บัตรกรุงไทยแจงเลื่อน เปิดสาขาต่างจังหวัด เหตุปริมาณลูกค้าน้อย พร้อมร่วมมือกับ
3 แบงก์ร่วมทำเครื่องรูดบัตร เผยปลายปีนี้เปิดตัวมินิการ์ด หวังกวาดยอดเพิ่มอีกแสนใบ
เปลี่ยนพฤติกรรมลูกค้าใช้บัตรแทนเงิน สดมากขึ้น ไม่ห่วงคู่แข่งตามทัน คุยได้ เปรียบทุกด้าน
เตรียมร่วมแจมเค้ก สินเชื่อบุคคล 9 ต.ค.ย้ำพร้อมทุกด้าน แถมลูกเล่นดอกเบี้ย 3 อัตรา
ตามความ เสี่ยงลูกค้า ตั้งเป้าช่วงแรกเดือนละหมื่นราย
นายนิวัตต์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
(KTC) เปิดเผยว่าแผน ขยายสาขาบูติก (Boutique Branch) ในต่างจังหวัดคงไม่สามารถดำเนินการ
ทันตามเวลาที่กำหนด เนื่องจากปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะรูปแบบดำเนินชีวิตคนต่างจังหวัดนิยม
ทำธุรกรรมการเงินที่ธนาคารมากกว่า ปริมาณผู้ถือ-ใช้บัตรน้อยกว่าในกรุงเทพฯและกระจุกตัวตามตัวเมือง
การขยายสาขาต่างจังหวัดจึงต้องชะลอไว้ก่อน
ปริมาณใช้บัตรที่น้อยทำให้บริษัทต้องหาวิธี กระตุ้นเกิดการใช้บัตรมากขึ้น โดยร่วมมือกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ไทยพาณิชย์ และกสิกรไทย ศึกษาการทำระบบที่จะใช้เครื่องรูดบัตรเครื่องเดียวกันรูปแบบ
Pool คล้ายบัตร ATM เพื่อลดต้นทุนและขยายร้านค้าที่รับบัตรมากขึ้น ซึ่งธนาคารอื่นก็สนใจจะร่วมใช้ระบบนี้ด้วย
อนาคตเครื่องรูดบัตร 70-80% ที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบันต้องเปลี่ยน เพราะ Visa และ
Master Card ผู้ออกบัตรจากแดนมะกันจะเริ่ม เปลี่ยนบัตรให้มีชิปอยู่ภายในบัตร เนื่องจากทั่วโลกเปลี่ยนใช้มากแล้ว
และระบบชิปก็เก็บข้อมูล ได้ปริมาณมากกว่าแบบแถบแม่เหล็ก จึงต้องกระตุ้นให้ใช้จ่ายผ่านบัตรแทนเงินสดมากขึ้น
รวมทั้งต้องพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็น การใช้บัตรประจำวัน (Everyday on Card)
ให้ ได้มากที่สุด
นายนิวัตต์กล่าวว่ายอดใช้จ่ายผ่านบัตร KTC ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จำนวนลดลง จาก
5,000 บาทต่อบัตร มิ.ย. 2545 เหลือ 4,200 บาท มิ.ย. ปีนี้ แต่จำนวนบัตรเครดิต KTC
เพิ่มขึ้นช่วงเดียว กันจาก 1.9 แสนบัตรเป็น 7.2 แสนบัตร ทำให้ปริมาณใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้นด้วย
คาดหนี้เน่าบัตรเพิ่มปลายปี
ปริมาณใช้จ่ายปัจจุบัน 70-80% จากจำนวนบัตรทั้งหมด กำไรสุทธิไตรมาส 1 ปีนี้
52 ล้านบาท ไตรมาส 2 ที่ 149 ล้านบาท คาดว่าไตรมาส 3-4 กำไรสุทธิไม่พุ่งสูงเหมือนไตรมาส
2 เนื่องจากปริมาณบัตรเริ่มทรงตัว เอ็นพีแอลตั้งเป้าไม่เกิน 2.5% ปัจจุบัน 2%
แต่คาดว่าปลายปีน่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ช่วงไตรมาส 3-4 ปีนี้ ตั้งเป้าขยายยอดบัตร เพิ่มอีก 1 แสนใบ ส่งผลสิ้นปีนี้ KTC
จะมียอดบัตรรวม 8.2 แสนใบ ยอดที่เพิ่มขึ้นจะมาจากการออกบัตรมินิ เป็นบัตรแบ่งกลุ่มลูกค้าตาม
Life Style ซึ่งจะออกคู่กับบัตรขนาดปกติปลายปีนี้ จะออกบัตรใหม่ 4-5 บัตร อาจเป็นบัตรสำหรับชอปปิ้งที่ให้สิทธิประโยชน์ผู้ถือบัตรเป็นส่วนลดร้านค้าต่างๆ
Auto card จะแบ่งตามพันธมิตรค่ายรถต่างๆ ขณะนี้ 3-4 ค่ายตอบรับแล้ว และกำลังเจรจาเพิ่มเติม
Family card สำหรับครอบครัวแยกประเภททั้งก่อนแต่งงาน หลังแต่งงาน กวดวิชา โรงเรียนดนตรี
Pet card สำหรับคนรักสัตว์ Health card บัตรเพื่อสุขภาพ ครอบคลุมถึงโรงพยาบาลที่เป็นพันธมิตร
