Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 เมษายน 2552
แบงก์กำไรวูบถ้วนหน้า-หันคุมลูกค้าสกัดNPL             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
Banking and Finance




แบงก์เผยผลประกอบการไตรมาส 1/2552 แบงก์ใหญ่กำไรสุทธิวูบถ้วนหน้า "กรุงไทย" ร่วงแรงสุด 39.30% หลังทำกำไรได้ 2,512.67 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนทำได้ 4,139.67 ล้านบาท นายแบงก์ประสานเสียงรับเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย พร้อมปรับตัวเดินหน้าให้บริการต่อ เน้นดูแลลูกค้าใกล้ชิด-คุมคุณภาพสินเชื่อ

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL แจ้งผลประกอบการประจำไตรมาสแรกปี 2552 ว่า ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 4,754 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 5,602 ล้านบาท จำนวน 848 ล้านบาท หรือคิดเป็น 15% และลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 8.3% อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีกำไรก่อนภาษีเงินได้จำนวน 6,991 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 2551 หรือคิดเป็น 0.1%

ทั้งนี้ แม้สภาพเศรษฐกิจในขณะนี้จะไม่เอื้ออำนวย ธนาคารสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ใน 4 ด้านสำคัญ คือ ด้านสภาพคล่อง ด้านรายได้ค่าธรรมเนียม ด้านคุณภาพสินเชื่อ และด้านสถานะเงินกองทุน ทั้งนี้ ธนาคารสามารถรักษาสภาพคล่องให้อยู่ในระดับสูง โดย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 ธนาคารมีเงินฝากเพิ่มขึ้น 2.1% จากสิ้นปี 2551 ส่งผลให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ 84.4% ซึ่งเป็นระดับที่น่าพอใจ นอกจากนี้ ธนาคารยังมีรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากไตรมาสก่อนหน้า ในขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมระดับสินเชื่อด้อยคุณภาพได้ดี และดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนเมื่อรวมกำไรและหักเงินปันผลแล้ว อยู่ที่ 15.1% ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่ง

สำหรับในไตรมาสที่ 1 นั้น ธนาคารมีเงินฝากทั้งสิ้นจำนวน 1,338,841 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2551 จำนวน 27,364 ล้านบาท หรือ 2.1% อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการรณรงค์ขยายฐานเงินฝากอย่างสม่ำเสมอในจังหวะเวลาที่เหมาะสม ในขณะเดียวกัน ลูกค้าบางกลุ่มให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ทางการเงินทางเลือกซึ่งให้ผลตอบแทนในอัตราที่ดึงดูดใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั๋วแลกเงิน บริการประกันชีวิตผ่านธนาคาร และหุ้นกู้ของบริษัทเอกชน นอกจากนี้ ธนาคารยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีพอสมควร โดยรายจ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% จากไตรมาสก่อนหน้า เป็น 9,523 ล้านบาท อัตราส่วนรายจ่ายต่อรายได้ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 51.6% จาก 50.5% ในไตรมาส 4 ปี 2551

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเริ่มส่งผลกระทบต่อลูกค้า ธนาคารจึงได้ดำเนินนโยบายให้บุคลากรของธนาคารดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดกว่าเดิม เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจของลูกค้าอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งเข้าใจผลกระทบที่ลูกค้าได้รับจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งแนวทางนี้นอกจากจะช่วยให้ธนาคารสามารถกระชับสายสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมถึงสนับสนุนลูกค้าได้ตามความเหมาะสมแล้ว ยังช่วยการควบคุมคุณภาพสินเชื่อได้ในระดับหนึ่ง

โดย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 สินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เป็นอัตราส่วน 4.8% ของสินเชื่อรวม จากอัตราส่วน4.6% ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551ในไตรมาสนี้ธนาคารได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวน 1,955 ล้านบาท และ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2552 ธนาคารมีสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 60,854 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพที่ 102.7% และมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นและเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยง อยู่ในระดับที่ประมาณ 15.1% และ 12.3% ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่งและสามารถสนับสนุนให้ธนาคารดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงผันผวนต่อเนื่อง

