Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2531
จะบอกว่าส่วนไหนเป็นป่าก็จะเว้นเอาไว้มันไม่จริง             
 


   
search resources

วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ
Investment
Agriculture




การลงทุนขนาดใหญ่ผู้ลงทุนมักจะเริ่มต้นจากการมองความต้องการของตลาด ระยะเวลาคุ้มทุนของการลงทุน เมื่อคิดว่ามันกำไรก็ลงทุนพอตัดสินใจอย่างนั้น แล้วประเด็นตามมาก็คือว่าทำอย่างไรภายใต้เงื่อนไขเวลาและทุนขนาดนี้จึงจะได้กำไรสูงสุด

ปัจจัยด้านนิเวศวิทยา สิ่งแวดล้อมมีฐานะเป็นเพียงแค่เงื่อนไขที่จะลดต้นทุนการผลิตได้มากน้อยแค่ไหนเพียงไร ผลที่ตามมาก็คือว่าการพยายามจะใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ภายใต้เงื่อนไขเวลานั้นอย่างเต็มที่มันก็เกิดขึ้นกับโครงการขนาดใหญ่ที่เราห่วงมากที่สุดคือ การใช้ทรัพยากร ดินน้ำ อย่างเต็มที่เพื่อจะได้ประโยชน์สูงสุด ที่เรากลัวก็คือ ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ปกติจะถูกกระจายไปตามแหล่งผลิตรายย่อยๆ ก็จะถูกโครงการขนาดใหญ่ดึงทรัพยากรเหล่านี้มาเลี้ยงโครงการของตนเกือบหมด

ตัวอย่างเช่นในภาคเหนือ โดยธรรมชาติมีพื้นที่ราบน้อย มีลำน้ำสายเล็กๆ การลงทุนขนาดใหญ่ที่มีการใช้เทคโนโลยีที่ดีกว่าจะสร้างระบบชลประทานที่ดึงเอาน้ำจากทั้งหมดมาเลี้ยงในฟาร์มตัวเอง ฟาร์มขนาดเล็กจะไม่มีอะไรเหลือ

ภาคตะวันออกก็เหมือนกันทั้งในเรื่องของ PLANTATION และอุตสาหกรรมจะดึงน้ำมาเลี้ยงเกือบหมด ในอนาคตเรื่องนี้จะเป็นความขัดแย้งที่สำคัญเรื่องหนึ่ง มีตัวอย่างในแคลิฟอร์เนียที่ชัดเจนมากอันหนึ่ง คือ น้ำถูกดึงมาใช้ในทะเลทรายซึ่งปลูกส้ม ปลูกองุ่น ก็เกิดขัดแย้งกัน เรากำลังจะก้าวไปสู่ตรงนั้น

อีกปัญหาหนึ่งคือ การทำแบบ INTENSIVE มีการใช้สารเคมีอย่างเต็มที่ในการเพาะปลูกมันให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจริงในระยะเฉพาะหน้า แต่สารเคมีที่ใช้ก็ไปทำลายธรรมชาติของระบบนิเวศวิทยาที่ทำหน้าที่ของมันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็ต้องใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ระบบนิเวศฯ จะถูกทำลาย

ในทางนิเวศวิทยา PLANTATION ขนาดใหญ่จะยิ่งเกิดโรคหรือการระบาดของแมลงหนักหน่วงยิ่งขึ้น เช่นทั้งแปลงคุณมีแต่ยูคาลิปตัส มีแต่ข้าวโพด การระบาดจะเป็นไปอย่างเต็มที่ ยิ่งใช้ยาก็ยิ่งดื้อยาและต้องใช้ในปริมาณมากขึ้น

ประเด็นที่ผมกำลังมีคำถามมากกับการลงทุนขนาดใหญ่ตอนนี้คือเรื่องการถือครองที่ดิน กรณีของเชลล์กับการปลูกป่ายูคาลิปตัส วิธีการคือเช่าพื้นที่ป่าสงวนเป็นแสนๆ ไร่ ปัญหาคือพื้นที่ขนาดใหญ่ ในความเป็นจริงยังมีพื้นที่สองประเภทคือ พื้นที่ป่ากับพื้นที่ที่ชาวบ้านทำกินอยู่แล้ว ไม่มีพื้นที่ไหนที่รกร้างว่างเปล่าโดยไม่มีอะไรเลย เมื่อเข้าไปลงทุนในพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างนั้นจะต้องทำการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่เพื่อสร้าง INFRASTRUCTURE

เพราะฉะนั้นจะบอกว่าส่วนไหนเป็นป่าก็จะเว้นเอาไว้ ในทางปฏิบัติมันไม่จริง ในอนาคตมันจะหมดไปเรื่อยๆ พื้นที่ป่าธรรมชาติจะถูกเปลี่ยนเป็น INFRASTRUCTURE ในการทำ PLANTATION ขนาดใหญ่ บริษัทสมัยใหม่จะใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหา เช่นใช้แทรกเตอร์ปรับที่ สร้างถนนหนทาง คลองส่งน้ำ พวกนี้เปลี่ยนธรรมชาติหมด

ยกตัวอย่างภาคเหนือที่เป็นไหล่เขา การชะล้างทำลายผิวดินมีมาก ปีหนึ่งๆ ที่เขื่อนภูมิพลจะต้องเอาตะกอนออกจากเขื่อน ถ้ามี PLANTATION เกิดขึ้นในภาคเหนือ การชะล้างของดินจะมีสูงเพราะไปเปลี่ยนโครงสร้างของดิน การพังทลายของหน้าดินจะมีสูงขึ้น ถ้าเทียบกับวิธีที่ชาวบ้านใช้จะใช้พวกพืชแนวระดับปลูกเป็นขั้นบันได แต่ PLANTATION ขนาดใหญ่ทำแบบนี้ไม่ได้ เพราะไม่คุ้มและใช้เวลานานในเรื่องของการถือครองที่ดิน ประเทศเราคนไร้ที่ดินมีเยอะอยู่แล้ว การลงทุนขนาดใหญ่ต้องมีการกว้านซื้อที่ดิน ทำให้เกิดผู้ไร้ที่ดินจำนวนมหาศาลตามมา เราจะแก้อย่างไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us