Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2531
แพ็คกิ้ง เครดิต เพื่อการส่งออก บทเรียนจากกรณีมินิแบร์กรุ๊ป             
โดย สมชัย วงศาภาคย์
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
มินิแบแห่งประเทศไทย
Import-Export
Loan




การให้สินเชื่อส่งออกในรูปรับซื้อช่วงลดตั๋วส่งออก หรือที่เรียกกันว่าสินเชื่อแพ็คกิ้ง เครดิต ของแบงก์ชาติแก่พ่อค้าส่งออกมีมานานแล้ว 30 ปี จุดมุ่งหมายสำคัญมี 2 ประการคือ หนึ่ง-ใช้กลไกสินเชื่อนี้อุดหนุนแก่ผู้ส่งออกเพื่อเพิ่มอำนาจซื้อผลผลิตจากผู้ผลิต ขณะเดียวกันก็ช่วยผู้ส่งออกในการลดต้นทุนส่งออกเพื่อความสามารถในการระบายผลผลิตสู่ตลาดโลกได้คล่องตัวขึ้น และสอง-ช่วยให้แบงก์พาณิชย์ซึ่งเป็นตัวกลางในการรับซื้อลดตั๋วส่งออกจากพ่อค้าก่อนนำมาขายลดต่อแบงก์ชาติอีกทีหนึ่ง มีรายได้จากส่วนต่างดอกเบี้ยประมาณ 2%

วงเงินสินเชื่อประเภทนี้โดยปกติแบงก์ชาติจะกำหนดวงเงินในสัดส่วนเมื่อเทียบกับฐานเงินไม่เกิน 40% อยู่ระหว่าง 20,000-30,000 ล้านบาท วงเงินจำนวนนี้แบงก์ชาติจะจัดสรรแก่แบงก์พาณิชย์เพื่อไปปล่อยแก่ผู้ส่งออกอีกต่อหนึ่ง

การจัดสรรแก่แบงก์พาณิชย์ แบงก์ชาติใช้บรรทัดฐาน 2 ประการ คือ หนึ่ง-ดูประวัติการใช้วงเงินอำนวยสินเชื่อแก่ผู้ส่งออกว่าแบงก์แต่ละแห่งมีจำนวนเท่าไร และสอง-ดูความร่วมมือของแบงก์ฯ ในด้านต่างๆ เช่นการซื้อพันธบัตร การปฏิบัติตามกฎหมายที่แบงก์ชาติขอไป

แต่ความสำคัญสูงสุดแล้วแบงก์ชาติจะดูที่ประวัติการใช้จำนวนเงินสินเชื่อประเภทนี้ของแบงก์ฯ (PAST PERFORMANCE) เป็นจัดหนัก

ซึ่งแน่นอนบนบรรทัดฐานนี้แบงก์กรุงเทพซึ่งมุ่งทำธุรกิจ TRADE FINANCE เป็นจุดหนัก ย่อมได้รับการจัดสรรจำนวนวงเงินสูงสุด (ดูตารางการจัดสรรเงินประกอบ) เมื่อเทียบกับแบงก์อื่น

จากข้อมูลในตารางพบว่า ณ 28 ก.ค. 2531 แบงก์ชาติจัดสรรเงินนี้เป็นจำนวน 21,307.2 ล้านบาท แบงก์กรุงเทพมีส่วนแบ่งสูงถึง 35%!

วงเงินแพ็คกิ้ง เครดิต แบงก์ไหนๆ ก็อยากได้รับการจัดสรรสูงสุด เพราะแทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ก็ได้รับส่วนต่างดอกเบี้ยจากขายลดถึง 2% สบายๆ

แบงก์ชาติรับซื้อลดตั๋วส่งออกจากแบงก์พาณิชย์ดอกเบี้ย 5% ขณะที่แบงก์พาณิชย์รับซื้อตั๋วส่งออกจากผู้ส่งออกดอกเบี้ย 7%

กระบวนการคิดดอกเบี้ยจากสินเชื่อแพ็คกิ้ง เครดิตที่เป็นมาเป็นอย่างนี้ ไม่ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดจะสูงขึ้นเป็นเท่าไรก็ตาม!

สำหรับวงเงินรับซื้อตั๋วส่งออกของแบงก์พาณิชย์จากผู้ส่งออกก็ขึ้นอยู่กับประเภทของตั๋ว ถ้าเป็นตั๋ว L/C ก็ 80% ของมูลค่าหน้าตั๋ว ตั๋วแลกเงินก็ 90% ของมูลค่าหน้าตั๋ว ใบสัญญาซื้อขายก็ 70% ของหน้าตั๋ว และถ้าเป็นใบรับฝากสินค้าก็ 60% ของมูลค่าหน้าตั๋ว

แบงก์พาณิชย์ให้ระยะเวลา MATURITY DATE แก่ผู้ส่งออกไม่เกิน 3 เดือนหรือ 180 วัน!

