Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 เมษายน 2552
แบงก์ผุดแนวคิดขอลดเงินสมทบ แลกลดอกเบี้ยกู้-ช่วยกระตุ้นศก.             
 


   
search resources

อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
Banking and Finance




ประธานสมาคมธนาคารไทยผุดแนวคิดขอลดเงินสมทบที่ต้องจ่ายให้สถาบันประกันเงินฝาก 0.4% เพื่อลดต้นทุนและไปเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝากหรือลดดอกเบี้ยเงินกู้แทน หวังบรรเทาภาระลูกค้า และเป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทางหนึ่ง ชี้สิ่งที่กังวลสุดขณะนี้คือความเชื่อมั่นหากถูกบั่นทอนต่อไปอาจมีผลต่อเงินไหลออกได้ ส่วนนโยบายรัฐหันกู้ในประเทศมากขึ้นจะส่งผลให้ธนาคารมียอดปล่อยสินเชื่อเพิ่มยันสภาพคล่องมีพอเพียงรองรับ ด้านแบงก์กรุงไทยไตรมาสแรกสินเชื่อโต 1.7%

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวนี้ไม่ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเท่าไหร่ก็ไม่ได้เป็นส่วนที่ช่วยให้สินเชื่อมีเพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันก็แทบจะลดลงอีกไม่ได้เนื่องจากมีอัตราที่ต่ำมากแล้ว อีกทั้งในขณะนี้สิ่งที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงผู้ฝากเงินเพราะถือว่าเป็นผู้ที่นำเอาเงินส่วนของดอกเบี้ยที่ได้รับมาใช้จ่ายในระบบซึ่งหากผู้ฝากได้รับอัตราดอกเบี้ยที่น้อยก็อาจจะไม่นำเอาเงินออกมาใช้จ่ายก็จะมีผลกระทบต่อมายังเศรษฐกิจได้

ทั้งนี้จึงได้มีแนวคิดเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ฝากเงินด้วยการจะเสนอให้สถาบันประกันเงินฝากลดเงินสมทบในการเรียกเก็บจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันเรียกเก็บอยู่ที่ 0.4% ของเงินฝาก ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ 0.5%ซึ่งเมื่อเทียบแล้วเงินสมทบดังกล่าวคิดเป็นถึง 80% ของเงินฝากดังนั้นหากสามารถลดเงินสมทบดังกล่าวได้ ก็จะทำให้มีต้นทุนที่ลดลงและธนาคารก็จะสามารถไปขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากได้ให้กับผู้ฝากได้หรือลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็ได้

"ในภาวะเศรษฐกิจที่แย่ถ้าเราช่วยผู้ฝาก หรืออะไรที่เราลดต้นทุนได้ก็จะเป็นส่วนที่ช่วยผู้ฝากและจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจที่ผ่านมาก็เคยพูดทางวาจาไปบ้างแล้ว แต่เรื่องก็เงียบไปส่วนการลดเงินสมทบดังกล่าวไม่ได้เป็นส่วนช่วยให้สินเชื่อเพิ่มแต่ก็คงจะเป็นการช่วยบรรเทาได้บ้างส่วนสเปรดของแบงก์พาณิชย์ตอนนี้ถือว่าแคบคงกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนเพราะที่ผ่านมามีการปรับลดดอกเบี้ยมาตลอดซึ่งก็เป็นการลดตามโครงสร้าง"

นายอภิศักดิ์ ทั้งนี้สิ่งที่กังวลที่สุดในขณะนี้ก็คือความมั่นใจในทุกด้านโดยมีการเมืองเป็นตัวเริ่มต้น ถ้ามีความนิ่งก็จะเป็นส่วนให้รัฐได้ลงทุนในโครงการต่าง ๆ ก็จะทำให้เอกชนมีงานทำและต่อเนื่องไปยังภาคส่วนอื่นได้อีก ส่วนสภาพคล่องในตอนนี้ถือว่ายังมีอยู่มาก

แต่หากนักลงทุนยังคงขาดความเชื่อมั่นแล้วมีการถอนเงินลงทุนก็อาจทำให้เกิดการไหลออกของเงินและอาจมีผลต่อสภาพคล่องก็เป็นไปได้

สำหรับผลประกอบการของธนาคารในไตรมาสแรกของปีนี้มียอดสินเชื่อเพิ่มขึ้น 1.7% หรือเป็นเงินประมาณ 17,000 ล้านบาท ซึ่งหากสินเชื่อยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องก็เชื่อว่าในปีนี้จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้าหมาย ส่วนการทำกำไรปีนี้ยอมรับว่าคงจะน้อยกว่าในปีที่ผ่านมา เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อัตราการขยายตัวของสินเชื่อน้อย เกิดจากความต้องการสินเชี่อเพื่อการลงทุนของเอกชนลดลง หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันรายได้พิเศษ ที่มีกำไรจากการขายหุ้น หรือรายได้จากเงินลงทุน เช่น จากเดิมธนาคารมีเงินปันผลจากการลงทุนกองทุนวายุภักษ์ จากเดิมได้ปีละ 1,000 ล้านบาท มีเศรษฐกิจมีปัญหาเงินลงทุนดังกล่าวก็ต้องปรับตัวลดลง

ส่วนกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายจะกู้เงินในประเทศประมาณ 90,000 ล้านบาท นั้น ธนาคารพาณิชย์สามารถรองรับกับเงินกู้ดังกล่าวได้ เนื่องจากปัจจุบันสภาพคล่องส่วนเกินทั้งระบบมีอยู่ 800,000-900,000 ล้านบาท ซึ่งสภาพคล่องส่วนเกินที่เหลือมีเพียงพอต่อการกู้เงินของรัฐบาล และรองรับการกู้เงินจากภาคเอกชนได้โดยไม่มีปัญหา อย่างไรก็ตามผลจากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่กระทรวงการคลังมีการคาดการณ์ว่าปีนี้เศรษฐกิจจะติดลบ 5 % ซึ่งจะทำให้ผลจากการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐลดลง ในจุดนี้รัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงินจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น เพื่อนำเงินไปชดเชยกับรายได้ในการจัดเก็บที่ลดลง ส่งผลให้ยอดสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบเพิ่มขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us