แบงก์รัฐได้ที เร่งเจรจาลูกหนี้ มัดมือชกหวังยึดทรัพย์ชำระหนี้ รอรัฐรับช่วงสิน
ทรัพย์เน่าต่อ หลัง "อุ๋ย" ประกาศ นโยบายโอนเอ็นพีเอออกจากระบบ ด้านแบงก์เอกชนไม่ตื่นตาม
คุยบริหารสินทรัพย์เน่าได้ดีกว่า เพราะเศรษฐกิจไทยขยายตัว ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน
15% ทำให้ขายสิน ทรัพย์เน่าได้เกินเป้า ไม่จำเป็นต้อง โอนให้รัฐบริหาร ด้านบสก.พร้อม
รับโอนสินทรัพย์เน่าในระบบ ตั้งเป้าปีที่ 6 ขายหนี้ที่รับซื้อจาก PAM ได้ 66% จากยอดหนี้ทั้งหมด
คาด ครบ 12 ปี จะฟันกำไรจากการดำ เนินงาน 2,731 ล้านบาท
นโยบาย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องการจะแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล-หนี้เน่า)
ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยให้หมด ก่อนที่เขาจะหลุดจากตำแหน่ง เพื่อจะให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินธุรกิจได้ปล่อยสินเชื่อได้ปกติ
ส่งผลเศรษฐกิจไทยไม่สะดุด ไม่มีภาระหนี้เน่าอีก เมื่อแยกเอ็นพีแอลออกจากระบบนาคารพาณิชย์ได้ระยะหนึ่ง
ปรากฏว่า ยังมีลูกหนี้เน่าไม่สามารถเจรจาปรับหนี้ได้ มีการตีโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้เข้ามาอยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์
ธปท. จึงมีนโยบายจะโอนทรัพย์สินเน่า ที่เกิดจากหนี้เน่าเหล่านี้ออก จากระบบธนาคารพาณิชย์อีกครึ่ง
ขณะนี้กำลัง อยู่ในขั้นตอนศึกษาในรายละเอียด
เร่งเจรจาโอนชำระหนี้
นายวิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย (KTB) กล่าวว่า นโยบาย ธปท.
ถือว่าเป็นเรื่องดีที่จะได้ตัดปัญหาหนี้-สินทรัพย์เน่า ออกจากระบบธนาคารพาณิชย์
เนื่องจากขณะนี้ เอ็นพีแอลที่เหลือส่วนใหญ่แก้ไขยากมาก ซึ่งทำให้เป็นภาระธนาคารพาณิชย์
แทนที่จะดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ เมื่อมีนโยบายจะโอนสินทรัพย์เน่าออกจากระบบ จะส่งผลเร่งเจรจาเพื่อขอชำระหนี้ของลูกหนี้มากขึ้น
ตัวเลขหนี้เน่าเริ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เพราะขณะนี้ ขั้นตอนแก้ไขปัญหาเอ็นพีแอล
อยู่ในขั้นสุดท้าย ซึ่งลูกหนี้กลุ่มใหญ่จะอยู่ในกระบวนการศาล เมื่อสิ้นสุดกระบวนการศาล
จะหนีไม่พ้นโอนหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือทรัพย์สินลูกหนี้ ชำระหนี้คืนธนาคาร นอกจากนี้
ยังมีลูกหนี้บางรายที่ต้องการจะตัดปัญหาหนี้สินและดอกเบี้ย จึงขอเจรจากับธนาคาร
เพื่อตีโอนสินทรัพย์ชำระหนี้เพื่อจะเริ่มต้นดำเนินธุรกิจใหม่
"ภาวะเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับที่ต่ำ
จึงเป็นแรง จูงใจให้เกิดการลงทุน ดังนั้น ลูกหนี้ต้องการที่จะเคลียร์ปัญหาหนี้เก่าให้หมด
เพื่อกลับไปลง ทุนทำธุรกิจใหม่ วิธีที่ดีที่สุดของลูกหนี้ คือการโอนทรัพย์ชำระหนี้"
กรรมการผู้จัดการแบงก์กรุงไทยกล่าว
คาดสิ้นปีสินทรัพย์เน่าเพิ่มเท่าตัว
สำหรับธนาคารกรุงไทย ขณะนี้หนี้เน่าในธนาคารประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่อง
โดยธนาคารจะมีหนังสือแจ้งลูกหนี้ เพื่อขอให้มาเจรจาและยื่นข้อเสนอตีโอนชำระหนี้
คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ ธนาคารจะมีเอ็นพีเอเพิ่มเป็น 40,000 ล้านบาท
