Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์20 เมษายน 2552
ผู้บริโภคจี้บัตรเครดิต - สินเชื่อบุคคลลดดอกเบี้ย วอนแบงก์ชาติบีบผู้ประกอบการช่วยประชาชน             
 


   
search resources

Interest Rate




มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเตือนสติแบงก์ชาติบีบผู้ประกอบการบัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคลลดดอกเบี้ยลง หลังจากดอกเบี้ยกู้ประเภทอื่นลดลงกันถ้วนหน้า ชี้ปี 2549 ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตเคยขอปรับดอกเบี้ยจาก 18% เป็น 20% แต่วันนี้ดอกเบี้ยฝากเหลือไม่ถึง 1% กลับนิ่ง แถมใช้ดอกเบี้ยเก่าสูบเงินจากประชาชนที่กำลังเดือดร้อน แนะใช้ดอกเบี้ยต่ำเท่ากับลดหนี้เสียไปในตัว

คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% จาก 1.5% ลงเหลือ 1.25% เมื่อ 8 เมษายน 2552 นับเป็นการส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินเป็นครั้งที่ 3 ในรอบปีจากดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.75% หลังจากที่ปรับลดครั้งใหญ่ไปเมื่อ 3 ธันวาคม 2551 จาก 3.75% เหลือ 2.75%

หากนับตั้งแต่ต้นปีกนง.ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงมา 1.5% ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากราว 1-1.25% ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ปรับลดลงมา 0.5-0.75% แม้ว่าธนาคารจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่เท่ากันระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากกับดอกเบี้ยเงินกู้ แต่ก็ยังเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ที่ต้องผ่อนชำระหนี้ได้ในระดับหนึ่ง

นั่นคือผลดีจากการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ ไม่ว่าจะเป็นภาคอสังหาริมทรัพย์หรือภาคเช่าซื้อล้วนปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ที่จะเป็นแรงหนุนกระตุ้นให้ภาคเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ สอดคล้องกับความต้องการของภาครัฐ

แต่ในอีกด้านหนึ่งแม้สถาบันการเงินหลายแห่งจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตามดอกเบี้ยนโยบายที่ส่งสัญญาณโดยธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ธุรกิจด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลกลับยังคงอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บต่อลูกค้ามาโดยตลอด โดยดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดที่ 18% สินเชื่อบุคคลคิดดอกเบี้ยที่ 28% ทั้ง 2 อัตราเป็นแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate)

อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวถูกใช้มาตั้งแต่ปี 2549 โดยที่ดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคลถูกควบคุมให้อยู่ที่ระดับ 28% มีผลเมื่อ 20 กรกฎาคม 2549 ส่วนดอกเบี้ยบัตรเครดิตได้ขอปรับขึ้นดอกเบี้ยจาก 18% เป็น 20% มีผลเมื่อ 13 พฤศจิกายนปีเดียวกัน

ไม่ยอมลดดอกเบี้ย

แหล่งข่าวจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่า การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 18% เป็น 20% นั้น เกิดขึ้นจากการที่ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตได้เข้าไปร้องขอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2549 หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศปรับเพิ่มขึ้นโดยดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนั้นอยู่ที่ 4-5% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้(MLR)อยู่ที่ 7.5-7.75%

ในปี 2549 กนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 4% เป็น 5% ในช่วงต้นปีและตรึงดอกเบี้ยที่อัตราดังกล่าวตลอดครึ่งปีหลัง ทำให้ธนาคารพาณิชย์ปรับดอกเบี้ยขึ้น ต้นทุนในการทำธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลจึงสูงขึ้นตามทำให้ต้องขอปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น

จากวันนั้นถึงวันนี้เพียง 2 ปีเศษ กนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากที่เคยสูงที่ 5% เหลือเพียง 1.25% แต่ดอกเบี้ยของบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลยังอยู่ในระดับเดิมคือ 18% และ 28%

ตรงนี้ไม่มีผู้ประกอบการรายใดแสดงตัวออกมาว่า อยากจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหมือนเมื่อครั้งขอขึ้นดอกเบี้ย แม้ว่าดอกเบี้ยที่ 20% หรือ 28% จะเป็นเพดานที่กำหนดไว้ แต่หากผู้ออกบัตรแสดงความจริงใจทำไมไม่ลดดอกเบี้ยลงมาเหลือสัก 10-12% เพราะถ้าเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ต่ำกว่า 1% ส่วนต่าง 9-11% ก็สร้างกำไรให้กับผู้ประกอบการได้ไม่น้อย อีกทั้งอัตราดังกล่าวก็ยังสูงกว่าดอกเบี้ยซื้ออสังหาริมทรัพย์ จึงน่าจะเป็นที่ยอมรับกันได้ทุกฝ่าย

