Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์27 เมษายน 2552
ถอดโมเดลสู่ความสำเร็จทีวีดาวเทียมควอลิตี้-ไดนามิก 2 ปัจจัยสร้างความโดดเด่น             
 


   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
โรส มีเดีย แอนด์ เอนเตอร์เทนเม้นท์, บจก.
Cable TV




* เมื่อทีวีดาวเทียมหอมฟุ้ง ดึงนักลงทุนโดดลงมาคับคั่ง สื่อบลูโอเชียน จึงขุ่นข้นเป็นเรดโอเชียนอย่างรวดเร็ว
* ความสำเร็จในการทำตลาดที่เดือดตั้งแต่วันแรกของการออนแอร์จะสร้างได้อย่างไร
* ตามรอย 2 โอเปอเรเตอร์ จีเอ็มเอ็ม ? โรส มีเดียฯ ชู 2 กลยุทธ์ คุณภาพ และการไม่หยุดนิ่ง สร้างความสำเร็จนำหน้าคู่แข่ง

โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม อาจเป็นที่รู้จักกันไม่นานของคนบางคน หรืออาจยังไม่เป็นที่รู้จักเลยของอีกหลายๆ คน แต่บนความไม่รู้ ไม่เข้าใจ โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมกลับมีการเติบโตอย่างรวดเร็วนับแต่เดือนมีนาคม 2551 ที่เกิดมีพระราชบัญญัติกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่อนุญาตให้ธุรกิจเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมสามารถหารายได้จากโฆษณาได้

ข้อมูลจากสมาคมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแห่งประเทศไทย เมื่อต้นปี 2552 เผยว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ อยู่ทั้งสิ้น 15 บริษัท เปิดให้บริการ 35 ช่อง และมีช่องที่ยังไม่สมัครเป็นสมาชิกอีก 7 ช่อง ขณะที่ผู้ประกอบการที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมฯ มีทั้งสิ้น 10 บริษัท เปิดให้บริการ 14 ช่อง รวมช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่ออกอากาศจากประเทศไทยทั้งหมด 56 ช่อง มากกว่าช่องฟรีทีวีถึงกว่า 9 เท่า ขณะที่จำนวนกลุ่มเป้าหมายของผู้ชมรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมยังห่างจากฟรีทีวีมาก

แต่ด้วยความแข็งแกร่งของฟรีทีวีในเมืองไทย ทำให้คนไทยไม่สนใจกับการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับชม ดังตัวอย่างของทรูวิชั่นส์ ที่ไม่สามารถเจาะตลาดฐานพีระมิด กลุ่มคนระดับ C ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศได้ เกือบทุกองค์กรที่โดดเข้ามาลงทุนในการเปิดช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม จึงต้องหันไปมองหาโอกาสในการสร้างรายได้จากการโฆษณา แทนที่จะเก็บค่าสมาชิกในการชม

จำนวนผู้เล่นที่อยู่ร่วมตลาดถึงกว่าครึ่งร้อยราย และความพยายามในการปกป้องเม็ดเงินรายได้ของตนจากช่องฟรีทีวี ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เข้ามาอยู่ในสงครามการตลาดสมรภูมิใหม่ๆ เช่นนี้ ผู้ที่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีโมเดลการตลาดที่เหนือกว่าที่จุดใด

แกรมมี่ชูโมเดลสร้างทีวีพรีเมียม ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค

องค์กรบันเทิงยักษ์ใหญ่ของประเทศไทย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ถือเป็นรายแรกๆ ที่ประกาศขยายธุรกิจมีเดียของตนเข้าสู่สื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด(มหาชน) ใช้เวลานับปีเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สื่อใหม่นี้ โดยดึงมืออาชีพด้านการบริหารสื่อชั้นแนวหน้า สุรชาติ ตั้งตระกูล มาเป็นผู้ดูแลภาพรวมของธุรกิจ

คุณไพบูลย์มีความสนใจในธุรกิจโทรทัศน์ดาวเทียมมานาน เพราะเป็นเทคโนโลยีที่เติบโตมากในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยติดขัดที่ตัวบทกฎหมาย จึงต้องใช้เวลาในช่วงแรกศึกษาตลาด ตรวจเช็กความเป็นไปได้ มองหาบิสซิเนส โมเดล รูปแบบต่างๆ ที่จะเหมาะสมกับการมีสถานี มีรายการเป็นของตนเองได้ 24 ชั่วโมง เมื่อกฎหมายเปิดช่องให้ เราก็สามารถเลือกโมเดลที่เหมาะสมกับโทรทัศน์ดาวเทียมของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้? สุรชาติ ตั้งตระกูล กรรมการผู้จัดการ หน่วยธุรกิจจีเอ็มเอ็ม บรอดแคสติ้ง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าว

โมเดลโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ประกอบด้วยสถานีโทรทัศน์ 4 ช่อง ในช่วงเฟสแรก (ตุลาคม 2551-เมษายน 2552) ประกอบด้วย ช่องเพลงลูกทุ่ง แฟนทีวี, ช่องวัยรุ่น แบงชาแนล, ช่องเพลงจากคลื่นวิทยุกรีนเวฟ กรีนชาแนล และช่องบันเทิง ละคร แอ๊กชาแนล ออกอากาศในระบบ Free to Air ผ่าน 3 ช่องทาง คือ เคเบิลทีวีทั่วประเทศ ที่มีสมาชิกอยู่ราว 2.5 ล้านครัวเรือน, จานดาวเทียมระบบ C Band ที่มีอยู่ราว 3.5 ล้านครัวเรือน และผู้ติดตั้งจานดาวเทียม DTV ในระบบ KU Band ราว 3 แสนครัวเรือน

สุรชาติ กล่าวว่า โมเดลธุรกิจโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่จีเอ็มเอ็ม บรอดแคสติ้ง เลือกต้องเป็นการให้บริการแบบ Free to Air เท่านั้น แม้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จะเป็นบริษัทในธุรกิจบันเทิงที่สร้างผลงานออกมาได้รับความนิยมมาตลอด 25 ปี มีผู้พร้อมจะให้การสนับสนุนหากการชมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของจีเอ็มเอ็มต้องเสียค่าบริการรายเดือน แต่ต้องหันมาดูคอนเทนต์ที่นำเสนอในแต่ละช่องด้วยว่า มีความเป็นเอ็กซ์คลูซีฟที่คุ้มค่า พอที่จะต้องจ่ายเงินหรือไม่ คอนเทนต์เพลง ที่มีอยู่ในช่องแฟนทีวี หรือแบงชาแนล สามารถหาดูได้ทั่วไปในฟรีทีวี แต่ความเป็นเอ็กซ์คลูซีฟของคอนเทนต์บนช่องทีวีดาวเทียม อาจเป็นการสร้างความแตกต่าง เป็น Special Edit หรือ Special Cut จะเป็นความพิเศษที่ไม่มากพอจะต้องเสียเงินซื้อ จึงเลือกที่จะใช้โมเดลดูฟรี แต่หันไปหารายได้จากการขายโฆษณา

ซึ่งผลงานของแต่ละสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ส่งผลสำเร็จออกมาอย่างน่าพอใจ ความนิยมในการชมของช่องเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ที่เอจีบี นีลเส็น ทำการสำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แฟนทีวี ใช้เวลาเพียง 4-5 เดือนในการออกอากาศ สามารถก้าวขึ้นเป็นช่องที่ได้รับความนิยมอันดับ 2 เป็นรองเพียงช่อง News1 จากเอเอสทีวี เพียงช่องเดียว ขณะที่รายได้จากการขายโฆษณาก็สามารถทำได้สูงถึง 40% ของเวลาโฆษณารวม ด้วยเวลาในการสร้างความรู้จักเพียง 6 เดือน

ถือเป็นการเติบโตที่น่าพอใจมาก จากประสบการณ์ในการบริหารสื่อทั้งวิทยุ และทีวีของผม นี่คือสื่อที่สร้างรายได้กลับคืนมาเร็วที่สุด หากเทียบกับสื่อวิทยุที่มีโครงสร้างคล้ายกัน คือมีการวางผังรายการเป็นฟอร์แมตสเตชั่นเหมือนกัน ออกอากาศ 24 ชั่วโมงเหมือนกัน มีช่วงเวลาไพรม์ไทม์ใกล้กัน มีต้นทุนการผลิตไม่ต่างกัน และมีราคาสปอตโฆษณาใกล้เคียงกัน โดยวิทยุใช้เวลาราว 6 เดือนกว่าจะเริ่มสร้างรายได้ แต่แฟนทีวี ผ่าน 6 เดือน มีโฆษณาเข้ามาแล้ว 40% ของเวลาโฆษณาทั้งหมด ขณะที่แบงชาแนล ผ่าน 2 เดือนแรก ขายโฆษณาไปได้แล้วกว่า 30%

