Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2531
ประสาน โอสถานนท์ ประนีประนอมเพื่อยุติยุคแห่งความคลุมเครือ             
 


   
search resources

ประสาน โอสถานนท์
Advertising and Public Relations




ปลายปี 2531 สื่อโฆษณาหลาย ๆ ตัวขยับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในปี 2532 เครือข่ายของสถานีโทรทัศน์ทุกช่องกำลังคืบคลานเข้าครอบคลุมทั่วประเทศ นั่นหมายถึงอำนาจการประลองยุทธ์ของสถานีโทรทัศน์แต่ละช่องย่อมทัดเทียมกัน

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐยักษ์มีเดียด้านสิ่งพิมพ์เพิ่มหน้าสี่สีปรับปรุงเนื้อหาฉบับวันอาทิตย์และเพิ่มองค์กรใหม่ รับผิดชอบด้านรับแจ้งความโฆษณาโดยเฉพาะ พร้อมทั้งปรับอัตราค่าโฆษณาใหม่

หนังสือพิมพ์แนวธุรกิจรายสัปดาห์แข่งขันกันรุนแรงและเชือดเฉือนด้านการเสนอเนื้อหาข่าว ข้อมูลอย่างเด่นชัด การตัดสินใจเลือกซื้อสื่อของผู้อ่านซับซ้อนมากขึ้น

ห้วงเวลาเดียวกัน ธุรกิจโฆษณาก็บูมกันสุดเหวี่ยง เมื่องบโฆษณาในปี 2531 อาจจะพุ่งไปที่ 7,000 ล้านบาท ดู ๆ ไปก็อาจจะชวนคึกคักตามไปด้วย แต่ก็ไม่วายมีคนหนักอกหนักใจเสียจนได้ ซึ่งก็ไม่พ้นบริษัทโฆษณาที่มีในราว ๆ 150 แห่ง ที่หนักอกหนักใจก็ไม่ใช่เพราะอะไร หนึ่ง-สื่อโฆษณามันเยอะมาก หรือที่มีอยู่ก็สูสีพอฟัดพอเหวี่ยง หรือไม่ก็สื่อโฆษณาที่เอเยนซี่คิดว่าใช้แล้วได้ผลจริง ๆ มันมีไม่กี่ตัว สอง-อัตราส่วนลดทั้งที่สื่อโฆษณาเสนอหรือที่เอเยนซี่ต้องการยังมีลักษณะลักลั่นพัลวันกันอยู่

ชั่วเวลา 4 เดือนที่ประสาน โอสถานนท์ ขึ้นมารับตำแหน่งนายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย ก็เลยหยิบยกเรื่องหนักอกหนักใจของบรรดาเอเยนซี่ที่เป็นสมาชิกสมาคมมาพิจารณาให้เป็นเรื่องเป็นราว

ประสาน โอสถานนท์เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทเดอะบอลล์ พาร์ทเนอร์ชิพ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมโฆษณาธุรกิจเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากที่ช่วงนั้นมีกระแสคุกรุ่นที่จะให้คนโน้นคนนี้มาเป็น แต่เมื่อถึงวันเลือกตั้งจริง ประสานก็มาเดี่ยวแบบไม่มีคู่แข่ง

ว่ากันว่าที่ใคร ๆ อยากให้ประสานเป็นนายกก็เพราะประสานมีท่าทีประนีประนอม ถ้อยทีถ้อยอาศัย พอจะประสานระหว่างเอเยนซี่เล็ก-ใหญ่และเอเยนซี่เมืองนอก-ท้องถิ่นให้ไปด้วยกันได้

เรื่องแรกที่ประสานและสมาคมนำมาเป็นประเด็นในการศึกษาและหาทางยุติความสับสนที่เกิดขึ้นคือ อัตราส่วนลดของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เมื่อไทยรัฐปรับอัตราโฆษณาใหม่ในเดือนมกราคม 2532 โดยให้บริษัท ที.เอส.อี. กรุ๊ป ที่มีวิเชียร สงวนไทย คนเก่าคนแก่ประจำหน้าบันเทิงไทยรัฐเป็นหัวเรือใหญ่รับช่วงขายเนื้อที่โฆษณา และปรับค่าโฆษณาเพิ่มจากคอลัมน์นิ้วละ 550 บาท เป็น 660 บาท รวมถึงการปรับอัตราส่วนลดใหม่ นั่นคือ ผู้ที่โฆษณาไม่ถึงเดือนละ 500,000 บาทจะไม่มีส่วนลด หากลงโฆษณาเดือนละ 500,000 บาทขึ้นไปจะได้รับส่วนลดเพียง 5%

