|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ปูนใหญ่ เผยแผนระยะยาวปรับลดแบรนด์สินค้าภายใต้คอนเซ็ปต์ One Brand เน้นขายสินค้าผ่านเครือขายธุรกิจ ซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ท พร้อมมอบนโยบายบริษัทลูกจับมือพัฒนาสินค้าร่วมกันในรูปแบบระบบการก่อสร้าง หวังขายวัสดุก่อสร้างยกชุด ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มวอรูม ด้านสยามไฟเบอร์กลาสเตรียมเสนอระบบ ฝ้าเพดาน ผนังกันความร้อนในงานสถาปนิกสยาม 2009 ตั้งเป้าปี52โต10%
นายอนุกูล คงฤทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จำกัด ในเครือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือSCG กล่าวว่า แผนและนโยบายการพัฒนาธุรกิจกลุ่มบริษัท SCG ในระยะยาวนั้นจะมีการปรับลดจำนวนแบรนด์ (ตราสินค้า)ของกลุ่มลง แต่ไม่ใช่เป็นการลดจำนวนผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีอยู่ โดยมุ่งให้สินค้าทุกประเภทของกลุ่มอยู่ภายใตแบรนด์ SCG เพียงแบรนด์เดียว ภายใต้คอนเซ็ปต์ One Brand ซึ่งการดำเนินการตามแนวนโยบายดังกล่าวจะเป็นการสร้างการรับรู้แบรนด์และมูลค่าเพิ่มของแบร์น SCG ละยังเป็นการลดต้นทุนในการทำการตลาดลงด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า SCG จะมีการวางแนวนโยบายดังกล่าวแต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่าในอนาคต แบรนด์สินค้าของกลุ่มจะลดลงมาเหลือกี่แบรนด์ ส่วนการดำเนินงานตามนโยบายการลดแบรนด์สินค้าของกลุ่มนั้นมีการเริ่มดำเนินการมาแล้ว2-3ปี ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้น สำหรับแนวทางการลดแบรนด์สินเค้านั้น กลุ่ม SCG ได้ทยอยปรับเปลี่ยนรูปแบบการเสนอขายสินค้าในรูปการขายระบบ ทดแทนการขายสินค้าแบบแยกชิ้นซึ่งจะช่วยในการเพิ่มวอรูมในการขายสินค้าไดมากขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของ บริษัทสยามไฟเบอร์กลาส เองในช่วง2-3ปีที่ผ่านมานั้นได้มีการร่วมมือกับบริษัทในเครือ เช่น ซีแพ็คฯ วินเซอร์ฯ พัฒนาสินค้าร่วมกันและเสนอขายในรูปแบบระบบ เช่น ระบบผนังกันความร้อน ระบบกันความร้อน และหลังคากันความร้อน โดยนำฉนวนกันความร้อนเข้าไปเสริมในระบบ จากเดิมที่แต่ละบริษัทจะขายสินค้าแยกเป็นชิ้น หรือแยกตามประเภทวัสดุก่อสร้าง โดยขณะนี้กลุ่ม SCG มีการร่วมกันพัฒนาสินค้าในรูปแบบระบบแล้วประกอบด้วย ระบบหลังคากันความร้อน ระบบฝ้ากันความร้อน ระบบผนังกันความร้อน ระบบพื้น ระบบครัว ระบบห้องน้ำ และ ระบบแลนด์สเคป
สำหรับ สินค้าที่มีการพัฒนาขายยกระบบในกลุ่ม SCG นี้จะเสนอขายให้ลูกค้าผ่านชองทางการตลาดของเครือ SCG คือ ซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ท และร้านค้าโมเดิร์นเทรด เช่นโฮมโปร โฮมเวิร์ค ทั้งในกทม.และต่างจังหวัด โดยล่าสุดกลุ่มระบบสินค้าที่มีการพัฒนาขึ้นมานั้น SCG เตรียมนำไปร่วมออกบูทในงานสถาปนิกสยาม 2009 ซึ่งในส่วนของสินค้าที่ร่วมกันพัฒนาโดยบริษัทสยามไฟเบอร์กลาสนั้น จะนำเสนอระบบ ผนังและฝ้าเพดานกันความร้อน ซึ่งเป็นระบบใหม่ที่มีการพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยลดความร้อนในบ้าน และประหยัดพลังงาน ร่วมออกบูทในงานดังกล่าว
นายสลิล กันตนฤมิตรกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กล่าวว่า ตลาดหลักของกลุ่มฉนวนกันความร้อนนั้นคือกลุ่มตลาดบ้านเก่า ส่วนในตลาดบ้านใหม่หรือโครงการจัดสรรนั้นบริษัทยังพยายามผลักดันให้เกิดการใช้ระบบ ฉนวนกันความร้อนเข้าไปใช้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันที่อยู่อาศัยในตลาด มีปริมาณการใช้ฉนวนกันความร้อนอยู่ประมาณ 5% ของจำนวนบ้านทั้งหมด ทำให้บริษัทยังเห็นถึงโอกาสของการขยายตัวของตลาดยังมีอยู่กว้างมาก
แต่อย่างไรก็ตามการรุกเข้าตลาดโครงการจัดสรร เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและยุ่งยาก เนื่องจากผู้ประกอบการอสังหาฯไม่มีการกำหนดสเปกวัสดุกันความร้อนไว้ในตัวบ้าน เนื่องจากเป็นการเพิ่มต้นทุนการก่อสร้างของแต่บริษัทให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตามแนวโน้มกระแสการลดพลังงาน แลปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการลดพลังงาน และลดความร้อนในบ้านมากขึ้นทำให้มีผู้ประกอบการหลายๆ รายให้ความสำคัญกับการพัฒนาบ้านลดพลังงานและหันมาใช้ระบบผนัง ฝ้าเพดานกันความร้อนเพิ่มมากขึ้น
ส่วนแนวโน้นการใช้ระบบกันความร้อนในการก่อสร้างบ้านของโครงการบ้านจัดสรรในปีนี้นั้นเนื่องจากปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจโลก และในประเทศร่วมถึงปัญหาการเมืองในประเทศส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดอสังหาฯทำให้ในปีนี้กลุ่มผู้ประกอบการยังไม่มีความพร้อมในการเพิ่มต้นทุนการพัฒนาโครงการจัดสรร ทำให้แนวโน้มการใช้ระบบกันความร้อนในโครงการจัดสรรไม่เติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นบริษัทจึงเน้นกลุ่มตลาดบ้านสร้างเองและบ้านเก่าปรับปรุงใหม่
สำหรับปี52นี้บริษัทตั้งเป้าว่าจะมียอดขายเติบโตจากปีที่ผ่านมา10% บริษัทมียอดขายรวม520ล้านบาทแบ่งออกเป็นตลาดส่งออก 50% และตลาดในประเทศ50% สำหรับตลาดรวมฉนวนกันความร้อนในประเทศมีมูลค่ารวมประมาณ 2,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็นตลาดฉนวนกันความร้อนในธุรกิจก่อสร้าง1,000 ล้านบาท โดยตลาดบ้านมีแชร์อยู่ 200 ล้านบาทเศษ ซึ่งปัจจุบันบริษัทถือแชร์อยู่ทั้งหมด100% และตลาดฉนวนใยแก้ว500-600ล้านบาท และส่วนที่เหลือเป็นตลาดโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนที่1,000 ล้านบาท เป็นตลาดฉนวนกันความร้อนยานยนต์และอื่นๆ
|
|
|
|
|