Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2544
ท่องโลกไซเบอร์สเปซด้วยปลายนิ้วโป้ง             
 

   
related stories

โดโคโม มาแรงได้อย่างไร

   
search resources

NTT DoCoMo
Mobile Phone
Networking and Internet




เมื่อพูดถึงการใช้คีย์บอร์ด เพื่อท่องโลกไซเบอร์สเปซแล้ว ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ถนัดใช้นิ้วโป้งมากที่สุด และเหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะโทรศัพท์

มือถือของญี่ปุ่น ที่มีขนาดเล็กกว่าใครนั่นเอง ที่ผ่านมา คนรุ่นหนุ่มสาวของญี่ปุ่น ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตมักถูกเรียกกันว่าเป็นคนรุ่น "Bamboo Tribes" หรือไม่ก็ "Speed Tribes" แต่ตอนนี้มีคำเรียกขานพวกเขาใหม่แล้วว่า "Thumb Tribes" และจะพบเห็นพวกเขาได้ทั่วไปตามรถไฟใต้ดิน ห้องบรรยายสัมมนา หรือร้านอาหาร "มนุษย์นิ้วโป้ง" ที่ว่านี้ต่างขะมักเขม้นกับการใช้นิ้วโป้งกดคีย์บอร์ดขนาดจิ๋วของโทรศัพท์มือถือ เพื่อส่งข้อความหรือเล่นอินเทอร์เน็ตค่าเวลา

ตัวอย่างเช่น อาซามิ ยูซาวา นักเรียนมัธยมต้นวัย 15 ในโตเกียว กล่าวยอมรับว่า เธอใช้นิ้วโป้งกดโทรศัพท์มือถือได้เร็วกว่า ที่จะใช้

สิบนิ้วรวมกันกดคีย์บอร์ดเสียอีก

ยูซาวาส่งข้อความถึง เพื่อนๆ วันละร่วม 50 ข้อความ เรื่องส่วนใหญ่ก็คือ ชีวิตประจำวัน กินอะไรดี

นัดเจอกัน ที่ไหน เมื่อเร็วๆ นี้ ยูซาวายังได้รู้จักบริการอินเทอร์เน็ต ที่ชื่อ

"J-Sky" ซึ่งช่วยให้เธอส่งข้อความถึงผู้ที่มีอีเมลได้ทุกคน เธอจึงมี เพื่อนในโลกไซเบอร์กว่าร้อยคน บางคนไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันด้วยซ้ำ เพื่อนประเภทนี้เป็นปรากฏ

การณ์ ที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า "meru tomo" ซึ่งหมายถึง " เพื่อนทางอีเมลโทรศัพท์มือถือเท่านั้น " นอกจากนั้น ยูซาวายังท่องเว็บไซต์ติดตามข่าวคราวล่าสุดของนักร้อง ที่เธอ

ชื่นชอบ และหาข้อมูลเส้นทางรถไฟเดินทาง ยังไม่รวมถึงการดาวน์โหลดเสียงโทรศัพท์แบบใหม่ๆ ใช้ในโทรศัพท์ของเธอด้วย การท่องโลกไซเบอร์สเปซด้วยนิ้วโป้งเช่นนี้ ทำให้ยูซาวาบ่นด้วยว่าบางวันเธอถึงกับมีอาการเจ็บ

นิ้วโป้งขวา

เพื่อนทางอีเมลคนหนึ่งของยูซาวาอาจจะเป็น

โคจ ฮากูตะ คนขับรถบรรทุกวัย 28 ปีก็ได้ เขาเป็น

ผู้หนึ่ง ที่ใช้ชีวิตหลังพวงมาลัยกับการท่องโลกไซเบอร์สเปซ อาชีพของฮากูตะดูไม่เหมือนคนที่ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้เครือข่ายไร้สายแต่อย่างใด แต่เขากลับเป็นหนึ่งในจำนวนคนที่มีแนวโน้มจะสนใจโลกไซเบอร์สเปซมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคนขับรถบรรทุกญี่ปุ่นนั้น จะต้องมีโทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้ติดต่อกับสำนักงานใหญ่

แทน ที่จะต้องคอยจอดรถแวะใช้โทรศัพท์สาธารณะข้างทาง

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนับเป็นการเปิดขอบฟ้าใหม่อย่างแท้จริง ในอดีต ฮากูตะอาจรู้สึกว่างานของเขาก็คือ การขับรถขนท่อเหล็กจากโรงงานย่านชานเมืองโตเกียวไปส่ง ที่นาโงยา แล้วก็ตีรถเปล่ากลับ แต่

เมื่อราวหนึ่งปีที่ผ่านมานี้เอง ที่บริษัทของเขาริเริ่มเว็บไซต์ "TraBox" เพื่อเป็นช่องทางติดต่อระหว่างคนขับรถกับบริษัทขนส่งสินค้า เว็บไซต์นี้ออกแบบให้ใช้กับบริการ

i-mode ของดูโคโม ทุกวันนี้ฮากูตะจึงได้รับอีเมลเรื่องงานวันละนับสิบข้อความ เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อความแจ้งเขา ที่นาโงยาว่าให้รับงานขนท่อ ที่ต้องนำกลับไป ที่โตเกียว

เขาโทรศัพท์ติดต่อผู้ว่าจ้าง แล้วก็ได้งาน ที่ทำให้มีรายได้พิเศษ 320 ดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างทางกลับบ้าน

เขาจึงสรุปว่า "i-mode เข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตการทำงานของผม"

ประสบการณ์ขับรถบรรทุก ที่เชื่อมต่อกับ

อินเทอร์เน็ตนี้ชี้ให้เห็นว่า i-mode อาจเป็นมากกว่าบริการแนวแฟชั่น ยาสุโนริ ฟูจิกูระ หัวหน้างานของ

ฮากูตะ และผู้บริหารบริษัทรถบรรทุกขนส่งอีกรายหนึ่ง เคยคิด ที่จะสร้างระบบคอมพิวเตอร์ ที่จะตัดนายหน้าไป และเชื่อมโยงบริษัทขนส่งสินค้ากับคนขับรถโดยตรงมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่เงินทุนสำหรับพัฒนาระบบดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์สูงมาก จนกระทั่งมาพบบริการของ i-mode ดังกล่าว โทรศัพท์มือถือนั้น มีราคาตกราว 180 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นเพียง 1 ใน 10 ของราคาพีซี ด้วยเหตุนี้ "TraBox" จึงแจ้งเกิดได้ และในปีแรกก็ได้ลงนามกับบริษัทรถบรรทุกราว 1,100 แห่ง และคนขับรถอีก 40,000 คน มีดีลธุรกิจกันราว 150 รายการต่อวัน จึงนับว่าเป็นธุรกิจ ที่ไม่เลวทีเดียวสำหรับของเล่นวัยรุ่นชิ้นนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us