|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
'แอกซ่าประกันภัย' เบนหัวเรือ หันเปิดสาขาแถบหัวเมืองท่องเที่ยวขยายตลาดลูกค้าต่างประเทศ พึ่งพากระแสอุตสาหกรรมท่องเที่ยวถูกปลุกให้ฟื้นคืนชีวิตด้วยน้ำมือภาครัฐ ทดแทนตัวเลขต่ออายุประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 กำลังเซถลาไร้ทิศทางเพราะยอดขายรถป้ายแดงตกวูบ ขณะที่กำไรจากพอร์ตลงทุน หมดสภาพไปตามสถานการณ์ตลาดหุ้นผันผวน จนยากเกินเยียวยา ส่วนแนวโน้มดอกเบี้ยที่นับวันจะสาละวันเตี้ยลง ก็ยิ่งซ้ำเติมผลตอบแทนการลงทุนนมากขึ้นไปอีก...
แนวโน้มจะดีหรือเลว สำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยนั้น ดูได้จากหลายทาง หลักๆ ก็คือ การคาดการณ์ทิศทางการเติบโตจากหน่วยงานต้นสังกัด หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันวินาศภัย หรือ คปภ. ที่ทำนายไว้ก่อนจะเกิด 'จลาจลสงกรานต์เลือด' ว่า ในปี 2552 อุตสาหกรรมประกันวินาศภัยน่าจะขยายตัวระดับ 5% ขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะให้แต้มแค่ 2%
อีกหนึ่งเหตุผลที่สามารถบ่งบอกอนาคตอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างชัดเจน ก็คือ พอร์ตลงทุน โดยเฉพาะในตลาดหุ้น ซึ่งเคยเป็นแหล่งทำรายได้งดงาม ให้ผลตอบแทนมหาศาล กับธุรกิจประกันภัยเกือบทุกแห่งในอดีต แต่บัดนี้กลับตกอยู่ในวัฏจักรดิ่งนรก....ยังไม่นับวิกฤตคนว่างงาน ที่กำลังลุกลามรุนแรงไปทั่วโลก ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่า ตัวเลขจะเลวร้ายมากกว่า 2.5 ล้านคน
หากพ่วงเข้ากับ ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ซึ่งเบี้ยต่ออายุเริ่มขาดหาย จากยอดขายรถป้ายแดงทรุดหนักด้วยแล้ว ผู้คนในแวดวงประกันภัยก็คงคาดเดาได้ไม่ยาก ว่าจะต้องกำหนดทิศทางเดินเกมการตลาดและกลยุทธ์ใหม่ๆ อย่างไร เพื่อให้ธุรกิจยังคงเดินหน้าต่อไปได้...
'เราเป็นแบรนด์ที่ฝรั่งต่างประเทศรู้จักดี ดังนั้นในปีนี้เราก็จะหันไปขยายสาขาตามจังหวัดท่องเที่ยวมากขึ้น'
กี่เดช อนันต์ศิริประภา กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.แอกซ่าประกันภัย เห็นสัญญาณแนวโน้มการถดถอยของอุตสาหกรรมนี้ ดังนั้นในปีนี้จึงเริ่มมองไปที่การเปิดสาขาใหม่ในจังหวัดและโซนท่องเที่ยว อย่าง เกาะสมุย เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยามากขึ้น เป็นการเกาะกระแสการท่องเที่ยว ที่ภาครัฐกำลังจะพลิกฟื้นคืนชีวิตเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในไทยมากขึ้น
'กลยุทธ์เราคือ จะหากินกับฝรั่งให้มากขึ้น จะเปิดสาขาในโซนท่องเที่ยว เช่น เกาะสมุย กว่า 60-70% มักจะมีรายได้จากเงินยูโร บางส่วนที่เป็นบาร์ คอฟฟี่ชอป ก็จะมีเจ้าของเป็นคนรัสเซียและเชคอยู่ไม่น้อย'
สาขาที่เพิ่งเปิดไปก่อนหน้านี้ ก็คือ หัวหิน ก่อนจะลงไปเปิดสาขาเกาะสมุยในเดือนเมษายนนี้ พร้อมกำหนดเป้าหมายเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว ประเภทวอล์กอิน คือ เดินเข้ามาติดต่อซื้อกรมธรรม์ด้วยตัวเอง...