ตรงนี้เองที่เอเยนซี่เล็ก ๆ เดือดร้อน เพราะกำลังซื้อสื่อโฆษณาของเอเยนซี่เล็กย่อมไม่มากมายมหาศาลและต่อเนื่องยาวนานเหมือนเอเยนซี่ใหญ่ และทุกคนก็ต้องยอมรับว่าถนนสายโฆษณาทุกสายมุ่งสู่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ รายได้ของเอเยนซี่ก็ย่อมหดหายไปกว่าที่ควรจะเป็น รายได้นี้ไม่รวม SERVICE FEE ที่เอเยนซี่จะต้องได้จากลูกค้าอยู่แล้ว

เรื่องนี้ทั้งเจียม ลิ้มสดใส นายกฯ คนเก่าและประสานนายกฯ คนใหม่เจรจากับไทยรัฐอยู่หลายรอบ จนในที่สุดมาลงเอยที่ไทยรัฐยอมให้ส่วนลดแก่เอเยนซี่ 10% อย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเอเยนซี่ที่เป็นสมาชิกของสมาคม

อีกสองเรื่องที่ดูท่าจะลงเอยยากก็คือเรื่อง "สงครามอัตราส่วนลดค่าโฆษณา" ซึ่งมีตัวอย่างชัดเจนก็หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์เพื่อดึงโฆษณามาลงในหนังสือพิมพ์ให้มากเข้าไว้ หนังสือพิมพ์บางฉบับใช้ยุทธวิธีลดอัตราค่าโฆษณาเป็นไม้เด็ดในการเสนอเอเยนซี่ ซึ่งแน่นอนที่ยิ่งลดมากเอเยนซี่ก็ได้รับประโยชน์มาก บางฉบับให้กัน 30%-40% เรื่องของเรื่องก็เลยเป็นการต่อรอง บางเอเยนซี่ได้ลดมาก บางเจ้าได้ลดน้อย ลดคราวที่แล้วกับคราวนี้ไม่เหมือนกัน

ที่น่าเจ็บปวดที่สุดก็คือถ้าเจ้าของสินค้าติดต่อกับสื่อโฆษณาโดยตรง ก็ "อาจจะ" ได้รับส่วนลดมากกว่าผ่านเอเยนซี่ กลายเป็นว่าเอเยนซี่หน้าแตก

ทั้งราคาค่าโฆษณาและส่วนลดก็เลยหามาตรฐานกันไม่ได้ อัตราค่าโฆษณาก็สูงมากโดยใช่เหตุ เผื่อไว้ต่อรอง ส่วนลดก็ไม่คงเส้นคงวา เอเยนซี่เจ้าเล็ก ถือ ACCOUNT ไม่กี่ตัวนั่นแหละที่ได้ผลประโยชน์เทียบกับเอเยนซี่เจ้าใหญ่ไม่ได้

ซึ่งกรณีนี้แตกต่างกับวงการโฆษณาโทรทัศน์ วิทยุเป็นอย่างมาก แม้อัตราค่าโฆษณาจะขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละสถานี ชาวงเวลาและความนิยมต่อรายการของคนดูก็ตาม แต่อัตราส่วนลดก็มีมาตรฐานเท่ากันคือ 15% แม้ว่าจะเป็นการขายสถานีเอง หรือโบรกเกอร์ ทั้งคู่ก็ยึดมาตรฐานนี้ ไม่มีการตัดราคากัน เป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติและเป็นที่รู้กันดีในหมู่เอเยนซี่

เรื่องที่ตามมาเป็นผลพวงก็คือ เรื่องยอดจำนวนพิมพ์ของหนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ซึ่งทุกคนล้วนแต่ถือเป็นความลับสุดยอด มีก็แต่เพียงยอดพิมพ์ที่แจ้งให้เอเยนซี่รู้ ซึ่งใคร ๆ ก็ยอมรับว่าเป็นตัวเลขที่หามาตรฐานยากมาก และจะถือเป็นตัววัดความนิยมของผู้อ่านต่อสื่อตัวนั้นแทบจะไม่ได้เลย

ก็เลยมีสมาชิกสมาคมเสนอให้มีการรับรองจาก AUDIT BUREAU OF CIRCULATIONS LIMITED (BY GUARANTEE) หรือ ABC ซึ่งเป็นสถาบันจากประเทศอังกฤษ คิดค่าใช้จ่ายในการรับรองแสนห้าต่อฉบับ แต่ก็มีผู้แย้งว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน แถมจะไปยึดกับตัวเลขยอดพิมพ์มากนักก็ไม่ได้ เพราะเดี๋ยวจะไปหลงกับยอดพิมพ์เพื่อแจกฟรีเข้า ต้องดูที่ยอดขายแท้จริงต่างหาก

