Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการายวัน23 เมษายน 2552
บลจ.ยังกลัวหุ้นกู้เสี่ยง             
 


   
search resources

ณัฐพล ชวลิตชีวิน
Funds




สมาคมตราสารหนี้ไทย มองตลาดหุ้นกู้เอกชน รายย่อยสนใจมากกว่าบลจ. เหตุเกรงผลประกอบการลดฮวบครึ่งปีหลัง จนฉุดอันดับความน่าเชื่อถือ หวั่นซ้ำรอย "TFSC" ประเมินไตรมาส 2 ปริมาณหุ้นกู้ลด ก่อนจะดีดตัวในช่วงปลายปี ด้านกองทุน มองบอนด์เอกชนยังน่าสนใจ คัดเกรดลงทุน AAA ขึ้นไป แนะลงทุนดูความเสี่ยงแล้ว ต้องดูอายุด้วย เหตุหากยาวไปนักลงทุนไม่ชอบ

นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า การออกหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ พบว่ามีปริมาณสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2551 ถึงกว่า 3 เท่าตัว โดย 3 เดือนแรกของปี 2552 มียอดการออกหุ้นกู้ไปแล้วกว่า 7 หมื่นล้านบาท ส่วนในปีที่ผ่านมามีการออกหุ้นไปเพียง 2 หมื่นกว่าล้านบาทเท่านั้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการเข้มงวดในการปล่อยเงินกู้ของแบงก์พาณิชย์ และความยากลำบากในการกู้เงินจากต่างประเทศ ทำให้บริษัทเอกชนหันมาระดมทุนในช่องทางนี้มากขึ้น

สำหรับภาวะการลงทุนของหุ้นกู้เอกชนไตรมาสที่ผ่านมานั้นพบว่า นักลงทุนสถาบันโดยเฉพาะบริษัทจัดการกองทุน (บลจ.) ให้ความสนใจลงทุนในหุ้นกู้เอกชนน้อยลง เนื่องจากเกรงว่าผลประกอบการของบริษัทเอกชนอาจมีการปรับตัวลดลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ได้ และจะส่งผลต่ออันดับความน่าเชื่อถือของบริษัททำให้ตราสารที่ลงทุนเกิดขาดทุนได้ในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามยังมีหุ้นกู้เอกชนบ้างตัวที่บลจ.ให้ความสนใจลงทุนอยู่บ้างเช่นกัน

"จากบทวิเคราะห์ในช่วงที่ผ่านมาการลงทุนของสถาบันจะลดลงตั้งแต่ปลายปี 2008 จากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 47% ลดลงมาอยู่ที่ 38% ส่วนรายย่อยกลับส่วนทางกันคือเพิ่มขึ้นจาก 38% มาเป็น 43% และเทรนมันก็น่าจะเป็นแบบนี้ แต่สถาบันเองเขาเลือกลงทุนในตัวดีๆ เช่นกัน และไม่ใช่ว่าหุ้นกู้เอกชนที่ออกมาจะขายได้หมดมันต้องแล้วแต่ดีมานนักลงทุนด้วย"นายณัฐพลกล่าว

นอกจากนี้ ต้นทุนการออกหุ้นกูของบริษัทเอกชนในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กยังอยู่ในระดับสูง เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลกับสถานะของบริษัท ซึ่งปัจจุบันเรตติ้งในระดับ A- อายุ 5 ปีจะอยู่ที่ประมาณ 2.8% บวกค่าลิสต์ฟีที่ประมาณ 2.4% แต่ในส่วนของเรตติ้งระดับ BBB+ ที่ต่ำลงมาอีกหนึ่งขั้นกลับห่างกันมากคือประมาณ 3.9% บวกค่าลิสต์ฟีอีกประมาณ 2.4% ซึ่งช่วงห่างนี้เป็นส่วนที่บริษัทเอกชนต้องแบกรับเนื่องจากความกังวลต่อความเสี่ยงของนักลงทุนในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม นายณัฐพล เชื่อว่า แนวโน้มการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนในส่วนของรายย่อยในปีนี้น่าจะปรับตัวดีขึ้นได้ เนื่องจากสถานการณ์ในเรื่องเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น นอกจากนี้การที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับต่ำทำให้ผลตอบแทนที่ได้จากการฝากเงินลดลงจะกระตุ้นให้นักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้หันมาลงทุนในหุ้นกู้เอกชนมากขึ้น

