|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
บอนด์ "เกาหลี-อิตาลี" ขายดีต่อเนื่อง บลจ.พร้อมใจส่งกองทุนโกยเงินเข้าพอร์ต ชูผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก-บอนด์ไทย "ทหารไทย" คลอดกองทุนเปิดทหารไทยเกาหลีใต้ รุ่นที่ 4 ลงทุนยาว 1 ปี ให้ผลตอบแทน 4.6% ต่อปี มั่นใจ ฐานะเกาหลีใต้ยังแกร่ง ด้าน "วรรณ" สานต่อกองที่ 2 ให้ผลตอบแทน 4.40% ต่อปี ขณะที่ "ไทยพาณิชย์" เดินหน้าออกกองบอนด์แดนมะกะโรนีกองที่ 4 ลงทุนสั้นๆ 6 เดือน
นายไพศาล ครุฑดำรงชัย รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 20-28 เมษายนนี้ บริษัทเตรียมที่จะเปิดขายกองทุนที่เข้าไปลงทุนในตราสารหนี้เกาหลีใต้ จำนวน 1 กองทุนคือ กองทุนเปิดทหารไทยเกาหลีใต้ รุ่นที่ 4 (TMB South Korean Series 4 ) อายุโครงการ 1 ปี โดยมีมูลค่ากองทุน 1,500 ล้านบาท สามารถจองซื้อขั้นต่ำ 2,000 บาท
โดยนโยบายในการลงทุนของกองทุนดังกล่าว จะเหมือนกับกองทุนเกาหลีใต้ที่เปิดขายไปแล้วก่อนหน้านี้จำนวน 5 กอง โดยจะลงทุนในพันธบัตรของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของเกาหลีใต้เท่านั้น โดยพันธบัตรดังกล่าวจะมีอายุคงเหลือประมาณ 1 ปี ซึ่งจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.6 ต่อปี โดยมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน
ทั้งนี้ กองทุนเปิดทหารไทยเกาหลีใต้เป็นกองที่ได้รับการตอบรับดีมากในขณะนี้ โดยนักลงทุนยังคงมีความต้องการและสอบถามเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทฯได้ออกกองทุนเพื่อลงทุนในพันธบัตรธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าเกาหลีใต้ไปแล้ว 5 กองทุน สามารถระดมเงินได้กว่า 9,000 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจนักลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกซึ่งนอกจากจะให้อัตราผลตอบแทนอยู่ในระดับที่สูงแล้ว ยังมีความมั่นคงโดยธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกประเทศเกาหลีใต้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากฟิทซ์ เรตติ้งอยู่ที่ระดับ A+ เทียบเท่าเครดิตรัฐบาลเกาหลีใต้
นายไพศาลกล่าวว่า ในช่วงเดือนธันวาคม 2551 ถึงเดือนมกราคม 2552 ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกประเทศเกาหลีใต้ได้รับการเพิ่มทุนจากรัฐบาลเกาหลีใต้เป็นเงิน 950,000 ล้านวอน เพื่อสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อตลอดจนเป็นการเพิ่มฐานเงินทุนของธนาคารให้แข็งแกร่งขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารยังมีนโยบายการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนโดยเน้นการตั้งสำรองที่สูง โดยรัฐบาลยังได้เพิ่ม Tier 1 ทั้งในรูปของเงินสดและเงินลงทุนเพื่อให้มีความสามารถในการปล่อยสินเชื่อได้อย่างต่อเนื่อง จึงมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง มี Capital Ratio ที่ 10 เท่า และมี Tier 1 ที่ 8.29 เท่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551
นายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด กล่าวว่า บลจ.วรรณอยู่นะหว่างการเสนอขายกองทุนเปิด วรรณตราสารหนี้ต่างประเทศ 1Y/2 โดยกองทุนดังกล่าวจะเน้นลงทุนใน Export-Import Bank of Korea ซึ่งตราสารที่ลงทุนจะมีอายุประมาณ 12 เดือน ซึ่งจะเปิดเสนอขายช่วงไอพีโอไปจนถึงวันที่ 24 เมษายน 2552 นี้
สำหรับกองทุนเปิด วรรณ ตราสารหนี้ต่างประเทศ 1Y/2 เป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) โดยจะเปิดเสนอขายครั้งแรกที่หน่วยลงทุนละ 10 บาท ซึ่งนักลงทุนสามารถลงทุนขั้นต่ำเพียง 10,000 บาท และจะเปิดขายครั้งต่อไปทุกรอบระยะเวลา 10-13 เดือน ถัดจากวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนครั้งล่าสุด
