Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 เมษายน 2552
โกลว์ก่อหนี้2.5หมื่นล. รับพิษศก.ฉุดรายได้รูด             
 


   
search resources

Energy




โกลว์ฯ แจงแผนก่อหนี้ 3ปีข้างหน้า 2.5 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้า 3 แห่ง โดยปีนี้กู้แบงก์ 9 พันล้านบาท เมินออกหุ้นกู้ หลังสภาพคล่องแบงก์ท่วม จับตาไตรมาส 1/52 กำไรลดต่ำผิดปกติ เหตุเจอพิษเศรษฐกิจชะลอตัวทำให้การใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมติดลบ 16% และไม่สามารถบันทึกรายได้จากการจ่ายชดเชยหยุดซ่อมโรงไฟฟ้าของบริษัทประกันได้ แย้มรายได้ทั้งปี 2552 ลดลง แต่มาร์จินเพิ่ม หากรัฐคงอัตราจัดเก็บค่าเอฟทีเท่าเดิม แม้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงปรับลดลง

นายสุทธิวงศ์ คงสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายการเงิน บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน)(GLOW) เปิดเผยว่า แผนการจัดหาเงินกู้สกุลบาทของบริษัทฯใน 3ปีข้างหน้า (2552-2554) เพื่อใช้ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าต่างๆ ประมาณ 25,000ล้านบาท โดยปีนี้จะกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ 9,000 ล้านบาท ซึ่งได้ดำเนินการกู้ยืมเงินไปแล้ว 3,000 ล้านบาท และเร็วๆนี้จะกู้เพิ่มเติมอีก 6,000 ล้านบาท อายุสัญญาเงินกู้ 4-4.6 ปี ดอกเบี้ย 5%

ส่วนในปี 2553 บริษัทฯจะจัดหาเงินกู้อีก 9,000 ล้านบาท และปีถัดไปอีก 7,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการโรงไฟฟ้าทั้ง 3 โครงการที่ใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้แก่ โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 115 เมกะวัตต์ที่จะแล้วเสร็จปลายปี 2552 โครงการโรงไฟฟ้าไอพีพีถ่านหินของเก็คโค่-วัน กำลังผลิต 660 เมกะวัตต์แล้วเสร็จพ.ย. 2554 และโรงไฟฟ้าก๊าซฯ กำลังการผลิต 382 เมกะวัตต์ จะแล้วเสร็จก.ย. 2554 ทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าของบริษัท ในปี 2554 จะเพิ่มเป็น 3,275 เมกะวัตต์ จากที่ปี 2552 มีกำลังผลิต 1,966 เมกะวัตต์ หรือเติบโตขึ้น 67%

“การจัดหาเงินกู้ครั้งนี้ ไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับลดเครดิตของประเทศลง เนื่องจากเป็นการจัดหาเงินกู้ในประเทศ ส่วนการจัดหาเงินกู้สกุลต่างประเทศได้ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยในปีที่แล้ว บริษัทฯได้จัดหาเงินกู้โรงไฟฟ้าไอพีพีไปแล้ว 460 ล้านเหรียญสหรัฐและกู้เงินอีก 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งปีนี้ก็ต้องจัดหาเงินกู้เพิ่มเติม โดยบริษัทฯไม่มีแผนจะออกหุ้นกู้ แต่จะเน้นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินในประเทศที่มีสภาพคล่องล้น”

จากการจัดหาเงินกู้เพิ่มเติมนี้ ทำให้อัตราหนี้สินต่อทุนของโกลว์ฯ เพิ่มขึ้นจาก 1.09 เท่า เป็น 2.0 เท่าในอีก 3ปีข้างหน้านี้ แต่หลังจากโรงไฟฟ้าใหม่ทั้ง 3แห่งเดินเครื่องผลิตได้ อัตราหนี้สินต่อทุนจะปรับลดลง โดยบริษัทฯต้องรักษาอัตราหนี้สินต่อทุนไว้ที่ 1 เท่า

นายสุทธิวงศ์ กล่าวถึงผลการดำเนินงานไตรมาส1/2552 ว่า บริษัทฯจะมีรายได้และกำไรลดลงต่ำกว่าปกติ เนื่องจากบริษัทฯไม่สามารถบันทึกรายได้จากการจ่ายชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปของบริษัทประกันภัยในกรณีที่โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 150 เมกะวัตต์ได้ปิดซ่อมมาตั้งแต่ 20พ.ย.51 -20 มี.ค.52 แต่คาดว่าจะสามารถบันทึกรายได้การชดเชยในไตรมาส 2-3 นี้

จากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลง ทำให้ลูกค้าภาคอุตสาหกรรมมีการใช้ไฟฟ้าน้อยลง ส่งผลให้ปริมาณการขายไฟส่วนนี้ลดลงไป 16-17% แต่ก็ยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่คิดว่าจะลดลงไป 20% เนื่องจากต้นทุนการผลิตของลูกค้ากลุ่มปิโตรเคมีต่ำกว่าต้นทุนการผลิตในจีน ทำให้สามารถส่งออกไปจำหน่ายในจีนได้ จึงได้มีการผลิตมากขึ้นหลังจากปลายปีที่ต้องหยุดผลิตเพื่อเร่งระบายสต็อกออกไป

ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 150 เมกะวัตต์ได้เกิดปัญหาชำรุด ทำให้ต้องหยุดซ่อมบำรุงกระทันหันเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 51 และเพิ่งจะเริ่มผลิตได้ในวันที่ 21 มี.ค.นี้ จากผลกระทบนี้ทำให้บริษัทฯไม่ได้รับรายได้จากค่าความพร้อมของกฟผ.คิดเป็น 90 เมกะวัตต์ และอีก 60 เมกะวัตต์ที่ขายไฟให้กับลูกค้าภาคอุตสาหกรรม ที่บริษัทฯก็ต้องไปซื้อไฟจากที่ป้อนให้แทน ทำให้มาร์จินลดลง ทำให้รายได้หายไป 200ล้านบาทในปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม การปิดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าดังกล่าว บริษัทฯจะได้รับการชดเชยจากบริษัทฯประกันไม่เต็มที่เพราะมีบางส่วนที่บริษัทต้องแบกรับภาระไว้

นายสุทธิวงศ์ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้ปัจจัยลบที่มีต่อธุรกิจ คือ การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ ซึ่งกระทบต่อลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี แต่เชื่อว่าจะไม่รุนแรงเหมือนไตรมาส 4/2551 เพียงแต่ผลิตไม่เต็มที่ คาดว่าทั้งปี การขายไฟฟ้าให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมจะติดลบ 5%จากปีก่อน เพราะในช่วงครึ่งปีหลังความต้องการใช้ไฟจะมากขึ้นมาจากโครงการปิโตรเคมีแห่งใหม่ในเครือปูนซิเมนต์ไทยแล้วเสร็จ ขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัทฯขนาด 115 เมกะวัตต์เพื่อป้อนให้โครงการดังกล่าวจะเสร็จปลายปีนี้ ทำให้ความต้องการใช้ไฟในครึ่งปีหลังนี้เพิ่มขึ้น 10% รวมกับต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ถูกลง ทำให้รายได้ของบริษัทฯปีนี้แม้ว่าจะลดลงจากปีก่อนที่มีรายได้รวม 3.38 หมื่นล้านบาท แต่มาร์จินน่าจะดีขึ้น

นอกจากนี้ บริษัทฯจะรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าพลังน้ำห้วยเฮาะปีละ 150 ล้านบาท โดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 152 เมกะวัตต์ บริษัทฯได้ซื้อหุ้นจากจีดีเอฟ ซุเอซ 67.25% โดยบริษัทฯจะลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นในอีก 2 สัปดาห์นี้ หลังจากรัฐบาลลาวเพิ่งอนุญาตให้มีการซื้อขายหุ้นได้

“สิ่งที่เกิดขึ้นในปีนี้ คือ ค่าเชื้อเพลิงทั้งก๊าซธรรมชาติและถ่านหินปรับลดลงจากปีที่แล้ว หากค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ(เอฟที)ยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง มาร์จินของบริษัทฯดีขึ้น โดยปีที่แล้ว ราคาก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 265 บาท/ล้านบีทียู ปัจจุบันลดเหลือประมาณ 230 บาท/ล้านบีทียู และราคาถ่านหินจากเดิม 125 เหรียญสหรัฐ/ตัน ลดลงมาเหลือ 70กว่าเหรียญสหรัฐ/ตัน”

ในปีที่แล้ว ค่าเชื้อเพลิงทั้งถ่านหินและก๊าซธรรมชาติปรับเพิ่มสูงขึ้น แต่เอฟที แทบไม่ได้มีการปรับขึ้นตามต้นทุน ซึ่งการขายไฟฟ้าให้กับภาคอุตสาหกรรมจะอิงกับค่าเอฟที ทำให้บริษัทฯต้องแบกรับภาระส่วนนี้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาถึง 1,000 ล้านบาท

นายสุทธิวงศ์ กล่าวย้ำว่า รายได้ของบริษัทฯนับจากปี 2553 -2557 จะเติบโตต่อเนื่องทุกปี เนื่องจากบริษัทฯรับรู้รายได้จากโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ที่จะทยอยแล้วเสร็จในปลายปี 2552

สำหรับแผนการลงทุนในต่างประเทศนั้น ขณะนี้บริษัทฯกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการทำโรงไฟฟ้าพลังน้ำเสริมกับโรงไฟฟ้าห้วยเฮาะเพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้นานขึ้นจากปัจจุบันที่ผลิตอยู่วันละ 8 ชั่วโมงเป็น 18 ชั่วโมง โดยไม่ได้เพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งบริษัทฯจะต้องเจรจากับกฟผ.เพื่อขอปรับขึ้นค่าไฟเพิ่ม และยืดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้นานขึ้นจากเดิมที่สัญญามีอายุ 30 ปี แต่สัญญาผ่านมาแล้ว 7-8 ปี

“การตัดสินใจซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าห้วยเฮาะที่ลาวนั้น จะทำให้บริษัทมีโอกาสที่จะเข้าไปลงทุนในลาวได้ง่ายขึ้น ซึ่งขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการศึกษาอยู่หลายโครงการ ส่วนที่กัมพูชายังไม่มี สำหรับเวียดนามนั้น คงต้องรอให้ปูนซิเมนต์ไทยตัดสินใจลงทุนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ก่อน หลังจากเลื่อนโครงการไป 2 ปี”

นอกจากนี้ บริษัทกำลังพิจารณาเรื่องการลงทุนพลังงานทดแทน ในส่วนของโรงไฟฟ้าพลังงานลม 3 แห่งในพื้นที่ภาคอีสาน กำลังผลิต 30 เมกะวัตต์/แห่ง โดยอยู่ในระหว่างการทดสอบแรงลม ซึ่งต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ/เมกะวัตต์ หากพบว่าโครงการดังกล่าวมีความเป็นไปได้ก็จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปลายปี 2553   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us