Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 เมษายน 2552
ดัชนีเชื่อมั่นจัดสรรพุ่ง6%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

   
search resources

สัมมา คีตสิน
Real Estate
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์




ศูนย์ข้อมูลฯ เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่น ของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยไตรมาสแรกปี52 พบสัญญาความเชื่อมั่นการเมือง เศรษฐกิจในประเทศดีดตัวสูงขึ้นกว่า 6% จากไตรมาส4ปี51 ขณะที่ค่าเฉลี่ยดัชนีความเชื่อมั่นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวสูงกว่าค่ากลางมาอยู่ที่ 50.8%

นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) กล่าวว่า จากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จำนวน 149 บริษัท พบว่า ดัชนีค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยประจำไตรมาส 1 ปี 2552 ปรับตัวสูงขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 42.2% ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาส 4ปี2551 ที่มีค่าเฉลี่ยดัชนีเท่ากับ 36.3% สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่น และสัญญาณการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาส 4ปี2551 ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่4 ที่ค่าเฉลี่ยดัชนีต่ำกว่าค่ากลาง

ทั้งนี้ เมื่อแยกประเภทบริษัทที่ตอบแบบสอบถาม ระหว่างบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พบว่าบริษัทจดทะเบียนมีค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นในไตรมาส1ปี52 เท่ากับ 50.8% ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาส 4ปี2551 ที่มีค่าเฉลี่ยดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 41.4% สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการดังกล่าวว่า มีการปรับตัวดีขึ้นมาก

ขณะที่ ผลการสำรวจค่าเฉลี่ยดัชนีบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พบว่า มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสแรกของปีเท่ากับ 33.5% ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส 4ปี2551 ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 31.2% สะท้อนให้เห็นถึงทิศทางความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการดังกล่าวว่า ฟื้นตัวกลับมาสู่ทิศทางที่ดีเพิ่มขึ้นเช่นกัน

“ มีผู้ประกอบการตอบแบบสอบถามจำนวน 149 บริษัท เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 29 บริษัท และบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 120 บริษัท สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย มีค่ากลางของดัชนีเท่ากับ 50% ดังนั้น หากค่าดัชนีสูงกว่าค่ากลาง มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ดี และหากดัชนีมีค่าสูงกว่าเดิม สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการว่า เป็นภาวะที่ดีขึ้นจากเดิม ในทางตรงข้าม หากค่าดัชนีต่ำกว่าค่ากลาง มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ไม่ดี และหากดัชนีมีค่าต่ำกว่าเดิม มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่แย่ลงจากเดิม”

นอกจากนี้ ผลการสำรวจแนวโน้มความคาดหวังของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ยังพบอีกว่า ค่าเฉลี่ยดัชนีความคาดหวังใน 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) ของผู้ประกอบการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 50.4% ซึ่งปรับตัวจากไตรมาส 4ปี51 ที่มีค่าเท่ากับ 40.2% กว่า 10.02% โดยในส่วนของบริษัทจดทะเบียนมีค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่น 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 57.7% ปรับตัวสูงขึ้นมากจากการสำรวจในไตรมาส 4ของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 42.8% ขณะที่บริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ พบว่า มีค่าเฉลี่ยดัชนีความเชื่อมั่นใน 6 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 43.1% จากเดิมที่ค่าเฉลี่ยดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสที่4ของปี51ซึ่งมีค่าเฉลี่ยดัชนีความเชื่อมั่นเท่ากับ 37.6%

จากอัตราค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี52 ดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า การที่ดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาส1ปี52นี้ปรับตัวสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยและสถานการณ์การเมืองมีการปรับตัวดีขึ้นมาก เมื่อเทียบกับสถานการณ์ในไตรมาส 4 ปี 51 โดยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สถานการณ์การเมืองไทยตกต่ำมากที่สุด และสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มส่งผลกระทบประเทศไทยอย่างรุนแรง แต่หลังจากการมีรัฐบาลใหม่ที่มีภาพลักษณ์ดีขึ้นเข้ามาบริหารประเทศ ทำให้ความรู้สึกเชื่อมั่นกลับคืนมาได้พอสมควร ในขณะที่ผลการสำรวจดัชนีความคาดหวังใน 6 เดือนข้างหน้าที่ปรับสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยและสถานการณ์การเมืองในครึ่งปีหลังจะปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us