"ที่ผ่านมานักลงทุนอาจกังวลเรื่องของ TFSC แต่ในปีนี้สถานการณ์น่าจะดีขึ้น เพราะนักลงทุนถ้าไปลงในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นขณะนี้มันก็น้อยแค่ 1% กว่าไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ 2-3% ยิ่งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดด้วยแล้วน่าจะส่งผลต่อการลงทุนในหุ้นกู้ได้" นายณัฐพลกล่าว

ส่วนแนวโน้มการออกหุ้นกู้ของเอกชนในปีนี้เชื่อว่าน่าจะมีประมาณใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาที่ประมาณ 2.8 แสนล้านบาท แต่ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้น่าจะมีปริมาณลดลงกว่าในช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากบริษัทและแบงก์พาณิชย์ขนาดใหญ่ได้ทยอยออกมาขายมาก่อนหน้านี้แล้ว อย่างไรตาม เชื่อการออกหุ้นเอกชนน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกในไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้ทำให้ปริมาณการออกหุ้นกู้เอกชนใกล้เคียงกับปีที่แล้ว สำหรับการออกหุ้นกู้ของบริษัทขนาดใหญ่ในไตรมาสนี้พบว่าจะมีอยู่ 2 บริษัทคือ ปตท.สผ.ที่ออกขายในช่วงเดือนพฤษภาคมประมาณ 3 หมื่นล้านบาท อีกบริษัทคือปูนซีเมนไทยอีกประมาณ 2 หมื่นล้านบาท

ด้านนายต่อ อินทวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจกองทุนรวมเเละที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความเห็นว่า หุ้นกู้ มีความน่าสนใจเเง่ของผลตอบเเทนในระยะยาว เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีเป้าหมายการลงทุนตั้งเเต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งในส่วนของกองทุนรวมตลาดเงินหรือมันนี่มาร์เก็ตของบลจ.ไอเอ็นจี ก็มีการลงทุนในหุ้นกู้เเละตั๋ว B/E อยู่บ้าง เเม้จะมีสัดส่วนในการลงทุนไม่มากเท่าไร ซึ่งทางบลจ.เองจะมีการคัดเลือกบริษัทที่มีหุ้นกู้เรทติ้ง AAA ขึ้นไปเเละมีคุณภาพด้วย

ในส่วนของการจัดตั้งกองทุนใหม่เพื่อลงทุนในหุ้นกู้เเละตั๋ว B/E นั้น คงจะยังไม่มีในขณะนี้ เนื่องจากดอกเบี้ยในประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ผลตอบเเทนของตราสารหนี้ภายในประเทศยังไม่มีความน่าสนใจ ในขณะที่ต่างประเทศเช่น อิตาลี หรือเกาหลี นั้นให้ผลตอบเเทนตราสารหนี้ในประเทศที่ดีกว่า อันดับเรตติ้งก็ดีกว่า ประกอบกับตราสารหนี้ที่กองทุนส่วนใหญ่ไปลงทุนจะเป็นของรัฐบาลหรือรัฐบาลประเทศนั้นค้ำประกันซึ่งเมื่อเทียบเเล้วตราสารหนี้รัฐต่างประเทศนั้นดีกว่า

