Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2531
โครงการท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชัง"สิงคโปร์เล็กๆ" เพ้อฝันจริงหรือ             
โดย สมใจ วิริยะบัณฑิตกุล
 


   
search resources

สยามเฆมี
Transportation




คนที่เคยไปเกาะสีชังแล้วจะเห็นว่ามีเรือขนาดใหญ่จอดทอดสมออยู่หน้าเกาะขนถ่ายสินค้า เพราะมีขนาดใหญ่เกินไปไม่สามารถจะเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยาได้

สำหรับท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 1 นั้น (เสร็จประมาณ 2533) กล่าวกันว่าสามารถรับเรือขนาดสูงสุดได้ไม่เกิน 30,000 ตัน เนื่องจากพื้นที่เป็นอ่าวเปิดน้ำตื้น

ดังนั้นเรือขนาดตั้งแต่ 40,000 ตัน จนถึง 20,000 ตัน ต้องจอดทอดสมอกลางทะเลขนถ่ายสินค้า (ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเทกอง เช่น มันสำปะหลัง) หน้าเกาะสีชังต่อไป ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือความไม่สะดวกเนื่องจากคลื่นลมทำให้ทำงานล่าช้าและสูญเสียมาก ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นต้องบวกไปในราคาสินค้า

ส่วนสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งต้องส่งไปทวีปอเมริกาหรือยุโรปเป็นส่วนใหญ่ก็ต้องขึ้นเรือเล็กที่เรียกว่า FEEDER ไปขนถ่ายขึ้นเรือแม่ขนาดใหญ่ที่จอดรออยู่สิงคโปร์เรือเหล่านี้ส่วนมากมีขนาดใหญ่กว่าที่จอดเทียบท่าเรือแหลมฉบังที่กำลังสร้างอยู่ ไทยยังต้องใช้ FEEDER ไปส่งยังสิงคโปร์ต่อไป ซึ่งจะเป็นผลให้สินค้าไทยมีราคาสูงขึ้น

นั่นคือจุดเด่นของท่าเรือเกาะสีชังจะเป็นทางผ่านของสินค้าเข้าและออก และส่งต่อไปถึงจุดหมายต่างๆ ในประเทศ (ดูแผนที่ 1) แสดงระยะห่างจากเกาะสีชังไปตามจุดต่างๆ ในประเทศ เช่น ใช้เรือข้ามฟากซึ่งรถบรรทุกลงไปได้ (FERRY) วิ่งระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง กับตัวเกาะสีชัง ซึ่งห่างกันประมาณ 8 กิโลเมตร, ใช้เรือกระแชง (BARGE) จากท่าเรือนครสวรรค์หรือคลังสินค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะเกาะสีชังเป็นจุดที่ใกล้ปากแม่น้ำมากที่สุด

จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของท่าเรือนี้คือจะมีระบบขนถ่ายที่ทันสมัยเช่นสินค้าเทกองที่มีปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จะมีระบบดูดฝุ่น และเก็บกลับไปลงระวาง ไม่ให้เกิดการสูญเสียอย่างในปัจจุบัน ซึ่งมีการคำนวณว่าความสูญเสียระหว่างการขนถ่ายมันสำปะหลังประมาณ 3% จาก 4.5 ล้านตันเป็นเงินหลายร้อยล้านบาท

จิระให้ภาพของโครงการนี้เพิ่มเติมว่า "ปุ๋ยเป็นแสนตันที่เราสั่งเข้ามา ที่นี่จะเป็นศูนย์กลางการแพ็คเกจจิ้ง เสร็จแล้วลงใต้ สงขลา-สุราษฎร์ธานี เรือที่ขนมันสำปะหลังลงมาจากคลังสินค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา ขากลับก็จะให้นำปุ๋ยกลับไป ต้นทุนเราจะถูกขึ้นอีกมาก แล้วเรือใหญ่นี่ต้องเติมน้ำมัน เราทำเป็นศูนย์เติมน้ำมันที่เรียกบังเกอร์ ถ้าเมืองไทยบูม เรือที่จะเข้ามาตรงอีสเทิร์นซีบอร์ดผมว่ามันจะยิ่งดุเดือด ถึงแหลมฉบังจะสร้างเสร็จก็จะรองรับไม่พอ แนวโน้มการค้ากับอินโดจีนจะมีขึ้น พม่าอีกไม่ช้าก็ต้องเปิดเมือง เมืองไทยจะเป็นศูนย์กลางคนไทยมัจะมีระบบคิดแบบฮิตาชิเปิดปุ๊บติดปั๊บไม่มองไปข้างหน้า อยากจะเป็นนิคส์ แต่อะไรก็ไม่พร้อม น้ำประปาไม่มี โทรศัพท์ไม่มี ควรจะมองไปข้างหน้าอีก 10 ปี แล้วเตรียมการไว้ให้พร้อม เอกชนสร้างท่าเรือของตัวเองมีคนบอกท่าเรือคลองเตยมีอยู่แล้วสร้างทำไม วันนี้คลองเตยแออัดมาก ถ้าไม่มีท่าเรือเอกชนที่สร้างมาหลายสิบท่าช่วยแบ่งเบาวันนี้ คลองเตยจะชุลมุนวุ่นวายมากกว่านี้ อีกหน่อยแหลมฉบัง CONGEST แล้วจะนึกถึงผม เราไม่ได้สร้างมาแข่งกับแหลมฉบัง แต่มาช่วยเสริมจุดอ่อนของแหลมฉบัง ซึ่งน่าจะร่วมมือกัน…"

ถ้าความคิดอ่านของจิระเป็นจริง เกาะสีชังก็จะดูเหมือน "สิงคโปร์เล็กๆ" หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า "เพ้อฝัน" ไปกระมัง!?!

