|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
กระทรวงการคลังระบุลดงบปีหน้า 2 แสนล้านบาทไม่กระทบเงินลงทุน ยืนยันใช้เงินกู้ 4 แสนจากกรอบเงินกู้ 3 ปี1.56 ล้านล้าน รวมกับงบประจำอีก 3 แสนล้านสานต่อโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวถึงการปรับลดวงเงินรายจ่ายงบประมาณประจำปี 2553 จำนวน 2 แสนล้านบาท ว่า เป็นการปรับลดในส่วนของงบลงทุนประมาณแสนกว่าล้านบาท ที่เหลือเป็นการปรับลดในส่วนของงบประจำ ซึ่งลดลงได้ไม่มากนัก งบประจำที่ลดลงนั้นจะไม่กระทบโครงการที่วางไว้เดิมเพราะจะโอนไปใช้เงินในส่วนของงบลงทุนโครงการตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 วงเงิน 1.56 ล้านล้านบาท เป็นการปรับลดโครงการเอสเอ็มแอล และงบประจำส่วนของงบดูงานและงบประชาสัมพันธ์ ส่วนงบชำระเงินคงคลังนั้นปี 2553 ไม่ได้มีการตั้งไว้อยู่แล้ว เพราะก่อนหน้านี้ได้ตั้งชดเชยไปแล้วในปี 2552 กว่า 4 หมื่นล้านบาทหากมีการนำเงินคงคลังออกไปในในปีนี้ก็จะต้องไปตั้งในปีงบ 2554 แทน
“ในส่วนของงบลบลงทุน 1.56 ล้านล้านบาทที่จะกู้เงินมาใช้ลงทุน 3 ปีคือปี 2553-2555 นั้น ปี 2553 คาดว่าจะใช้ได้จริงประมาณ 4 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับงบลงทุนที่เหลือในงบประมาณรายจ่ายอีก 3 แสนล้านบาท รวมเป็นงบลงทุน 7 แสนล้านบาทน่าจะเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงที่ภาคเอกชนยังไม่ไม่มีความเชื่อมั่นและกล้าลงทุน”นายสมชัยกล่าวและว่า หากการเมืองในประเทศนิ่งและเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้นเชื่อว่างบลงทุนและงบประมาณปี 2553 ที่ตั้งไว้ 1.7 ล้านล้านบาท ซึ่งการขาดดุล 3.5 แสนล้านบาทน่าจะเพียงพอนการพยุงเศรษฐกิจได้
จี้หน่วยงานรัฐเร่งเบิกจ่ายกระตุ้น ศก.
สิ่งที่สำคัญคือการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณมากกว่า ซึ่งขณะนี้มีคณะกรรมการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณดูแลอยู่แล้วและการรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบทุกสัปดาห์หรือทุกเดือนถือเป็นสิ่งที่ดีเพื่อติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายได้ตรงจุดและมีมาตรการเฉียบขาดออกมากระตุ้นให้ทุกส่วนราชการเร่งใช้เงิน รวมไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจด้วยก็จะทำให้การใช้เงินมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง
“แม้ว่า 6 เดือนที่ผ่านมาการเบิกจ่ายงบประมาณจะมีสัดส่วนเพียง 54% แต่เชื่อว่าหากมีการติดตาการเบิกจ่ายอย่างใกล้ชิดและมีมาตรการเฉียบขาดออกมาเช่นการตัดงบส่วนที่ใช้ไม่ทันหรือโยกงบระหว่างหน่วยงานก็น่าจะทำให้การเบิกจ่ายทำได้ตามเป้าหมาย 94% หรืออย่างน้อยก็ 90%เพราะส่วนใหญ่ส่วนราชการจะมีการเร่งเบิกจ่ายในช่วงไตรมาสสุดท้ายอยู่แล้ว” นายสมชัยกล่าว
สำหรับการบริหารเงินสดนั้นไม่มีปัญหาอยู่แล้วไม้จะมีการเร่งเบิกจ่ายงบเข้ามา เพราะล่าสุดเงินคงคลังได้เพิ่มขึ้นจากที่เคยปรับลดลงไปต่ำสุดเหลือ 2 หมื่นล้านบาท ขณะนี้อยู่ที่ 6 หมื่นล้านบาท จากการจัดเก็บรายได้ในช่วงเดือนมีนาคมของกรมสรรพากรที่เข้ามามากทำให้มีเงินนำส่งคลังมากขึ้น ซึ่งถือว่าไม่น่าห่วงเพราะสามารถสำรองเบิกจ่ายได้อีก 2 เดือน
|
|
 |
|
|