Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 เมษายน 2552
ธปท.คาดเลวร้ายสุดจีดีพี-5% ปัจจัยการเมืองศก.โลกรุนแรง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ดวงมณี วงศ์ประทีป
Economics




กนง.ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจใหม่ คาดจีดีพีปีนี้ติดลบ 1.5-3.5% จากปัญหาการเมืองยืดเยื้อกระทบความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นักลงทุนและนักท่องเที่ยว ส่วนมูลค่าการส่งออกติดลบ 24-5-27.5% เหตุเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเดี้ยง อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ -1 ถึง 1% แต่หากการเมืองเกิดเหตุรุนแรงและเศรษฐกิจโลกยังทรุดหนัก จีดีพีไทยอาจติดลบ 4-5% แนวโน้มภาคครัวเรือนตกงาน-หนี้เสียเพิ่ม

น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีแนวโน้มต่ำจากการประเมินครั้งก่อนค่อนข้างมากทุกตัวเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทย โดยได้ปรับลดอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยใหม่เป็นหดตัว 3.5% ถึงหดตัว 1.5% จากเดิม 0-2% ในช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา และคาดว่าเศรษฐกิจไทยกลับมาเป็นบวกอีกครั้งในระดับ 1.5-3.5% จากเดิม 2-4% ในปี 2553 อย่างไรก็ตามใน ปีนี้ยังมีโอกาสเข้าสู่กรณีเลวร้ายได้หากปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นและอาจฉุดให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสติดลบ 5% ถึงลบ 4% เนื่องจากการประเมินเศรษฐกิจดังกล่าวเศรษฐกิจได้รับผลกระทบบางส่วนจากเหตุการณ์จราจลช่วงสงกรานต์และยังคงประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอยู่ในปัจจุบัน และการปรับลดวงเงินงบประมาณปี 52 ซึ่งคาดว่าผลเหล่านี้จะมีผลต่อเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกปีนี้

“ธปท.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยตลอดทั้งปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า เศรษฐกิจไทยจากไตรมาส 4 ปี 51 หดตัวถึง 6.1% และคาดว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปีนี้ยังคงหดตัว

ในช่วงไตรมาสแรกติดลบเยอะสุด และค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ส่งผลให้ในช่วงไตรมาสที่สุดท้ายตัวเลขเศรษฐกิจไทยกลับมาเป็นบวก” น.ส.ดวงมณีกล่าว

การปรับประมาณเศรษฐกิจครั้งใหม่ที่หดตัวมาก เนื่องจากเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 4 หดตัวรุนแรงกว่าที่คาดไว้ ประกอบกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอย่างรุนแรง ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและบริการของไทย รวมถึงเชื่อมโยงไปยังการบริโภคและการลงทุนภาครัฐ และทำให้การนำเข้าหดตัวลงด้วย ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวและนักลงทุนถูกกระทบอย่างมากจากความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ แม้นโยบายการเงินและการคลังพยายามผ่อนคลายค่อนข้างมาก เพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้หดตัวไปมากกว่าที่ควรจะเป็น
สำหรับภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในครั้งนี้ประเมินต่ำกว่าครั้งก่อนเช่นกัน โดยคาดว่าหดตัว 1.2% จากเดิมขยายตัว 0.9% ซึ่งคาดว่าถึงต่ำสุดในช่วงกลางปีนี้ เนื่องจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกทวีความรุนแรงมากขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าต่างๆ หดตัวอย่างชัดเจน จึงทำให้ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวนานขึ้นและส่งผลให้เริ่มฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ ในช่วงปี 2553 อย่างไรก็ตามหากวิกฤตการณ์ทางการเงินส่งผลให้สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชียเข้าสู่ภาวะถดถอยที่ลึกกว่าเดิมยิ่งซ้ำเติมให้เศรษฐกิจโลกหดตัวได้ถึง 2.9% และค่อยฟื้นตัวอยู่ในแดนบวกในปีหน้า