แนวทางในการสร้างความสำเร็จให้กับช่องโทรทัศน์ดาวเทียมของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ สุรชาติ กล่าวว่า เกิดจากการคิดนอกกรอบจากผู้ประกอบการทั่วไป ที่จะตั้งกรอบของธุรกิจไว้ว่า ต้นทุนต้องถูก, คุณภาพระดับพอดูได้ และฉายวนซ้ำไปมา มองไปที่ Economy of Scale ในยุคที่โทรทัศน์ดาวเทียมหรือเคเบิลทีวียังไม่สามารถหาโฆษณาได้ แต่เมื่อเราสามารถหารายได้จากการโฆษณา Economy of Scale ของเราจึงเปลี่ยนไปสู่การสร้างงานที่มีคุณภาพมากเพียงพอที่จะดึงเม็ดเงินกลับเข้ามา โดยเป้าหมายการทำงานคือ คุณภาพในการนำเสนอต้องเทียบเท่าหรือมากกว่าคุณภาพของฟรีทีวี ผู้ชมจะไม่เห็นความแตกต่างในการดูรายการของจีเอ็มเอ็มฯ ในฟรีทีวี กับทีวีดาวเทียม

สุรชาติ กล่าวด้วยว่า แนวคิดนอกกรอบของการทำโทรทัศน์ดาวเทียมของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ไม่มีความจำเป็นต้องรีรัน ฉายซ้ำไปมาหลายรอบเหมือนนค่ายอื่น เพราะเชื่อว่าหากคอนเทนต์ใดมีคุณภาพ และเต็มอิ่ม ไม่จำเป็นต้องดูแค่ 1 ชั่วโมง ปล่อยไป 2-3 ชั่วโมงเลยก็ได้ บางคอนเทนต์มาแค่ครั้งเดียว เป็นไฮไลต์ ก็เพียงพอ เวลา 24 ชั่วโมงเป็นของตนเอง เปิดโอกาสให้จัดผัง ตอบโจทย์ได้ตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด มีกระบวนการ R&D ที่จะเป็นเครื่องมือชี้ทางว่า จะนำเสนอคอนเทนต์ใดกับคนกลุ่มไหน ผังรายการที่มีการปรับทุก 3 เดือน เพื่อให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ส่งฟีดแบ็กกลับมา ทำให้แฟนทีวีมีผู้ชมสูงขึ้น โดยไม่ใช่เพราะนี่คือช่องทีวีของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ แต่เป็นเพราะการทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้ชม เป็น Consumer Oriented อย่างแท้จริง

ในส่วนของจำนวนผู้เล่นในธุรกิจโทรทัศน์ดาวเทียมที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สุรชาติ กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องดีที่จะทำให้เกิดความตื่นตัวในอุตสาหกรรม และจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เองก็ต้องตื่นตัวตลอดเวลาในการพัฒนาคอนเทนต์ ในเรดโอเชียน ก็สามารถเกิดบลูโอเชียนได้ ด้วยการสร้างความแตกต่าง หามูลค่าเพิ่มเติมเข้าไป ลดต้นทุนจากฟรีทีวี แต่ไม่ลดคุณภาพ ใช้เครื่องมือที่มีอยู่ มาใส่หีบห่อใหม่ ใส่ครีเอทีฟลงไป สร้างเอ็กซ์คลูซีฟคอนเทนต์ ให้กับลูกค้าในสิ่งที่ฟรีทีวีให้ไม่ได้ เป็นช่องทางที่ทำให้สามารถเติบโตขึ้นได้อีก

เราเลือกอยู่ในโซนที่ไม่ต้องไปดัมป์ราคาแข่งขัน หรือต้องนำโฆษณาสินค้าขายตรงมาลงเยอะๆ แต่เราโฟกัสไปที่การสร้างแบรนด์ให้เป็นพรีเมียม ผู้ชมต้องได้รับชมในสิ่งที่ต้องการชม เพราะถ้าเป็นคอนเทนต์ที่ไม่ตอบโจทย์ โอกาสที่คนดูจะกดรีโมตเปลี่ยนช่องมีสูงมาก ดังนั้นการผลิตคอนเทนต์ต้องมีแวลูในทุกส่วน ตั้งแต่คอนเทนต์รายการ การโฆษณา จนถึงกิจกรรมการตลาดต่างๆ

