|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การดำเนินธุรกิจที่ยึดหลักความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility ) หรือมี CSR นั้น ถ้าจะให้ดีต้องมียุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
เมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีการโอกาสสนทนากับ ไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด ทำให้เห็นชัดถึงเหตุและปัจจัยการสร้างธุรกิจให้เป็นองค์กรที่ดีและเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งมีข้อมูลดังนี้
* ที่มาในการดำเนินกิจกรรมCSR
ไทยประกันชีวิตเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกที่ให้ความสำคัญกับหลักความรับผิดชอบต่อสังคม และดำเนินกิจกรรม CSR มาไม่ต่ำกว่า 30 ปี ขณะเดียวกันไม่มุ่งแสวงหากำไรสูงสุด (Maximize Profit) หากคำนึงถึงกำไรอย่างเหมาะสม พอเพียง (Optimize Profit) และจัดสรรกำไรส่วนหนึ่งคืนกลับสู่สังคม
ปัจจุบัน ได้กำหนดนโยบายด้าน CSRที่ชัดเจน โดยเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของบริษัทฯ คือ การมุ่งสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง และจัดตั้งส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมขึ้นเพื่อรับผิดชอบงานโดยตรง โดยมีการสนับสนุบงบประมาณ 25 ล้านบาท สำหรับปี 2552
* จัดทำแผนแม่บทยุทธศาสตร์CSR
ปี 2551 ไทยประกันชีวิตได้ประกาศวิสัยทัศน์การเป็นมากกว่าประกันชีวิต โดยมุ่งประโยชน์ของผู้เอาประกันและสังคมไทยเป็นสำคัญ มีการปรับกระบวนทัศน์ในการทำงานทุกด้าน
เพื่อให้การดำเนินกิจกรรม CSR ของบริษัทฯ มีทิศทางที่ชัดเจน รวมถึงสามารถสอดรับกับวิสัยทัศน์ “การเป็นมากกว่าประกันชีวิต” จึงได้ให้สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย เข้ามาจัดทำแผนแม่บทยุทธศาสตร์ความรับผิดชอบต่อสังคมให้กับบริษัทฯ มีการวิเคราะห์ SWOT คือ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการดำเนินกิจกรรม CSR ของบริษัทฯ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบว่ากิจกรรมใดควรพัฒนาหรือต่อยอดและควรดำเนินการไปในแนวทางอย่างไร หรือกิจกรรมใดควรปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้น
ทั้งนี้ยังมีการระดมความคิด ทั้งของผู้บริหารและพนักงาน เพื่อให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมและเป็นการกระตุ้นให้บุคลากรเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดแผนแม่บทยุทธศาสตร์CSR
เพื่อให้การสื่อสารยุทธศาสตร์มีความชัดเจนและเอื้อต่อการนำไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จสูงสุด จึงได้แบ่งเป็น 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. ยุทธศาสตร์ด้านการให้ (Giving Strategies)เกิดจากแนวคิดที่มุ่งสร้างสรรค์ประโยชน์ เพื่อพัฒนาคุณชีวิตที่ดีให้กับคน สะท้อนถึงการเป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน และตั้งอยู่บนพื้นฐานของความผูกพัน ในฐานะองค์กรที่รับใช้สังคมมายาวนานกว่า 67 ปี
ยุทธศาสตร์นี้ จะดำเนินการภายใต้โครงการ “หนึ่งคนให้...หลายคนรับ กับไทยประกันชีวิต” ซึ่งจัดกิจกรรมหลากหลาย เช่น หนึ่งคนให้...หลายคนรับ กับสภากาชาดไทย รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการให้ผ่านการบริจาคโลหิต อวัยวะ ดวงตา และเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต หรือ “ หนึ่งคนให้...หลายคนรับ เพื่อผู้พิการ” สนับสนุนโอกาสแก่ผู้พิการด้วยการฝึกอาชีพ ร่วมกับศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร หรือ “หนึ่งคนให้...หลายคนรับ ฮักน้องบ้านโฮมฮัก” เพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสต่างๆ เป็นต้น