นายสมจินต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนเปิด วรรณตราสารหนี้ต่างประเทศ 1Y/2 นั้น จะเป็นกลุ่มผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศ ซึ่งดังกล่าว จะเน้นลงทุนในพันธบัตรเกาหลีซึ่งมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สูงและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศ โดยผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนประมาณ 4.40% ต่อปี
ด้านนางสาวพรอุมา เทวาหุดี ผู้จัดการกองทุน บลจ.วรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากที่ผ่านมา แม้เกาหลีจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก แต่เมื่อมองถึงความเเข็งแกร่งของประเทศ รวมไปถึงสภาพคล่องทางการเงินในประเทศ เงินสำรองภายในประเทศ อีกทั้ง แนวโน้มในการแก้ปัญหาวิกฤตและมาตราการต่างๆ ที่ออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น จะช่วยให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวได้ ทั้งนี้ การที่เกาหลีได้มีนโยบายการเงินโดยการตรึงอัตราดอกเบี้ยเชิงนโยบายมาแล้วถึง 2 ครั้ง ซึ่งเป็นการยืนยันถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของเกาหลีได้
"เวลานี้ จากการตรึงอัตราดอกเบี้ยของรัฐบาลเกาหลี ทำให้ความเสี่ยงน้อยลง อีกทั้งผลตอบแทนที่จะได้รับนั้นสูงกว่าการลงทุนในประเทศ ขณะเดียวกัน การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของเกาหลีใต้ก็ดีกว่าประเทศไทย เงินสำรองของประเทศเกาหลีก็มีสูงด้วย"นางสาวพรอุมา กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการจัดตั้งกองทุนเพื่อไปลงทุนยังประเทศอื่นๆนั้น ขณะนี้ยังไม่มีแผน เนื่องจากว่า บลจ.มีฐานลูกค้าที่ไม่กว้างมากนัก เหมือนกับ บลจ.ที่มีแม่เป็นธนาคารพาณิชย์ ซึ่งช่วยสนันสนุนในการขายหน่วยลงทุนให้แก่นักลงทุนจึงทำให้บลจ.เหล่านี้มีฐานลูกค้าที่กว้างกว่าบลจ.วรรณ ดังนั้นการออกโปนดักใหม่ๆเพื่อไปลงทุนยังประเทศต่างๆนั้นจึงสามารถทำได้มากกว่า
แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับการออกโปรดักส์ของบลจ.วรรณนั้นจะเน้นความต้องการของนักลงทุนเป็นหลัก โดยก่อนที่จะออกโปรดักส์ต่างๆนั้น บลจ.จะทำการสำรวจและเก็บข้อมูลจากนักลงทุนถึงความต้องการอยากลงทุนในสินทรัพย์หรือต้องการโปรดักส์ประเภทไหนเป็นหลัก
ด้านรายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดขายกองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรอิตาลี 6M4 (SCB ITALY BOND OPEN END FUND 6M4 : SCBIBF6M4) มูลค่าโครงการ 1,700 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 6 เดือน โดยจะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐของประเทศอิตาลี โดยได้เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) และครั้งเดียวตั้งแต่วันที่ 17 – 23 เมษายน 2552 และมีมูลค่าเม็ดเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท
สำหรับกองทุน SCBIBF6M4 มีนโยบายเน้นลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารภาครัฐของประเทศอิตาลี โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือบริษัทจัดการอาจพิจารณาลงทุนในเงินฝาก หรือตราสารแห่งหนี้ในประเทศ ตราสารแห่งหนี้ภาคเอกชนหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเอกชนชั้นดี หรือทรัพย์สินอื่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่อง การลงทุนในตราสารหนี้ดังกล่าวข้างต้นอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ตลอดจนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
ทั้งนี้ กองทุนจะ เข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate Risk) เช่น การทำสัญญาสวอปและ/หรือสัญญาฟอร์เวิร์ดที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น โดยกองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) รวมถึงตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (non – investment grade) และตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Securities)
|
|
 |
|
|