ประกันชีวิต สถานที่ ออกกำลังกาย เป็นต้น ปีหน้าคาดว่าจะออกบัตร ใหม่ประมาณ 4-5
บัตร การแบ่งกลุ่มลูกค้าเช่นนี้ จะช่วยกระตุ้นผู้ถือบัตรที่ไม่มีการเคลื่อนไหว
ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นบ้างตาม Life Style บัตรนั้นๆ
แบงก์ต่างชาติคู่แข่งตัวจริง
นายนิวัตต์กล่าวถึงการแข่งขันตลาดบัตรเครดิตว่า ช่วงนี้การแข่งขันไม่ค่อยรุนแรงเหมือน
ช่วงปีที่แล้วคู่แข่งจริงๆ ของ KTC คือธนาคารต่างชาติ ธนาคารไทยไม่ถนัดเรื่องนี้
การที่ธนาคาร กรุงไทยตั้ง KTC ทำให้คล่องตัวดำเนินการมาก ขึ้น เพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดมากขึ้น
ส่วน สถาบันที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank) ที่แข่งขันบัตรเครดิต จริงๆ มีเพียง 2-3
เจ้า ซึ่งเป็นบริษัท ที่มีบริษัทแม่ในต่างประเทศ
"สภาพตอนนี้ KTC กำลังได้เปรียบคู่แข่ง เนื่องจากมีช่องทางขยายฐานลูกค้าผ่านทางสาขาของธนาคารกรุงไทย
และฟรีค่าธรรมเนียมรายปี โดยไม่มีเงื่อนไข จึงทำให้ลูกค้าเข้าสู่ระบบมาก ต่างจากธนาคารต่างชาติ
ที่หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเงื่อนไขดอกเบี้ยไม่เกิน 18% (ต่อปี) ก็ทำให้รายได้หายไปมาก
เพราะรายได้หลักของกลุ่มนี้มาจากดอกเบี้ยที่สูงถึง 80%" นาย นิวัตต์กล่าว
ค่าใช้จ่ายดำเนินการของ KTC ปีนี้รวม 1.9 พันล้านบาท ใช้เป็นงบการตลาด 400 ล้านบาท
ซึ่งน่าจะส่งผลค่าเฉลี่ยใช้จ่ายต่อบัตรสูงขึ้น อัตราเติบโตบัตร Visa ในไทย ยอดสุทธิเมื่อลบ
จำนวนบัตร KTC เหลือเพียง 50% แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำธุรกิจนี้
เตรียมแย่งเค้กสินเชื่อบุคคล ต.ค.
นายนิวัตต์เปิดเผยถึงการดำเนินธุรกิจสินเชื่อบุคคล ว่า KTC จะเปิดสินเชื่อบุคคลวันที่
9 ต.ค.นี้ แต่จะไม่เจาะตลาดกลุ่มเดียวกับ ที่ธนาคารกรุงไทย ทำอยู่คือกลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
แต่จะเน้นกลุ่มบุคคลทั่วไป เพื่อสร้าง ฐานลูกค้าที่แข็งแรงสามารถคาดหวังกำไรได้
โดยเริ่มทำตลาดในกรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อน
รายได้ขั้นต่ำผู้ กู้ 7,500 บาทต่อเดือน การอนุมัติขึ้นกับคะแนนเครดิต (Cre-dit
Scoring) คัดเลือกลูกค้าเข้าสู่ระบบของบริษัท อัตราดอกเบี้ยขึ้น กับความเสี่ยงลูกค้า
3 ระดับคือ แพง ปาน กลาง และถูก ซึ่งแต่ละอัตราจะช่วยลดความเสี่ยงลูกค้าแต่ละราย
จะไม่เน้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงแล้วอนุมัติวงเงินง่ายๆ ไม่เน้นความ เร็วการอนุมัติวงเงิน
เหมือนเจ้าตลาดที่เป็นนอนแบงก์ที่ทำอยู่ขณะนี้ หากเอกสารครบถ้วน ไม่เกิน 3 วันก็ได้รับเงิน
ไม่ใช่เงินฟรี-ง่าย
"เราไม่ต้องการให้คนที่มากู้เงินกับเรา เห็น ว่าเป็นเงินที่ได้มาฟรีๆ อยากให้มองว่าเป็นเงินที่ได้มาเมื่อยามที่มีปัญหามากกว่ามีเหตุผลในการคัดเลือกลูกค้า
ไม่ใช่การโหมทำตลาด เพื่อให้ได้ลูกค้ามามากๆ ลูกค้าสินเชื่อไม่เหมือนลูกค้าบัตรเครดิตหาง่ายกว่า
แต่จะคัดเลือกด้วยขั้นตอนที่มากกว่าเพื่อให้ได้ลูกค้าที่มีคุณภาพจริงๆ"
การขยายฐานสินเชื่อบุคคลจะอาศัยช่องทางผ่านสาขาธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ การขายตรงผ่านตัวแทนสาขา
KTC เอง และการโฆษณา ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเดือนละ 10,000 ราย ช่วงแรกการเปิดตัว