ด้านแหล่งข่าวธนาคารนครหลวงไทยกล่าวว่า ธนาคารเตรียมจะเร่งเจรจากับลูกหนี้เน่า
นโยบายทางการต้องการจะให้เอ็นพีแอลลดลง และเจรจากับลูกหนี้ให้สำเร็จหมดภายในสิ้นปีนี้
ดังนั้น ต้องมีลูกหนี้บางรายที่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ หรือไม่สามารถเจรจาได้
ธนาคาร จำเป็นต้องนำเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องตามกฎ หมาย เพื่อให้ปัญหาหนี้เน่าจบโดยเร็ว
ส่วนนโยบายที่จะโอนสินทรัพย์เน่าออกจากระบบธนาคารพาณิชย์ จะเป็นนโยบายต่อเนื่องจากการแก้ไขเอ็นพีแอล
ซึ่งเร่งเจรจาแก้ไขหนี้เน่า ต้องมีลูกหนี้ส่วนหนึ่งโอนสินทรัพย์ชำระหนี้ ดังนั้น
การดึงเอ็นพีเอออกระบบ ช่วยลดภาระธนาคาร รวมทั้งยังรับช่วงต่อจากการแก้ไขหนี้เน่าได้
ซึ่งธนาคารจะเร่งเจรจากับลูกหนี้ เพื่อหาข้อสรุปโดยเร็ว
แบงก์เอกชนอ้างเศรษฐกิจดีบริหารเองกำไรกว่า
แหล่งข่าวธนาคารเอกชนรายหนึ่งกล่าวว่า นโยบาย ธปท.โอนสินทรัพย์เน่าออกจากระบบธนาคารพาณิชย์
คาดว่าเป็นนโยบายต่อเนื่อง จากการแก้ไขปัญหาหนี้เน่า ซึ่ง 3 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นนโยบายที่เหมาะสมมาก
เนื่องจาก เอ็นพีเอที่อยู่ในระบบไม่สามารถขายได้เลย โดยเฉพาะทรัพย์สินที่ดินแปลงใหญ่ๆ
หรือสิ่งก่อ สร้างที่เป็นสำนักงาน เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศ ขณะนั้นยังไม่ฟื้น อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ
ทำให้ไม่มีใครกล้าลงทุน
แต่ช่วง 2 ปีนี้ เศรษฐกิจเริ่มขยายตัวต่อเนื่องและชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งดอกเบี้ยขาลง
เชื่อว่าใกล้ถึงระดับต่ำสุดแล้ว รวมทั้งทรัพย์สินเน่า ที่อยู่ในระบบธนาคาร ราคาถูก
ทำให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่าที่อยู่อาศัย เป็นซื้อบ้าน เป็นของตัวเอง ซึ่งช่วงปี
2 ปีที่ผ่านมา ทรัพย์สิน รายย่อย เช่น ทาวน์เฮาส์ บ้าน ขายดีมาก
ส่วนปลายปีที่ผ่านมาและครึ่งแรกปีนี้ ที่ดิน แปลงใหญ่ เริ่มกลับเป็นที่สนใจของนักลงทุนมาก
ขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นชัดเจน ดอกเบี้ยถูกลง จึงเป็นแรงจูงใจต่อการลงทุน
หรือเริ่มต้นทำธุรกิจ ทำให้นักลงทุนเริ่มสนใจติดต่อขอ ซื้อทรัพย์สินเน่าเพื่อการลงทุนจากธนาคารจำนวนมาก
คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ ทรัพย์สินที่เป็น ที่ดินแปลงใหญ่ระบบธนาคารจะขายได้เพิ่มขึ้นมาก
"หลังจากเศรษฐกิจดีขึ้น ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวชัดเจน ส่งผลให้เกิดการลงทุน
นักลงทุนสนใจขอซื้อที่ดินเปล่าหรือสิ่งก่อ สร้างแปลงใหญ่ เพื่อการลงทุน ส่งผลให้ราคาของอสังหาฯ
ปรับสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปีนี้ถึงปัจจุบัน 15% ทำให้การขายเอ็นพีเอของแบงก์เริ่มคึกคักมากขึ้น"
แหล่งข่าวกล่าว
บสก.ตั้งเป้า 6 ปีขายหนี้ที่รับซื้อ PAM 66%
ทางด้านนายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์
(บสก.) กล่าวว่าจากที่ บสก.รับซื้อหนี้จากบริษัทบริหารสินทรัพย์พญาไท (PAM) บริษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารทหารไทย โดยมูลค่าหนี้ทั้งหมด 46,000 ล้านบาท ราคาลดเหลือ 55% หรือ 25,998 ล้านบาท
บสก.จะต้องจ่ายเป็นตั๋วเงินล่วงหน้า ทั้งหมดภายใน 12 ปี