สุรชาติ กล่าวว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการรายอื่นก็สามารถทำได้ แต่อาจต้องใช้เวลา และเหนื่อยมากหน่อย สิ่งที่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่มีอยู่ไม่ได้สร้างมาในเวลาเพียงวันสองวัน แต่เป็น 25 ปีที่สร้างคลังคอนเทนต์ที่ใหญ่มโหฬาร ถึงวันนี้ต้องทำการ Utilize ไปในช่องทางต่างๆ การเข้าสู่ธุรกิจโทรทัศน์ดาวเทียม ไม่ใช่เข้ามาเพื่อทำกำไรในวันเดียว แต่เป็นการต่อจิ๊กซอว์ธุรกิจของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อีกตัว ที่เชื่อว่า แม้จะเป็นองค์กรยักษ์ใหญ่ แต่หากนำเสนอไม่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ก็จะเป็นการสูญเปล่า

โรสฯ ชูการตลาดไดนามิก เดินหน้าสร้างสรรค์ไม่หยุด ทิ้งห่างคู่แข่ง

แก๊งการ์ตูน แชนแนล เป็นอีกหนึ่งช่องโทรทัศน์ดาวเทียมที่เปิดตัวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แต่เมื่อเริ่มออกอากาศ ความสำเร็จด้านการตลาดก็หลั่งไหลเข้ามา จนกล้าประกาศเป้าหมายรายได้ในปีแรกถึงกว่า 100 ล้านบาท จากสื่อทีวีพันธุ์ใหม่นี้

แก๊งการ์ตูน แชนแนล เป็นช่องโทรทัศน์ดาวเทียมที่นำเสนอคอนเทนต์การ์ตูน แอนิเมชั่น เปิดให้ชมฟรีผ่านทางจานดาวเทียมระบบ C Band และเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ ออกอากาศครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2551

จิรัฐ บวรวัฒนะ รองประธานสายงานพัฒนาธุรกิจ และการตลาด บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า นับตั้งแต่แก๊งการ์ตูน แชนแนลออกอากาศมาจนถึงปัจจุบัน โรส มีเดียฯ สามารถเห็นเทรนด์ และทิศทางรายได้ที่เข้ามาอย่างชัดเจน แนวคิดในการสร้างช่องให้เป็นสื่อทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ไม่ได้เป็นเพียงการขายสปอตโฆษณาเพียงอย่างเดียว หากแต่มีการจัดกิจกรรมควบคู่ตลอดเวลา สร้างความสำเร็จให้กับช่องแก๊งการ์ตูน แชนแนลอย่างรวดเร็ว

แก๊งการ์ตูน เกิดจากช่วงเวลานอนไพรม์ไทม์ ทาง ททบ.5 ทำให้เราคิดเหมือนรายการที่อยู่ในช่วงไพรม์ไทม์ไม่ได้ ขณะที่รายการในช่วงนั้นรอขายลูสสปอตเพียงอย่างเดียว ขณะที่เราไม่สามารถพึ่งพาเอเยนซีได้ จึงต้องผลักดันตนเอง คิดกิจกรรมควบคู่ไปกับการขายสปอต นำเสนอเครื่องมือการตลาด Through the Line พาลูกค้าออกไปพบกลุ่มเป้าหมายตัวจริง จัดแพกเกจวิ่งเข้าหาลูกค้าโดยตรงมากขึ้น ถึงวันนี้ลูกค้าชื่นชอบ เอเยนซีเริ่มเข้ามาหา

จิรัฐ กล่าวว่า แก๊งการ์ตูน แชนแนล ถือเป็นช่องโทรทัศน์ดาวเทียมที่จัดกิจกรรมมากที่สุด โดยเริ่มจาก Gang Cartoon Baby Gang Festival จับกลุ่มโรงเรียนอนุบาล จัดปีละ 3 ครั้ง ครั้งละ 7 วัน, กิจกรรม Gang Cartoon Festival จัดบนพื้นที่ 500 ตารางเมตร ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ปีละ 6 ครั้ง ครั้งละ 7 วัน, กิจกรรม Gang Cartoon School Visit ตระเวนจัดตามโรงเรียน 120 โรงเรียน มีการจัดประกวดนักพากย์การ์ตูนในระดับมหาวิทยาลัย รวมไปถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นแบบเทเลอร์เมดให้กับสปอนเซอร์ ที่ในปีนี้จองเข้ามาเต็ม โดยมีแบรนด์ใหญ่อาทิ โออิชิ เอไอเอส และกลุ่มอาหารเช้าเคลล็อกซ์ ที่ร่วมจัดกิจกรรม จ๋อ จิ๋ว แจ๋ว ประกวดความสามารถของเด็กระดับประถม และเปิดให้โหวตผ่านแก๊งการ์ตูน แชนแนล