2. ยุทธศาสตร์การดูแลชีวิตคนไทย (Caring Strategies) ตอบโจทย์การเป็นมากกว่าประกันชีวิต ด้วยความห่วงใย (Concern) ต่อคนไทยและสังคมไทย เห็นได้จากการพัฒนาบริการที่มากกว่า พื้นฐานการประกันชีวิต เป็นการเพิ่มมูลค่าบริการประกันชีวิตที่เอื้อประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้เอาประกัน เช่น
ไทยประกันชีวิตฮอตไลน์ เป็นบริการทางการแพทย์และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง ทุกที่ ทั่วโลก สำหรับผู้เอาประกันทุกราย โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และไม่บวกเพิ่มในเบี้ยประกัน
ไทยประกันชีวิตแคร์เซ็นเตอร์ ศูนย์ดูแลสิทธิประโยชน์ผู้เอาประกันที่สมบูรณ์แบบและแก้ข้อขัดข้อง รวมถึงให้บริการข้อมูลด้วย แก่ผู้เอาประกัน
ไทยประกันชีวิตอีซี่เพย์ ช่องทางการชำระเบี้ยประกันที่สะดวกและมากที่สุดในธุรกิจ ครอบคลุมถึง 11 ช่องทาง เช่น ชำระที่สาขา ชำระด้วยธนาณัติ ผ่านธนาคาร ผ่านโฟนแบงกิ้ง ผ่านอินเตอร์เน็ต ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส ผ่านระบบ M-Pay (โทรศัพท์มือถือ) เป็นต้น
ไทยประกันชีวิตเมดิแคร์ อำนวยความสะดวกและด้านค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน โดยผู้เอาประกันไม่ต้องสำรองจ่ายในโรงพยาบาลเครือข่ายกว่า 180 แห่ง
คลับไทยประกันชีวิต การสร้างสรรค์กิจกรรมอันเป็นบริการหลังการขายโดยมุ่งตอบสนองความต้องการตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้า
ประกันชีวิตทหาร ไทยประกันชีวิตเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกและแห่งเดียวที่รับประกันชีวิตทหาร 3 เหล่าทัพ ทั้งทหารบก ทหารเรือและทหารอากาศ โดยให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพจนถูกปลดประจำการ
ประกันชีวิตผู้พิการ เป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกและแห่งเดียวที่พัฒนากรมธรรม์เพื่อผู้พิการ อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม
ยุทธศาสตร์นี้ยังรวมถึงการบริหารธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และมีความรอบคอบและรัดกุม มีการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน การลงทุน โดยมีคณะกรรมการด้านการลงทุน และการบริหารความเสี่ยงโดยเฉพาะ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เอาประกัน รวมถึงมีมาตรฐานการจ่ายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม
3. ยุทธศาสตร์การเติมเต็มคุณค่าแห่งชีวิต (Fulfilling Strategies) เป็นการปลูกฝัง DNAการสร้างคุณค่าให้แก่ตนเองและผู้อื่นให้เกิดขึ้นกับบุคลากรไทยประกันชีวิต ทั้งการสร้างสรรค์การบริการใหม่ๆ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ในการทำงานอย่างมืออาชีพ ผ่านการจัดหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ เพื่อให้สามารถดูแลวางแผนชีวิตลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะเดียวกัน บุคลากรของไทยประกันชีวิต ยังต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ให้ความช่วยเหลือลูกค้าและคนในสังคมด้วยน้ำใจ มีการริเริ่มจัดตั้ง CSR Agent ซึ่งเป็นกลุ่ม “ พนักงานจิตอาสา” ที่เข้ามาร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม โดยจุดเริ่มต้นเป็นพนักงานสำนักงานใหญ่ 120 คน ต่อจากนั้นจะขยายไปสู่พนักงานสาขาและฝ่ายขาย เพื่อสร้างเครือข่ายให้มีอยู่ทั่วประเทศ