ทั้งสองเรื่องนำเข้าสู่การ "พูดคุย" ในระดับฝ่ายของสมาคม ซึ่งก็เป็นเพียงการพูดคุยจริง ๆ เพราะการหาจุดลงตัวที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันจากทุกฝ่ายเป็นเรื่องยาก

"ผมขอย้ำนะครับว่า การที่เราหยิบยกเรื่องนี้มาพูดคุยกันนั้น เราเพียงแต่ต้องการอะไรที่มันชัดเจนขึ้นในการตัดสินใจ โดยเฉพาะเรื่องรับรองจำนวนพิมพ์ เฉพาะเรื่องรับรองจำนวนพิมพ์มันเป็นเพียง TOOL OF THE TRADE ตัวหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เป็นหลักการที่มีเดียทุกคนจะถือเป็นจุดตัดสินใจในการเลือกซื้อสื่อ เพราะโดยแท้จริง เรายังมีอีกหลายประเด็นที่ประกอบการตัดสินใจ" ประสานกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ในคืนวันประชุมของฝ่ายสื่อโฆษณาสัมพันธ์ที่ดูแลเรื่องนี้

"เรื่องอัตราส่วนลดก็เหมือนกัน เราไม่ได้ไปบังคับใครว่าจะต้องให้เท่านั้นเท่านี้ เพียงแต่มันเป็นเสียงเรียกร้องจากสมาชิก เราก็นำมาพิจารณาถึงความเป็นไปได้ พวกสื่อต่าง ๆ จะลดกันอย่างไร จะแข่งกันแค่ไหนเป็นเรื่องของสื่อนั้น ผมเพียงแต่อยากให้มันอยู่ในเกมที่เหมาะสมเท่านั้น"

"ผมบอกกับสมาชิกสมาคมทุกคนว่า ไม่ว่าเอเยนซี่เมืองไทยหรือเอเยนซี่เมืองนอกว่า นโยบายของผมไม่ได้บังคับใคร ไม่แข็งกร้าวกับใคร ที่นี่เมืองไทย เราต้องใช้วิธีการแบบของเรา ค่อยพูดค่ายจากัน ผมชอบแบบนั้น" ประสานกล่าวอย่างค่อนข้างเกรงอกเกรงใจ

ทั้งสองเรื่องที่สมาคมนำมาพูดคุยกันนั้นอาจเป็นเรื่องที่ไม่จบในวันสองวันนี้ หรือเป็นเพียงที่นำมา "พูดคุย" เท่านั้นจริง ๆ แต่ก็มีข้อสังเกตอยู่คือในภาวะการแข่งขันที่สูงมากในทุกปริมณฑลของวงการโฆษณาเมืองไทย ตั้งแต่ประสิทธิภาพของสื่อ อัตราส่วนลดค่าโฆษณา การซื้อสื่อ ซื้อเวลา และจองพื้นที่ เพื่อที่จะให้การโฆษณานั้น ๆ ได้ผลมากที่สุด ทุกขั้นตอนสลับซับซ้อนและลักลั่นในมาตรฐาน

สิ่งดีที่สุดคือการหันหน้ามาคุยกันระหว่างเอเยนซี่และเจ้าของสื่ออย่างเป็นเรื่องเป็นราว ตั้งแต่เรื่องยอดจำนวนพิมพ์ที่แท้จริงเพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยในการตัดสินใจได้ เรื่องอัตราส่วนลดที่หนังสือพิมพ์หรือนิตยสารฉบับหนึ่ง ๆ น่าจะมีมาตรฐานในตัวเอง แม้จะไม่ต้องเหมือนกับทุกเล่มก็ได้ เช่น ถ้าจะลดก็ต้องลดเท่ากันทุกครั้งและกับทุกเอเยนซี่ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

แม้แต่เรื่องการติดต่อลูกค้าโดยตรงและให้ส่วนลดมากกว่าเอเยนซี่ ก็ควรมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ซึ่งทั้งหมดก็เป็นเรื่องที่สมาคมโฆษณาธุรกิจน่าจะเป็นตัวกลางในเรื่องเหล่านี้

บางทีด้วยลีลาถ้อยทีถ้อยอาศัยประนีประนอมของประสาน โอสถานนท์ เรื่องแบบนี้อาจชัดเจนขึ้นก็เป็นได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us