คำถามส่วนใหญ่มุ่งไปที่ประเด็น "คุ้มหรือไม่" เพราะต้องลงทุนสูงและค่าขนส่งจะถูกขึ้นจริงหรือ?

"พ่อค้าส่วนใหญ่มีไซโลของตัวเองเช่น มาบุญครอง ใช้วิธีขนถ่ายขึ้นเรือใหญ่ในหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่เอาเรือโป๊ะมาเทียบถ่ายขึ้นเรือใหญ่ การที่ต้องนำสินค้ามาพักที่ไซโลของท่าเรือสีชังก่อนค่อยถ่ายลงเรือใหญ่ เท่ากับเป็น DOUBLE HANDLING แต่ถ้าจะขนถ่ายจากเรือโป๊ะขึ้นเก็บไว้ในไซโลได้ปริมาณมากๆ และเครื่องมือทันสมัยก็อาจจะสามารถทำให้ระยะเวลาที่เรือแม่มาจอดน้อยลงเช่นจาก 20 วันเหลือ 10 วัน ค่าระวางจะถูกลง อย่างนี้เป็นไปได้ อันนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพของท่าเรือนี้ และความสามารถที่จะจัดระบบการขนถ่ายซึ่งมีลูกค้ามากราย และระดับคุณภาพสินค้าที่ไม่เท่ากัน จริงๆ แล้วปัจจัยชี้ขาดอยู่ที่ว่าถูกกว่าหรือไม่…" พ่อค้ามันสำปะหลังแสดงความเห็นกับ "ผู้จัดการ"

และในประเด็นที่หวังว่าจะให้เรือแม่มาจอดที่เกาะสีชังแทนสิงคโปร์นั้น บริษัทเดินเรือใหญ่แห่งหนึ่งให้ความเห็นว่า "ตารางเวลาของเรือใหญ่ระหว่างชาตินี้ถูกเซทเวลาและสถานที่ไว้หมดแล้ว การที่จะให้เรือแม่มาจอดที่นี่เป็นเรื่องยาก มันเป็นเรื่องของเครื่องมือที่ต้องทันสมัยมากๆ อย่างของสิงคโปร์ แต่ถ้าเป็นสินค้าเทกองแบบที่เขาเข้ามาอยู่แล้ว อันนั้นเป็นไปได้"

และการที่โครงการนี้ออกมาในนามบริษัท จิระทิพ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นบริษัทส่วนตัวของจิระกับหงศ์ลดารมย์บางคน (เพื่อความคล่องตัวในการจัดการในระยะแรกแล้วจะโอนเป็นของบริษัทสีชังทองโดยที่สยามเฆมีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในภายหลัง) ซึ่งคนทั่วไปไม่รู้จักไม่รู้ว่ามีสยามเฆมีเป็นกำลังหลัก จึงมีการตั้งข้อสงสัยถึงฐานการเงินที่จะมาสนับสนุน บางคนเมื่อได้รับการบอกเล่าจาก "ผู้จัดการ" ว่ามีสยามเฆมี ก็นึกภาพไม่ออกเช่นเดิม นั่นเป็นเพราะสยามเฆมีปิดตัวเองเงียบมาตลอดจนพวกเกาหลีบอกว่าสยามเฆมีเป็น THE SILENT EMPIRE

แผนการในการก่อสร้างท่าเรือนั้น จิระเปิดเผยว่า "มันขึ้นอยู่กับว่าจะมีคนสนับสนุนมากเพียงใด ถ้ามีมากโครงการนี้ก็ไปเร็ว แต่ถ้าน้อยผมจะสร้างเล็กๆ ก่อนอาจจะลงทุน 100 ล้านก่อนสร้างให้เรือแสนตันจอดได้สัก 2 ลำก่อน แล้วจึงค่อยขยายไปเรื่อยๆ โดยเน้นที่จะรองรับสินค้าในเครือซึ่งต้องนำเข้าและส่งไปตามที่ต่างๆ เพราะท่าเรือของเราที่พระประแดงคับแคบเกินไปแล้ว ความจริงมีกลุ่มพ่อค้าที่นำเข้ามันสำปะหลังของเนเธอร์แลนด์ซึ่งซื้อมันจากไทยปีละประมาณ 4.5 ล้านตันแสดงความจำนงอยากจะมาสร้างหรือมาร่วมทุนกับเรา ซึ่งจริงๆ แล้วใจผมอยากให้ท่าเรือนี้เป็นของคนไทยมากกว่า จึงคิดว่าเริ่มจากเล็กๆ"

ความจริงแล้วโครงการนี้จิระต้องการที่จะทำตั้งแต่เมื่อ 8 ปีที่แล้ว แต่เนื่องจากตอนนั้นสยามเฆมีฐานยังไม่ใหญ่พอ และติดปัญหาที่ดินซึ่งใบแสดงกรรมสิทธิ์เป็น สค. 1 ซึ่งไม่อาจจะนำไปค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารได้ ซึ่งได้นำไปยื่นต่อกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอเปลี่ยนเป็น นส. 3ก ก็ยังไม่ได้จนกระทั่งทุกวันนี้

การนำโครงการนี้มาปัดฝุ่นใหม่ครั้งนี้จิระมีความมั่นใจมากกว่าเดิม แต่ทั้งนี้ตัวแปรที่สำคัญจะอยู่ที่กระทรวงมหาดไทยที่จะยอมให้เปลี่ยนเอกสารสิทธิ์หรือไม่ และอยู่ที่นโยบายของรัฐบาลที่จะอนุญาตให้สร้างท่าเรือเอกชนขนาดใหญ่นี้หรือไม่?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us