ใบโพธิ์-กสิกรฯลด18%,14%

นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยถึงผลประกอบการในไตรมาส 1/2552 ของธนาคารว่า ผลประกอบการของธนาคารมีกำไรสุทธิในไตรมาส 1/2552 อยู่ที่ 5,547 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.3% จากไตรมาส 4/2551 อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2551 แล้ว กำไรสุทธิของธนาคารลดลง 18.3%

ทั้งนี้เป็นผลจากการปรับตัวลดลงของอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารลดลงจาก 3.8% ในไตรมาส 4/2551 เป็น 3.6% ในไตรมาส 1/2552 อย่างไรก็ตาม ธนาคารสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้ลดลงได้ถึง 14.1% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2551 อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาส 1/2551 รวมถึงลดระดับสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) จาก 5.1% ลงมาอยู่ที่ 4.6% พร้อมเสริมสร้างความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 15.6% ผลักดันให้ธนาคารเติบโตได้ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจ

"ปี 2552 เป็นปีที่ยากลำบากสำหรับทุกธุรกิจรวมถึงธนาคารพาณิชย์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้ แต่ธนาคารมองเห็นโอกาสในวิกฤติ เข้าสนับสนุนลูกค้าที่มีศักยภาพฝ่าฟันความท้าทายนี้ รวมถึงเตรียมความพร้อมของลูกค้าเพื่อรองรับการพลิกฟื้นของเศรษฐกิจเมื่อมรสุมนี้พัดผ่านไป ธนาคารไม่เพียงแต่ต้องการรอดพ้นวิกฤตินี้ แต่ยังมุ่งมั่นที่จะเติบโตและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อให้บรรลุพันธกิจที่จะเป็นธนาคารที่ให้บริการทางการเงินครบวงจรที่ดีที่สุด”

อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2551 แล้ว กำไรสุทธิของธนาคารลดลง 18.3% (หรือ 10.6% เมื่อหักรายได้พิเศษจากการลงทุนในไตรมาส 1/2551 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และภาษีเงินได้นิติบุคคลออก) ทั้งนี้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในตลาด ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่ธนาคารได้รับจากดอกเบี้ยระหว่างธนาคารลดลงจาก 3.8% ในไตรมาส 1/2551 เป็น 3.2% ในไตรมาส 4/2551 และเป็น 1.7% ในไตรมาส 1/2552 ตามลำดับ

ยุทธศาสตร์ในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ธนาคารได้วางไว้ผลักดันให้ผลประกอบการของธนาคาร ในไตรมาส 1/2552 เป็นที่น่าพอใจ ด้วยนโยบายควบคุมและบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารปรับลดระดับค่าใช้จ่ายลงมาที่ 8,121 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาส 1/2551 และลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย 9,455 ล้านบาท ในไตรมาส 4/2551 โดยธนาคารยังคงเดินหน้าขยายธุรกิจลูกค้าบุคคล มุ่งดำเนินงานในโครงการสำคัญๆ อย่างไม่หยุดยั้ง รวมถึงการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งและมีความพร้อมในการขยายธุรกิจอย่างเต็มที่ พร้อมพัฒนาการจัดการติดตามหนี้เก่าที่มีปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อใหม่อย่างรอบคอบระมัดระวัง ทำให้คุณภาพสินเชื่อของธนาคารดีขึ้นโดยระดับสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ลดลงจาก 5.1% (50,067 ล้านบาท) ณ สิ้นปี 2551 มาอยู่ที่ 4.6% (49,926 ล้านบาท) ในไตรมาส 1/2552

นอกจากนี้ อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของธนาคาร ตามหลักเกณฑ์ BASELII จาก 15.2% ณ สิ้นปี 2551 เป็น 15.6% ในไตรมาส 1/2552 นั้น แสดงถึงความแข็งแกร่งของธนาคารในการรับมือกับภาวะความเสี่ยงและโอกาสธุรกิจที่เกิดขึ้นได้อย่างดีอีกด้วย

นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า แม้จะยังไม่เห็นจุดสิ้นสุดของสภาวะวิกฤตินี้ แต่ผลประกอบการของธนาคารแสดงให้เห็นว่า ยุทธศาสตร์ที่ธนาคารวางไว้มีความเหมาะสม และธนาคารสามารถปรับตัวเพื่อรองรับความผันแปรของสถานการณ์และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ ธนาคารยิ่งเล็งเห็นถึงความสำคัญของการช่วยเหลือลูกค้าของธนาคาร อีกทั้งมองเห็นโอกาสในการสร้างส่วนแบ่งทางการตลาด โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ขณะเดียวกัน บริหารควบคุมค่าใช้จ่ายในระดับที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำกำไรให้ดียิ่งขึ้น และสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าให้กับธุรกิจของธนาคารได้มากขึ้นด้วย

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานก่อนสอบทานของธนาคารและบริษัทย่อยในไตรมาสแรกปี 2552 ว่า มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 3,799.8 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 4,437.9 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 14.38% และมีกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 1.59 บาท ลดลงจากช่วยเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 1.85 บาท หรือลดลง 14.06%

ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 1,217,861 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อ 877,141 ล้านบาท เงินฝาก 914,106 ล้านบาท มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ 15.63% แบ่งเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ 10.17% เงินกองทุนชั้นที่ 2 ที่ 5.46% และสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL Gross) เท่ากับ 3.70% และมีสัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพสุทธิ (NPL Net) ที่ 1.85%

แบงก์ใหญ่กรุงไทยร่วงแรงสุด

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB แจ้งว่า ผลประกอบการในไตรมาส 1/2552 ก่อนสอบทาน มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,512.67 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลกำไรสุทธิอยู่ที่ 4,139.67 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 39.30% และมีกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.22 บาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.37 บาท หรือลดลง 40.54%

นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIBเปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของธนาคาร (ก่อนสอบทาน) สําหรับไตรมาสที่ 1 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2552 ซึ่งตามงบการเงินรวมธนาคารมีกำไรสุทธิ จํานวน 651ล้านบาท ขณะที่ตามงบการเงินเฉพาะธนาคารมีกำไรสุทธิ 927 ล้านบาท กำไรสุทธิตามงบการเงินรวมต่ำกว่างบการเงินเฉพาะมีสาเหตุหลักจากบริษัทย่อยมีผลขาดทุนจากการบันทึกบัญชีเงินลงทุนตามราคาตลาด (mark to market) กำไรสุทธิตามงบการเงินรวม จำนวน 651 ล้านบาท ดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของธนาคารสําหรับไตรมาสเดียวกันของปี 2551 ซึ่งมีกําไรสุทธิ 1,334 ล้านบาท ธนาคารมีกำไรสุทธิลดลง จำนวน 683 ล้านบาท คิดเป็น 51% ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน จำนวน 238 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น จำนวน 368 ล้านบาท

นายธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KK เปิดเผยว่า ไตรมาส 1/2552 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ เท่ากับ 379 ล้านบาท ลดลง 37.6% เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิจำนวน 607 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2551 เป็นผลจากฐานเงินฝากมีอัตราการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราการเติบโตของเงินให้สินเชื่อชะลอตัวลงตามนโยบายที่จะเน้นคุณภาพสินทรัพย์ และขยายสินเชื่ออย่างระมัดระวังและรอบคอบในภาวะเศรษฐกิจซบเซาเช่นในปัจจุบัน ทำให้รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิชะลอตัวลง 3.6% จากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 26.4% สูงกว่ารายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเพียง 8.1 %

ทั้งนี้จากความสำเร็จในการควบคุมและรักษาคุณภาพสินทรัพย์ ปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มีจำนวน 6,873 ล้านบาท หรือ 7.08% ของสินเชื่อรวม ลดลงจาก 7,059 ล้านบาท หรือ 7.15% ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 2551 ทำให้ธนาคารมีการโอนกลับหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 92 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อและหนี้ปรับโครงสร้าง เทียบกับรายการโอนกลับจำนวน 9

ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิหลังหักหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น 4%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us