23.2 ล้านดอลลาร์นั้น เป็นเงินทุนนำเข้าเพียง 10 ล้านดอลลาร์เท่านั้น อีก 13 ล้านดอลลาร์ ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งโนวาสโกเทีย สาขาประเทศไทย ซึ่งเป็นธนาคารสัญชาติแคนาดาเช่นกัน

คงต้องคอยดูกันต่อไปว่า ประเทศไทยจะได้รับผลดีอย่างไรบ้าง สำหรับการเข้ามาตั้งโรงงานผลิตข้อต่อขนาดใหญ่ของแคนาดอยล์ กรุ๊ปในครั้งนี้ นอกเหนือจาก ที่จาโคโม ซอซซี่ บอกว่าผลผลิต ที่ออกมาจากโรงงาน จะมีราคาถูกกว่าสั่งนำเข้า มา 30%

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us