สำหรับการกรณีที่บริษัทจัดทะเบียนจะออกหุ้นกู้หรือตั๋ว B/E จะส่งผลกระทบต่อกองทุนตราสารหนี้ของบลจ.ตนมองว่า ลูกค้าของบลจ.เเละบจ.มักจะเป็นคนละกลุ่มกัน เเต่หากเป็นกลุ่มเดียวกันนักลงทุนส่วนใหญ่ก็จะจัดสรรเงินลงทุนได้ว่าจะเลือกลงทุนระยะสั้นหรือเลือกลงทุนระยะยาว
ส่วนนายชัยเกษม วัฒนะศิริพงษ์ หัวหน้าฝ่ายจัดจำหน่วยกองทุน บลจ. อเบอร์ดีน กล่าวว่า การที่บริษัทจดทะเบียนหันมาออกหุ้นกู้มากขึ้นนั้น ในส่วนของอเบอร์ดีนเองคงไม่มีการจัดตั้งกองทุนใหม่เพื่อเข้าไปลงทุนในหุ้นกู้หรือตั๋วB/E เหล่านี้โดยเฉพาะ เพราะปัจจุบันในส่วนของกองทุนรวมผสมภายใต้การบริหารของอเบอร์ดีน ซึ่งได้แก่ กองทุนเปิดอเบอร์ดีน เฟล็กซิเบิ้ลแคปปิตอล และกองทุนเปิดอเบอร์ดีน แวลูนั้น มีมีนโยบายลงทุนอยู่แล้ว โดยจะเน้นลงทุนในหุ้นกู้ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ AAA ขึ้นไปในสัดส่วน 30% ของพอร์ตตราสารหนี้

ทั้งนี้ สำหรับหุ้นกู้ที่ออกมาในช่วงนี้ มองว่าความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนยังมี แต่จะต้องมองอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทที่จะเข้าไปลงทุนว่าเป็นอย่างไร ความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทผู้ออก รวมไปถึงแนวโน้มธุรกิจว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากขณะนี้ดีมานด์ในตลาดยังคงมีอยู่ แต่หากบริษัทที่ออกหุ้นกู้มีความมั่งคงสูง และให้ผลตอบแทนดี ก็อาจจะเข้าลงทุน โดยขณะนี้ อเบอร์ดีนจะเน้นการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ AAA ขึ้นไป

"ถึงแม้ว่าการออกหุ้นกู้ของบริษัทจดทะเบียนจะให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน แต่การลงทุนของอเบอร์ดีนนั้น จะเน้นความปลอดภัยและความมั่นคงเป็นหลัก โดยหากมีการเข้าไปลงทุนในหุ้นกูเอกชนนั้น อเบอร์ดีนจะเลือกความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารตั้งแต่AAA ขึ้นไป ขณะเดียวกัน การลงทุนในหุ้นกู้ของของอเบอร์ดีน จะเลือกลงทุนโดยพิจารณาจากอายุของตราสารหนี้ให้อยู่ในระยะสั้นๆ" นายชัยเกษม กล่าว

ขณะที่นายอาสา อินทรวิชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการลงทุนตราสารหนี้ บลจ.อยุธยา จำกัด หรือ เอวายเอฟ มอง ว่าความน่าสนใจของหุ้นกู้เเละตั๋วB/E ของบจ.นั้นอาจจะขึ้นอยู่กับชื่อของบริษัทหลักทรัพย์ว่ามีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด โดยในส่วนของบลจ.ก็อาจจะให้ความสนใจในการลงทุน ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาของหุ้นกู้เเละตั๋ว B/E เสียก่อนว่ามีอายุมากน้อยเเค่ไหน เพราะตามปกติเเล้วตลาดของผู้ลงทุนตราสารหนี้ของของกองทุนนั้น จะไม่ชอบตราสารหนี้ที่มีระยะยาวมากจนเกินไป ส่วนใหญ่บจ.เเล้วนี้มักออกหุ้นกู้อายุ 5-7 ปี หรือมากกว่านั้น ขณะเดียวกันคงต้องดูเรื่องของเครดิตของหุ้นกู้เหล่านั้นอีกด้วย นอกจากนี้เเล้วคงต้องดูเรื่องของผลตอบเเทนว่าสามารถชดเชยความเสี่ยงที่นักลงทุนได้รับเพิ่มขึ้นหรือไม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us