'ตอนนี้ทุกคนเงียบกันหมด แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีความพยายามเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาดูแลในเรื่องนี้ แต่ทุกอย่างก็ไม่คืบหน้า'

วอนอย่าอุ้มผู้ออกบัตร

วันนี้สถานการณ์ตรงข้ามกับปี 2549 แบงก์ชาติไม่เคยออกมาแสดงความเป็นห่วงใยของภาคประชาชน มองแต่ว่าคนที่เป็นหนี้บัตรเครดิตนั้นเป็นกลุ่มที่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ไม่มีวินัยทางการเงิน เห็นได้จากการกำหนดให้ยอดชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตต้องอยู่ที่ 10% จึงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงว่าที่ผ่านมาแบงก์ชาติปกป้องใครมากกว่ากัน เพราะทุกอย่างเน้นไปที่คุ้มครองผู้ออกบัตรเป็นหลัก แถมยังปล่อยให้มีส่วนต่างของดอกเบี้ยในธุรกิจประเภทนี้สูงถึง 19%

แม้ว่าแบงก์ชาติจะให้เหตุผลในเรื่องของความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน แต่ต้องพิจารณาด้วยว่านี่เป็นเรื่องของธุรกิจ ที่ผู้ให้บริการต้องมีความเสี่ยงควบคู่กันไปด้วย หากแบงก์ชาติปล่อยให้ผู้ออกบัตรกินส่วนต่างสูงเช่นนี้ แถมบีบให้ผู้ผ่อนชำระต้องชำระขั้นต่ำที่ 10% อย่างนี้ไม่เรียกว่าอุ้มผู้ออกบัตรแล้วจะเรียกว่าอุ้มใคร

ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ภาคประชาชนไม่มีแหล่งเงินดอกเบี้ยต่ำให้นำไปใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิต เมื่อไม่มีทางเลือกจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก็ต้องยอมเป็นหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อบุคคล ถามว่าระหว่างลูกค้าที่เป็นหนี้แบบผ่อนชำระกับลูกค้าดีที่จ่ายครบตามจำนวนผู้ให้บริการชอบลูกค้าประเภทไหนมากกว่ากัน

ทุกคนก็รู้คำตอบดีว่าหากเป็นลูกค้าที่ผ่อนชำระ ผู้ออกบัตรจะมีรายได้ 2 ทางคือจากเจ้าของสินค้าตามยอดขายสินค้าและได้ดอกเบี้ยผ่อนชำระอีก 18-20% แต่ถ้าเป็นลูกค้าดีจะมีรายได้แค่ทางเดียวตามยอดใช้จ่ายจากเจ้าของสินค้าเท่านั้น

ลดดอกเบี้ยหนี้เสียน้อย

ขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังมีปัญหา ประชาชนบางส่วนถูกเลิกจ้าง ผู้ออกบัตรเครดิตหลายแห่งได้เพิ่มรายได้ขั้นต่ำของผู้สมัครบัตรเครดิตจาก 15,000 บาทต่อเดือนเป็น 20,000 บาทต่อเดือนเพื่อลดความเสี่ยง

แต่หากผู้ออกบัตรลองพิจารณาดูว่าลูกค้าที่ดีนั้น หากท่านปรับลดอัตราดอกเบี้ยลดมา ย่อมทำให้โอกาสของหนี้เสียจากลูกค้าของท่านจะน้อยลงหรือไม่ หรือเลือกคงดอกเบี้ยในอัตราเดิมแต่ต้องมาเสี่ยงกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จากการที่ลูกหนี้ไม่มีปัญญาที่จะจ่าย

นอกจากนี้หากใครที่เคยถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้อง ก็จะทราบดีว่าขั้นตอนในการเจรจาประนอมหนี้เกือบทุกรายจะเน้นไปที่การลดอัตราดอกเบี้ยให้(แล้วแต่ตกลง) บางรายดอกเบี้ยไม่คิดแถมลดเงินต้นให้อีกส่วนหนึ่งก็มี ตรงนี้ผู้ให้บริการคงต้องมานั่งทบทวนว่าดอกเบี้ยที่ต่ำติดดินเกือบ 0% ในเวลานี้หากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมา นอกจากจะเป็นการช่วยลูกค้าของท่านแล้วยังเป็นการช่วยกิจการของท่านเอง ซึ่งไม่แตกต่างกับการที่ลูกหนี้เบี้ยวแล้วค่อยมาเจรจากันภายหลัง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us