'ธุรกิจส่งออกอาจจะสูงถึง 70% ของจีดีพี แต่ธุรกิจท่องเที่ยว ก็ปาเข้าไปถึง 9% ของจีดีพี คิดเป็นมูลค่าปีละกว่า 5 แสนล้านบาท ขณะที่การบริโภคภายในประเทศน้อยมาก'
กี่เดช บอกว่า ในปี 2552 เป้าหมายธุรกิจคงเปลี่ยนไป โดยเฉพาะผลกระทบจากยอดขายรถยนต์ป้ายแดงที่ลดลงมากกว่า 20% จากเคยขายได้ 7 แสนคันในปี 2550 ก็คาดกันว่าจะร่วงลงมาไม่ถึง 5 แสนคัน ขณะที่ปี 2551 มียอดขายรถใหม่ราว 613,000 คัน
ยอดขายรถใหม่ที่ทรุดหนัก จึงเชื่อมมาถึง เบี้ยประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 ที่จะต้องถอยกรูดลงไปด้วย โดยเฉพาะเบี้ยต่ออายุประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 กำลังจะหายไป เพราะเจ้าของรถเริ่มหันมาทำประกันภัยประเภท 2 ประเภท 3 ควบ พ.ร.บ. ประเภท 3 พลัส และประเภท 5 แทน เพราะเบี้ยต่ำกว่า
'การแข่งขันก็คงดุเดือดมากขึ้น เพราะตัวเลขรถใหม่ไม่มี คนไม่ซื้อรถใหม่ ก็จะไม่มีคนทำประกันภัยด้วย'
สำหรับ แอกซ่าประกันภัย มีสัดส่วนพอร์ตประกันภัยรถยนต์ถึง 54% ประกันเบ็ดเตล็ด 31% ประกันภัยขนส่งทางทะเล 8% ประกันอัคคีภัย 7%
ส่วนใหญ่สัดส่วนกว่า 30% เป็นเบี้ยส่งมาจาก ช่องทางโบรกเกอร์ 26% มาจากดีลเลอร์ค้ารถ 19% มาจากตัวแทน 9% มาจากแบงก์แอสชัวรันส์ 7% มาจากงานข้ามชาติ 3% มาจากไดเรกต์มาร์เกตติ้ง รวมวอล์กอิน และช่องทางอื่นอีก 6%
กี่เดช บอกอีกว่า สำคัญกว่านั้นก็คือ พอร์ตลงทุนหุ้นของอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยทั้ง 74 บริษัท มูลค่าร่วม 1 แสนกว่าล้าน คิดเป็น 30% ซึ่งเคยเป็นเสาหลัก สร้างผลตอบแทนงดงามในแต่ละปี กำลังตกอยู่ในอาการ 'อัมพาต' เพราะผลพวงจากตลาดหุ้นดิ่งนรก
รายงานจากตลาดหลักทรัพย์ บอกว่า บริษัทขาดทุนจากพอร์ตลงทุนในหุ้นถึง 15,000 ล้านบาท แต่ก็ยังไม่สิ้นสุดลงเพียงแค่นี้
'ในปี 2551 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ติดลบถึง 50% ร่วงจาก 800 จุด มาที่ต่ำกว่า 400 จุด อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม แอกซ่าฯ เราก็ลงทุนในตลาดหุ้นเพียง15% ของพอร์ต บาดเจ็บเหมือนกัน แต่ยังน้อยมาก เมื่อเทียบกับบริษัทใหญ่ที่มีพอร์ตลงทุนเม็ดเงินมหาศาล'
กี่เดช บอกต่อว่า นโยบายการเงินของรัฐบาลทั่วโลก ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้แรัฐบาลทุกประเภทต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทประกันภัยต้องลดน้อยลง จนหลายบริษัทต้องหันมาทำรายได้จากการรับประกันภัยแทน
จุดนี้เองที่ทำให้ทุกบริษัทต้องหันมาบริหารความเสี่ยงจากการรับประกันภัยเข้มงวดขึ้น บางบริษัทก็ปรับเบี้ยในสินค้าบางประเภท ที่มีอัตราความเสียหายค่อนข้างสูง
ผลประกอบการในปี 2551 แอกซ่าประกันภัย มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 1,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% เป็นกำไรจากการรับประกันภัย 79% ที่เหลือเป็นกำไรจากการลงทุน รวมเป็นกำไรสุทธิ 55 ล้านบาท (ไม่รวมกำไรจากการลงทุนในตลาดหุ้น)
ในปี 2552 กำหนดเป้าหมาย เบี้ยรับรวม 1,900 ล้านบาท กำไรสุทธิ 50 ล้านบาท กำไรจากการลงทุน 34 ล้านบาท และกำไรจากการรับประกันภัย 38 ล้านบาท
ขณะที่แอกซ่าประกันภัย ในรอบ 5 ปีที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย มีการเติบโตเฉลี่ย 24% ในรอบ 5 ปี สำหรับตลาดขยายตัว 19% ขณะที่ทั้งอุตสาหกรรมประกันวินาศภัย มีเบี้ยรับรวมอยู่ที่ 1.6 แสนล้านบาท ขยายตัว 1% เศษ
กี่เดช ให้ภาพการเติบโตของธุรกิจประกันภัยในประเทศ ว่า บริษัทท้องถิ่นมีอัตราการเติบโต 16% บริษัทต่างประเทศขยายตัว 12% บริษัทใหญ่ระดับบิ๊กทรี ขยายตัวร่วม 18% ขณะที่ธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์เติบโตถึง 42% ธุรกิจประกันสุขภาพเติบโตถึง 58%
โดยคาดว่า ภายใน 3-5 ปีข้างหน้าธุรกิจประกันสุขภาพจะเติบโตมากขึ้น เพราะผู้คนหันมาซื้อมากขึ้น ควบคู่ไปกับธุรกิจเทเลมาร์เกตติ้ง ก็มีทิศทางเติบโตอย่างมากในอนาคต...
|
|
 |
|
|