ครบ 6 เดือนของการเปิดตัว จิรัฐ ก็ประกาศเดินหน้าสร้างสรรค์แก๊งการ์ตูน แชนแนล เฟส 2 อย่างต่อเนื่องทันที โดยเริ่มจากการเพิ่มคอนเทนต์การ์ตูนจากต่างประเทศเข้าสู่ผังรายการให้มากขึ้น โดยนอกจากเป็นการสร้างความหลากหลายให้กับผู้ชมแก๊งการ์ตูน แชนแนลแล้ว ยังเป็นการฉีกหนีจากคู่แข่งที่วันนี้เริ่มเกิดช่องการ์ตูนช่องใหม่อีกด้วย

อีกหนึ่งการนำเสนอที่แก๊งการ์ตูน แชนแนล พยายามสร้างให้แตกต่างจากช่องการ์ตูนยักษ์ใหญ่อย่าง การ์ตูน เน็ตเวิร์ก คือการมีพิธีกรในรายการ โดย 2 คนก่อนหน้า ล้วนเป็นดาราวัยรุ่นที่มีผลงานภาพยนตร์มาแล้ว ทั้ง พลอย-พงษ์รตี เจริญ จากเดอะ กิ๊ก 2 และแพท-อังศุมาลิน สิริภัทรศักดิ์เมธา จากปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น ในเฟสที่ 2 มีการเพิ่มพิธีกรคนที่ 3 ฐา-กิตติ์สภัส วรสุทธิ์ไรวรรณ จากบุญชู 9 จิรัฐตั้งเป้าว่า จะเพิ่มพิธีกรรายการให้ครบ 7 คน ทำหน้าที่ 7 วัน ทำหน้าที่ทั้งพิธีกรรายการ กิจกรรมภาคสนาม ทำหน้าที่เป็นเหมือนพรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์แก๊งการ์ตูน แชนแนลได้เป็นอย่างดี

ในส่วนของกิจกรรม Through the Line ในเฟสที่ 2 จะเริ่มมองในเรื่องการใส่ Marketing Mix เข้าไปในโปรดักส์ให้มากขึ้น นำเสนอรูปแบบกิจกรรมใหม่ๆ วิธีการนำเสนอที่สร้างสีสันให้มากขึ้น และแตกเข้าสู่กลุ่มที่หลากหลายขึ้นทั้งกิจกรรมเข้าโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถม จนถึงโรงเรียนมัธยม

ทิศทางการทำตลาดของผม ต้องเล่นทุกอย่างแบบกองโจร หน้าที่ในเวลานี้คือการสร้างแบรนด์แก๊งการ์ตูน แชนแนลให้แข็งแกร่ง หาช่องทางในการไทอินกับคนอื่นๆ กิจกรรมที่เกี่ยวกับเด็กเกือบทุกกิจกรรม จะต้องมีโลโก้แก๊งการ์ตูน แชนแนลเข้าไปเป็นผู้สนับสนุนด้านสื่อ เรารับโปรโมตกิจกรรมที่เกี่ยวกับเด็กทุกกิจกรรม ซึ่งทุกอย่างหยุดนิ่งไม่ได้ แม้เวลานี้เราจะเป็นอันดับ 1 แต่ก็ต้องทำงานด้วยความระมัดระวังว่าจะมีคนอื่นตามเข้ามาใกล้ ต้องคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

ด้านการแข่งขันในสื่อโทรทัศน์ดาวเทียมที่เริ่มมีผู้เล่นมากขึ้น จิรัฐ กล่าวว่า โรส มีเดีย เกิดมาจากเรดโอเชียน ตลาดวิดีโอที่มีการแข่งขันดุเดือด ก่อนมาพบบลูโอเชียนในตลาดคอนเทนต์การ์ตูน จึงเริ่มซื้อการ์ตูนจากทั่วโลก ส่งผลให้คู่แข่งไม่สามารถซื้อได้ เป็นการปกป้องตลาด ก่อนที่จะขยายมาหาบลูโอเชียนใหม่ๆ ในสื่อโทรทัศน์ดาวเทียม แม้ภาพที่เห็นของธุรกิจนี้บางคนอาจเห็นว่ากลายเป็นเรดโอเชียนที่มีผู้เล่นมากมายแล้ว ตนเห็นด้วย หากทุกคนคิดทำเหมือนกัน ทุกช่องมีแต่หนัง รายการวาไรตี้ ทอล์กโชว์เหมือนกัน ไม่เห็นความแตกต่าง แต่หากใครมีคอนเทนต์ที่แตกต่าง เหมือนเช่น โรส มีเดียฯ ทำช่องการ์ตูน ตลาดนี้ก็ยังคงเป็นบลูโอเชียน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us