ยุทธศาสตร์การเติมเต็มคุณค่าของชีวิต มีพื้นฐานของการเพิ่มความสุข (Happiness) ทั้งจากการให้บริการที่ดีและการมีจิตอาสาไปช่วยสังคม เพื่อให้สังคมอยู่ดีมีสุขมากขึ้น ซึ่งบุคลากรฝ่ายขายของบริษัทฯเอง ต้องเป็นเหมือนตัวแทนส่งมอบความสุข อันหมายถึงหลักประกันที่มั่นคงแก่ลูกค้าได้อีกด้วย
ข้อคิด
ไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไทยประกันชีวิต ย้ำเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของบริษัทว่าต้องการ “เป็น 1 ในใจของคนไทยทุกคน” จึงมีการพัฒนา “คน”ให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และมีจริยธรรม ในการพัฒนา “ผลิตภัณฑ์” คือ กรมธรรม์ และการให้ “บริการ”ที่ให้ความคุ้มค่าและความ ประทับใจแก่ลูกค้า
ขณะเดียวกันนโยบายดำเนินธุรกิจความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ก็เป็นยุทธศาสตร์ องค์กรที่ทำมาอย่างต่อเนื่องถึงขนาดมุ่งมั่นที่ต้องการเป็นธุรกิจประกันชีวิตแห่งแรกที่จะได้รับการรับรองระดับมาตรฐานสากล ด้าน CSR คือ ISO 26000
บริษัทไทยประกันชีวิตมีจุดแข็งหลายประการที่มีคุณลักษณะที่เป็นแบบอย่างที่ดีของธุรกิจที่มี CSR
1. จุดยืนของผู้นำองค์กร เมื่อผู้บริหารสูงสุดมีความเชื่อมั่นเรื่องCSR และมีจุดยืนที่ไม่มุ่งทำกำไรสูงสุด และจะดำเนินถึงธุรกิจที่มีความสมดุลของกำไรที่เหมาะสม โดยไม่ละเลยการสร้างคุณค่าและเอื้ออาทรต่อคนในองค์กร ลูกค้า และสังคมทิศทางขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ทิศทางที่ดีและมีภาพลักษณ์ที่ดี
2. จุดยืนการทำธุรกิจ ที่เริ่มจากวิสัยทัศน์ที่ “การเป็นมากกว่าประกันชีวิต” จึงกำหนดพันธกิจในการดำเนินงานที่ตระหนักถึงคุณค่าของทุกชีวิตเมื่อธุรกิจประกันชีวิตเกี่ยวเนื่องกับการดูแลชีวิต การสะท้อนท่าที่ถึงความรัก ความห่วงใย ที่มีต่อครอบครัวและคนรอบข้าง
3. การดำเนินการอย่างมียุทธศาสตร์ เท่ากับมีแผนที่การดำเนินธุรกิจและกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างมีกรอบที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ธุรกิจที่ดี ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืน เพราะ “น่าคบค้า”
จะเห็นได้ว่า ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการให้ นั้น เป็นกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งอยู่นอกเหนือกระบวนการธุรกิจ ( CSR-After-Process ) ไทยประกันชีวิตได้สนับสนุนด้วยศักยภาพความชำนาญด้านการสื่อสาร การตลาด และผลิตสื่อโฆษณา เพื่อเร้าอารมณ์ความรู้สึกของสังคมให้ร่วมเสียสละสนับสนุนโครงการดีๆ ผ่าน เช่น การบริจาคอวัยวะ ดวงตา โลหิต โครงการ “หนึ่งคนให้....หลายคนรับกับสภากาชาดไทย”
หรือ “หนึ่งคนให้....หลายคนรับฮักน้อง บ้านโฮมฮัก” ช่วยเด็กมูลนิธิสุธาสินี น้อยอินทร์ เป็นต้น
ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่ 2 ดูแลชีวิตคนไทย เป็นการพัฒนาบริการ ตอบโจทย์ “การเป็นมากกว่าประกันชีวิต” ซึ่งสร้างมูลค่าบริการที่เพิ่มความพอใจแก่ลูกค้า รวมทั้งการเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งเดียวที่รับประกันชีวิตทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ ซึ่งนับเป็นความรับผิดชอบที่ดีต่อสังคมที่แสดงอยู่ในกระบวนการธุรกิจ (CSR-in-Process)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เติมเต็มคุณค่าแห่งชีวิต ที่ส่งเสริมให้พนักงานมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุณภาพการทำงาน ก็นับเป็นยุทธศาสตร์ส่วนที่อยู่ในกระบวนการธุรกิจ
นี่เป็นตัวอย่างของบริษัทที่มี CSR ……ที่เกี่ยวกับธุรกิจและการส่งเสริมสังคม
|
|
|
|
|