Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์20 เมษายน 2552
เนสท์เล่พัฒนาวิธีออกแบบ Kansei กับงานแพกเกจจิ้ง             
 


   
www resources

โฮมเพจ เนสท์เล่ประเทศไทย

   
search resources

เนสท์เล่ (ไทย), บจก.
Packaging




ท่ามกลางสถานการณ์ทางการตลาดที่ไม่สู้ดี บริษัทยักษ์ใหญ่วงการอาหารและเครื่องดื่มรายเนสท์เล่ ได้ตัดสินใจสร้างเครือข่ายการออกแบบระดับโลกภายใน ที่เกิดมาจากการนำเอาปรัชญาการออกแบบของญี่ปุ่น ที่เรียกว่า คันไซ (Kansei) ซึ่งเป็นปรัชญาการออกแบบที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากอุตสาหกรรมยานยนต์มาใช้ในการตรวจจับหาอารมณ์และความรู้สึกของลูกค้า

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เพิ่มดีไซเนอร์ที่รับผิดชอบงานการออกแบบของเนสท์เล่ได้ยอมรับเอาปรัชญาแนวคิดการออกแบบของ 'คันไซ' มาใช้

วิธีการออกแบบคันไซ (Kansei) เป็นวิธีการที่มุ่งเน้นการตรวจจับความรู้สึกหรือการรับรู้ทางอารมณ์ของลูกค้าเกี่ยวกับไอเดียด้านความงดงามและละเอียดอ่อนของการออกแบบ ในขั้นตอนแรกเริ่มของกระบวนการออกแบบ ก่อนที่จะเริ่มลงมือร่างแบบด้วยการเขียนแนวคิดบนกระดาษ เป็นการแปลงผลข้อมูลที่ได้เป็นการออกแบบทางกายภาพ ที่จะตอบสนองต่อความต้องการเชิงความรู้สึกของลูกค้า เพื่อให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์มาจากความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและมีความกลมกลืนกับธรรมชาติ พร้อมกับมีความละเอียดอ่อน

แนวคิดแบบคันไซนี้นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการออกแบบของญี่ปุ่นมาแล้วนักต่อนัก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เริ่มเข้าสู่ระยะของการอิ่มตัว และอุตสาหกรรมสินค้าใหม่ที่คนไม่คุ้นเคย ให้สามารถเข้าใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น

กิจการของญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จด้านการออกแบบ ด้วยการนำแนวคิดด้านความงดงามมาสร้างความประทับใจแก่ลูกค้ามาแล้ว ได้แก่ บริษัทยานยนต์อย่างมาสด้าและโตโยต้า ตลอดจนกิจการที่ออกแบบหุ่นยนต์ที่สามารถเปลี่ยนความรู้สึกบนใบหน้าได้ 36 ลักษณะเพื่อให้มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น

กรณีของเนสท์เล่ได้เอาแนวคิดของคันไซไปใช้ในทั้งการพัฒนารูปแบบของตัวผลิตภัณฑ์และแพกเกจหีบห่อสินค้า โดยพยายามค้นหาความหมายและรูปแบบของการออกแบบที่สื่อถึงความรู้สึกของลูกค้า ในแง่ต่างๆ เช่น ความรู้สึกว่าการออกแบบดูงดงามแบบมีสไตล์ (Stylish)ความรู้สึกว่าการออกแบบดูเลิศหรูกว่า (Premium) ความรู้สึกว่าการออกแบบดูทำให้สิ่งนั้นมีคุณค่า (Quality) เป็นต้น

การที่จะเกิดความรู้สึกที่ว่านี้ได้ ก็เพียงแต่อาศัยการปรับเปลี่ยนรูปทรงของสินค้าหรือแพกเกจหีบห่อใหม่ให้มีความงดงามเพิ่มขึ้น และกลมกลืนกับธรรมชาติมากขึ้น เกิดความเชื่อมโยงด้านความพอใจของลูกค้ากับรูปทรงของการออกแบบที่มีการปรับเปลี่ยนใหม่

ตามแนวคิดทางการตลาดของเนสท์เล่ แพกเพจหีบห่อไม่ได้เป็นเพียงส่วนประกอบเพื่อประโยชน์ใช้สอยในการบรรจุหรือพกพาตัวสินค้าเท่านั้น หากแต่ยังเป็นส่วนที่ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ในตัวเอง ที่แยกต่างหากจากสินค้าหลักภายในหีบห่อจนมีส่วนช่วยในการเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้า เมื่อได้มีโอกาสสัมผัสกับสินค้าด้วยประสาทส่วนใดส่วนหนึ่งในประสาททั้ง 5

แนวคิดของคันไซที่นำมาใช้ในการพัฒนาการออกแบบของเนสท์เล่นั้น คงจะเจาะจงใช้เฉพาะกับสินค้าบางแบรนด์เท่านั้น ไม่ใช่ว่าจะใช้กับทุกแบรนด์ของสินค้าของเนสท์เล่

ผลที่จะติดตามมาจากการนำปรัชญาคันไซมาใช้ในเนสท์เล่ ประการแรก การปรับโครงสร้างด้านการออกแบบและการพัฒนา จากการใช้ที่ปรึกษาหรือทีมมืออาชีพจากภายนอกกิจการ มาเป็นกระบวนการจากอินเฮาส์แทน ด้วยวิธีการดังกล่าว เนสท์เล่ได้สร้างเครือข่ายของดีไซเนอร์มืออาชีพกว่า 20 คนทีเดียว ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดสำหรับการออกแบบแพกเพจของเนสท์เล่ สามารถลงมือลงทุนและลงแรงในด้าน R&D ได้ทันทีในจุดที่ต้องการ ในพื้นที่ทางการตลาดที่ต้องการ

ประการที่สอง เนสท์เล่จะสามารถรวบรวมข้อมูลที่เป็นฐานข้อมูล สำหรับใช้ในการติดตามและประเมินความต้องการที่แท้จริงตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของกระบวนการไปจนถึงจุดที่เกิดผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนางานออกแบบแล้ว

ประการที่สาม สินค้าที่อยู่ในข่ายเป้าหมายของการพัฒนางานออกแบบด้วยปรัชญาคันไซ ได้แก่ กล่องช็อกโกแลต แบล็ก เมจิก (Black Magic) ให้มีรูปทรง สีสัน หน้าตาโดนความรู้สึกของลูกค้า เข้าถึงความรู้สึกและความเชื่อว่าช็อกโกแลตนั้นแสนอร่อยได้ และสามารถได้ภาพที่ชัดเจนว่าอะไรคือความสำเร็จของการออกแบบอย่างแท้จริง

การที่บริษัทยักษ์ใหญ่ของสวิสอย่างเนสท์เล่ ยอมรับเอาปรัชญาการสัมผัสความรู้สึกแบบ 'คันไซ' มาใช้ เป็นครั้งแรกของการพยายามแสวงหาแนวคิดด้านการพัฒนาการออกแบบ โดยเพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างซีกโลกตะวันตกกับซีกโลกตะวันออกมากขึ้น

คงต้องรอดูว่า ผลิตภัณฑ์และแพกเกจที่ผ่านการออกแบบด้วยปรัชญาคันไซจะเพิ่มความสำเร็จให้กับเนสท์เล่มากน้อยเพียงใด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us