Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์20 เมษายน 2552
อัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง 3 เดือน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Economics




อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมีนาคม 2552 ลดลง 0.2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) เท่ากับที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คาดการณ์ไว้ โดยเป็นการติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 จากที่ลดลง 0.1% (YoY) ในเดือนกุมภาพันธ์

ในด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนนี้อยู่ที่ 1.5% (YoY) ต่ำลงจาก 1.8% ในเดือนก่อนหน้า สำหรับในช่วงไตรมาสที่ 1/2552 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 0.3% และ1.7% ตามลำดับ ลดลงจาก 2.2% และ 2.0% ในไตรมาสที่ 4/2551 ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2552 ไว้ที่ 0.0-0.5%

อัตราเงินเฟ้อที่ติดลบดังกล่าวอาจเป็นสิ่งที่สะท้อนกำลังซื้อที่อ่อนแอลง แม้ว่าตัวเลขเงินเฟ้อที่ติดลบนี้ ในด้านหนึ่งจะเป็นผลมาจากปัจจัยด้านอุปทานที่ได้รับอิทธิพลจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ แต่อีกด้านหนึ่งก็อาจสะท้อนความอ่อนแอของอุปสงค์ ที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยรวมหดตัวลง ตามภาวะการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นและรายได้ที่ลดลง

ขณะเดียวกัน ในด้านราคาสินค้านั้น ในขณะนี้ไม่ได้ปรับลดลงเมื่อเทียบเดือนต่อเดือน โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (Month-on-Month) มีทิศทางที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ตามทิศทางราคาน้ำมันและสินค้าอาหาร แต่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบอยู่ในขณะนี้เป็นการคำนวณโดยการเปรียบเทียบราคา ณ ปัจจุบัน กับราคาในช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า จึงต้องเปรียบเทียบกับฐานดัชนีราคาที่สูงอย่างมากในปีก่อน จากการที่ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งหากพิจารณาถึงภาวะเงินเฟ้อทั่วไปในกรณีหากไม่รวมผลของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐบาลภายใต้ 6 มาตรการ 6 เดือน พบว่าอัตราเงินเฟ้อยังเป็นตัวเลขบวก

โดยปัจจัยหนึ่งที่มีผลให้ตัวเลขเงินเฟ้อติดลบในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาคือผลของ 6 มาตรการ 6 เดือน ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่ารถโดยสารประจำทางและรถไฟปรับลดลง ซึ่งหากขจัดผลของปัจจัยดังกล่าวนี้ออกไป พบว่า โดยแท้จริงแล้วอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังไม่ลงไปเป็นตัวเลขติดลบ

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) อาจจะยังคงมีตัวเลขติดลบที่รุนแรงขึ้นในช่วงเดือนเมษายนไปจนถึงเดือนกรกฎาคม เนื่องจากผลของฐานเปรียบเทียบที่สูงอย่างมากในปีก่อน สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะมีทิศทางชะลอลงต่อเนื่องในเดือนต่อๆ ไป โดยมีโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะติดลบบางเดือนในช่วงกลางปี

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจจะหดตัวลงประมาณ 1.0-1.8% และจะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำไปจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 ส่งผลให้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อตลอดทั้งปี 2552 อาจจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วงลดลง 1.0% ถึงเพิ่มขึ้น 0.5% ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลงจาก 5.5% ในปี 2551 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ค่าเฉลี่ยทั้งปีน่าจะยังคงเป็นตัวเลขบวก โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2552 จะอยู่ที่ประมาณ 0.0-1.0% ลดลงจาก 2.4% ในปี 2551

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า ในสภาวะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจบ่งชี้การทรุดตัวลงรุนแรงมากขึ้นของการใช้จ่ายภายในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุน ซึ่งเมื่อผนวกกับปัจจัยลบจากการหดตัวลงรุนแรงต่อเนื่องในภาคการส่งออกแล้ว จะยิ่งกดดันอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยให้ถดถอยลงรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้อนแรงขึ้นจะยิ่งซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจให้จมดิ่งลงลึกมากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้น สภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องนี้ น่าจะเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้ทางการยังสามารถใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงได้อีก เพื่อเสริมกับมาตรการทางการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us