บสก.กำหนดแผนดำเนินงาน ตั้งเป้าปีที่ 6 จะสามารถเรียกเก็บหนี้ หรือขายออก ได้ประมาณ
66% จากยอดหนี้ทั้งหมด ปีที่ 12 คาดว่าบสก. จะกำไรจากการดำเนินงานครั้งนี้ 2,731
ล้านบาท หรือ 11% ของมูลหนี้ที่ซื้อ โดยกำไรจากการบริหาร จะต้องแบ่งสัดส่วน 50%
ระหว่าง บสก.และธนาคารทหารไทย
หนี้ดังกล่าว แบ่งเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มูลค่าหนี้ตามบัญชี
41,458 ล้านบาท กำหนดสัญญาบริหารหนี้ 12 ปี โดย 6 ปีแรก จะปลอดภาระดอกเบี้ย 6
ปีหลัง คิดดอกเบี้ย 0.62% คิดจากดอกเบี้ยเงินฝากทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ เงินฝากออมทรัพย์
ประจำ และกระแสรายวัน โดยใช้เกณฑ์ดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ บสก. ตั้งเป้าเรียกเก็บไว้ที่
70% จากเกณฑ์ ทางบัญชี หรือ 29,020.60 ล้านบาท
ส่วนทรัพย์สินเน่า 6,800 ล้านบาท ตั้งเป้ายอดขายประมาณ 70% หรือประมาณ 4,760
ล้านบาท ป็นทรัพย์เกรด A-B ถึง 50% ซึ่งทรัพย์เกรด A เป็นทรัพย์คุณภาพดี อยู่ในทำเลศักยภาพสูง
ติดถนนเมนหลัก สาธารณูปโภคพร้อม มีความพร้อมในการอยู่อาศัย หรือลงทุน ตั้งอยู่
กรุงเทพและปริมณฑล คาดว่าจะขายได้ภายใน 1 ปี ด้านทรัพย์เกรด B จะเป็นทรัพย์คุณภาพรองลงมา
แต่ยังคงมีระบบสาธารณูปโภคพร้อม คาดว่าจะขายได้ภายใน 3 ปี
พร้อมรับสินทรัพย์เน่าในระบบ
นายบรรยงกล่าวว่าการที่ บสก.รับซื้อหนี้จากสถาบันการเงินอื่นๆบริหาร เนื่องจากประเทศ
กำลังเผชิญปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และเอ็นพีเอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ทำให้การ ปล่อยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไม่เต็มกำลัง วัตถุประสงค์การดำเนินงานของ
บสก.ในฐานะองค์กรรัฐ เพื่อแก้ไขหนี้ด้อยคุณภาพ ซึ่งขณะนี้ บสก.มีกำลังรับบริหารหนี้ได้ถึง
200,000 ล้าน บาท
ที่ผ่านมา บสก.ติดต่อเพื่อจะรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพธนาคารอาคารสงเคราะห์ประมาณ
80,000 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ มีปัญหาว่า บรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
(บตท.) ต้องการจะซื้อแต่หนี้ดี ไม่ยอมรับซื้อหนี้เสีย ขณะที่ ธอส.ต้องการจะขายคละกัน
สินทรัพย์เน่าระบบธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด ที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรต้องการให้โอนมา บบส.
รัฐ นายบรรยงกล่าวว่า บสก.ในฐานะ บบส.รัฐ ซึ่งกอง ทุนฟื้นฟูฯถือหุ้น 100% เชื่อมั่นว่า
บสก.มีศักยภาพเพียงพอจะรับหน้าที่นี้ เนื่องจากพร้อมทั้งด้านบุคลากร และทางกฎหมาย
เพราะรับโอนหนี้เน่าได้โดยไม่ต้องแก้กฎหมาย แต่ยังมีข้อจำกัด ที่เป็นข้อด้อย บสก.
เรื่องเสียภาษีค่าธรรมเนียมการรับและโอน ขณะที่ บบส.อื่นไม่ต้องเสีย ดังนั้น อาจต้องหาโอกาสหารือกับกระทรวงการคลัง
ให้แก้ประกาศกรมสรรพากร เพื่อขอสิทธิประโยชน์ดังกล่าว หากต้องรับหน้าที่ดังกล่าว
"เรื่องเอ็นพีเอทั้งระบบ ทราบว่าขณะนี้อยู่ ในขั้นที่ทีมงานกำลังหาสูตรคำนวณ
เพื่อหาวิธีการ และดูว่า ใครควรจะตกลงกับใคร ราคาซื้อขายควรใช้หลักเกณฑ์ใด ซึ่งในส่วนของเรา
มีความ พร้อมมานานแล้ว เราสามารถเข้าไปเจรจาก่อน ได้ เพราะไม่มีข้อจำกัดใดๆ ห้ามไว้"
นายบรรยง กล่าว