โดยรวมแล้ววงเงินรับซื้อตั๋วส่งออกตามเอกสารประเภทดังกล่าวของแบงก์พาณิชย์จากผู้ส่งออกโดยเฉลี่ยจะอยู่ในอัตราประมาณ 75% ของมูลค่าหน้าตั๋วเท่านั้น

นั่นหมายความว่าผู้ส่งออกจะต้องหาเงินมาสมทบเองอีก 25%!

แต่ผู้ส่งออกพืชผลระดับยักษ์ใหญ่ว่ากันว่าแทบจะไม่ต้องหาเงินตัวเองมาสมทบเลย เพราะเป็นลูกค้ารายใหญ่ของแบงก์อยู่แล้ว เงินที่มาสมทบก็มาจากแบงก์นั่นแหละไม่จำเป็นต้องเป็นของตัวเองหรอก ดอกเบี้ยที่เสียให้แบงก์ก็ต่ำมากๆ

"อย่างแบงก์กรุงเทพเขาคิดดอกเบี้ยแก่ลูกค้ายักษ์ใหญ่ของเขาในอัตราเท่ากับวงเงินสินเชื่อแพ็คกิ้ง เครดิตประมาณ 7% หรืออย่างมากก็สูงกว่าไม่เกิน 0.5% เท่านั้น" แหล่งข่าวในแบงก์ชาติกล่าว

รวมความแล้วสินเชื่อแพ็คกิ้ง เครดิตที่แบงก์ชาติใช้มาตลอด 30 ปี จึงเป็นขนมหวานชั้นดีที่ทั้งแบงก์พาณิชย์และผู้ส่งออกระดับยักษ์ใหญ่ต่างสวาปามกันอย่างเมามัน

บริษัทผู้ส่งออกบางรายอย่างมินิแบร์ (ไทย) ซึ่งส่งออกตลับลูกปืน ว่ากันว่า สวาปามสินเชื่อแพ็คกิ้ง เครดิตทั้งก่อนและหลังส่งมอบสินค้าทำให้บริษัทแห่งนี้ใช้วงเงินแพ็คกิ้ง เครดิตจำนวนสูงกว่า 1,200 ล้านบาท

ปี 2530 ยอดส่งออกตลับลูกปืนมีมูลค่า 2,492 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าใช้วงเงินแพ็คกิ้ง เครดิตจำนวน 2,633 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่ายอดส่งออกเสียอีก สัดส่วนสูงถึง 106.6%!

เฉพาะบริษัทกลุ่มมินิแบร์แห่งเดียวมีส่วนแบ่งใช้แพ็คกิ้ง เครดิตเกือบ 50% เข้าไปแล้ว!

ตัวอย่างนี้แสดงว่าระเบียบการจัดสรรและใช้แพ็คกิ้ง เครดิต มีจุดบกพร่องเอามากๆ

ขณะเดียวกันก็ปรากฏว่าสมาคมผู้ผลิตตลับลูกปืนของสหรัฐฯ ได้ร้องเรียนไปยัง US TR ให้ออกมาตรการตอบโต้ด้วย CVD ต่อกลุ่มบริษัทมินิแบร์ (ไทย) ที่ผลิตตลับลูกปืนทุ่มตลาดเข้าไปในสหรัฐฯ โดยอาศัยสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากได้รับการส่งเสริมจาก B.O.I. และการอุดหนุนสินเชื่อแพ็คกิ้ง เครดิตดอกเบี้ยต่ำจากแบงก์ชาติ

ซึ่งถือว่าสิทธิพิเศษเหล่านี้เป็นข้อได้เปรียบด้านต้นทุนส่งออกของกลุ่มบริษัทมินิแบร์ (ไทย) ที่ผู้ผลิตตลับลูกปืนในสหรัฐฯ เห็นว่าไม่เป็นธรรม

US TR ประกาศ SURCHARGE CVD 17.83% แก่มินิแบร์ (ไทย) และหยิบยกเหตุข้อได้เปรียบด้านดอกเบี้ยต่ำจากแพ็คกิ้ง เครดิตเป็นจุดโจมตีว่า

"การที่แบงก์ชาติให้การอุดหนุนการเงินดอกเบี้ยต่ำจากแพ็คกิ้ง เครดิตแก่มินิแบร์ช่วยให้บริษัทมินิแบร์มีต้นทุนการส่งออกตลับลูกปืนได้เปรียบกว่าคู่แข่งขันในสหรัฐฯ สูงถึง 2.8% ของต้นทุนการผลิตรวม"

นี่เป็นบทเรียนที่แบงก์ชาติถือเป็นเหตุหนึ่งในการปรับดอกเบี้ยแพ็คกิ้ง เครดิตใหม่จาก 7% เป็น 10%!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us