ธปท.จึงได้ปรับประมาณการณ์มูลค่าการส่งออกสินค้าเป็นติดลบ 27.5% ถึงติดลบ 24.5% จากเดิมติดลบ 8.5% ติดลบ 5.5% เนื่องจากเศรษฐกิจต่างประเทศยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการส่งออก และคาดว่าในปีหน้าอยู่ที่ 6.5-9.5% ส่วนการนำเข้าคาดว่าหดตัวถึง 34.5% ถึงติดลบ 31.5% จากเดิมติดลบ 10% ถึงลบ 7% และปีหน้าอยู่ที่ระดับ 14-17%

ทำให้ดุลการค้าในปีนี้คาดว่าจะเกินดุลที่ 10,500-13,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมเกินดุล 500-3,500 ล้านเหรียญ และปีหน้าคาดว่าจะเกินดุล 2,500-5,500 ล้านเหรียญ ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11,500-14,500 ล้านเหรียญ จากเดิมประเมินว่าจะสมดุลหรือเกินดุลไม่เกิน 3,000 ล้านเหรียญ และปีหน้าเกินดุล 4,000-7,000 ล้านเหรียญ เพราะจากปัญหาวิกฤตการเงินโลกไทยได้รับผลกระทบน้อย

ด้านการลงทุนและการบริโภคของภาครัฐและเอกชนต่างปรับประมาณการณ์ลดลงเช่นกันในปีนี้ ปัจจัยลบเกิดจากความเชื่อมั่นที่ลดลง โดยคาดว่าภาครัฐจะมีการลงทุนแค่ 4-6% จากเดิม 13-15% ส่วนการบริโภคเหลือ 11.5-13.5% จากเดิม 13-15% เพราะ ธปท.ประเมินว่าผลกระทบจากทางการเมืองอาจทำให้รัฐบาลไม่สามารถการเบิกจ่ายไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และอาจมีการลดวงเงินงบด้านการลงทุนและการบริโภคบางส่วน "จึงมองว่าปีงบประมาณฯ ปี 52 และ53 มีอัตราการเบิกจ่ายแค่ 93% ทำให้ภาคเอกชนได้รับผลดังกล่าวด้วย จึงปรับให้บริโภคภาคเอกชนติดลบ 0.5% ถึง 0.5% จากเดิมประเมิน 1.5-2.5% ส่วนการลงทุนหดตัวอย่างมากถึง 14 ถึงหดตัว 12% จากเดิมคาดว่าหดตัว 2% หรือไม่ขยายตัวเลย" ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวและว่า ในปัจจุบันอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำจากราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงต่อเนื่อง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่บางไตรมาสอาจติดลบ แต่เชื่อว่าไม่กระทบต่อราคาสินค้าทั้งหมด คาดว่าปีนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0-1%ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ลบ 1 ถึง 1% อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าต่อไปทางโอเปกอาจมีการลดกำลังการผลิตลง เพื่อพยุงราคาน้ำมันไม่ให้ลดลงมาก จึงอาจส่งภาคการผลิตหดตัวไปได้

นอกจากนี้มองว่าค่าเงินในภูมิภาค รวมถึงไทย และค่าเงินยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่าลงทั้งปี 52 และปี 53 เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐส่งผลให้มีการไหลออกของเงินทุนกลับสู่สหรัฐอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงของการลงทุน ต่างกับเงินเยนที่คาดว่าแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้และกลับอ่อนค่าลงในช่วงปี 53 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.13% ตลอดปีนี้และปีหน้าเป็นผลจากการชะลอตัวเศรษฐกิจสหรัฐ

ทั้งนี้ ในปัจจุบันเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินมีความเปราะบางมากขึ้น โดยภาคธุรกิจแม้ฐานะการเงินโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอยู่ แต่ความสามารถในการทำกำไรปรับลดลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่ภาคครัวเรือนเริ่มมีความเสี่ยงด้านรายได้และการมีงานทำมากขึ้นโดยมีการลดจำนวนชั่วโมงทำงานและการเลิกจ้าง ด้านภาคสถาบันการเงินมีแนวโน้มคุณภาพสินเชื่อด้อยลง สะท้อนจากอัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสัดส่วนหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เริ่มปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการทำกำไรของระบบธนาคารพาริชย์ในช่วงที่ผ่านมายังดีอยู่ และฐานะโดยรวมยังมีความแข็งแกร่งอยู่.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us