|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กนง.ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% หวังกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไป ชี้ในช่วง 1-2 วันนี้ได้เห็นแบงก์ปรับลดดอกเบี้ยตาม เผยในอนาคตยังมีช่องให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อีก ขณะที่การชุมนุมกลุ่มเสื้อแดงบั่นทอนความเชื่อมั่นในวงกว้างและอาจฉุดให้เศรษฐกิจไทยตกต่ำจากเดิมที่ติดลบ
นางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้(8เม.ย.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ได้มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ลงอีก 0.25% จากปัจจุบันที่อยู่ 1.50%ต่อปี ทำให้ลดลงเหลือที่ระดับ 1.25%ต่อปี โดยกนง.มองว่าเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงมากขึ้นทั้งรุนแรงและยาวนานกว่าการประเมินครั้งก่อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยให้มีความเสี่ยงเชิงลบด้วย ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานยังคงมีแนวโน้มลดลง จึงเอื้อให้นโยบายการเงินสามารถพยุงเศรษฐกิจและกระตุ้นให้ฟื้นตัวในต่อไปได้
ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% กนง.ได้ประเมินปัจจัยการเมืองครั้งนี้อยู่ในความเสี่ยงแล้ว โดยมีผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน ภาคเอกชน และอาจส่งผลให้โครงการต่างๆ ของรัฐบาลล่าช้าและการเบิกจ่ายอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และสุดท้ายกระทบสู่ภาวะเศรษฐกิจไทย และหากการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดงยืดเยื้อส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่เชิงลบและอาจกดดันให้ให้ตกต่ำกว่าปัจจุบันที่ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจจะหดตัวจนเข้าสู่แดนลบอีก
โดยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของไตรมาสแรกปีนี้ เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยบางตัวเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นต่างกับช่วงไตรมาส 4 ของปี 51 ซึ่งช่วงนั้นเกิดมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหลายชุดจนฉุดเรื่องการลงทุนและความไม่สงบในประเทศ ถือเป็นเรื่องเฉพาะ ขณะที่ภาคผลิตบางอุตสาหกรรมชะลอตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มเห็นคำสั่งซื้อหดกว่าช่วงปกติ และไม่รู้ว่าสถานการณ์นี้จะฟื้นตัวได้เมื่อใด
“ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้เศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นตัวได้จากผลของแรงกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐภายใต้สมมติฐานที่ว่าเศรษฐกิจโลกไม่ดิ่งลงมากกว่านี้แล้ว ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจะเอื้อประโยชน์ให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ อย่างไรก็ตามมองว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวไม่มากและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าการประเมินเศรษฐกิจครั้งก่อนหน้า ถึงขั้นเข้าสู่กรณีเลวร้ายจากที่มีโอกาสติดลบแล้ว แต่ต้องรอการประเมินเศรษฐกิจจากกนง.อย่างเป็นทางการในวันที่ 22 เม.ย.นี้”
ทั้งนี้ หลังจากที่กนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องถึง 3 ครั้งที่ผ่านมาถึง 2.25% ซึ่งไม่รวมกับการปรับลดครั้งนี้ได้มีการสำรวจการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่จำนวน 5 แห่งที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระบบถึง 70% ในช่วงเดือนพ.ย.51 ถึงเดือนมี.ค.52 โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนลดลง 1.8% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลด 1.1% จากปัจจุบันที่ระดับดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยที่ระดับ 6.25% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แท้จริง 6.4% ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนอยู่ที่ระดับ 0.95% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแท้จริงอยู่ที่ระดับ 0.54%
นางสาวดวงมณี กล่าวว่า กนง.มองว่าการดำเนินโยบายการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงทั้งสิ้น 2.50% นั้นเป็นการใช้ยาแรงพอสมควร ส่วนผลนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายนี้จะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ทยอยลดอัตราดอกเบี้ยในทิศทางใด ขึ้นอยู่กับการประเมินต้นทุน รายได้ที่ได้รับจากการดำเนินธุรกิจของแต่ละสถาบันการเงินเป็นสำคัญ ซึ่งหากดูพฤติกรรมของสถาบันการเงินในอดีตพบว่ามีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง จึงคาดว่าใน 1-2 วันนี้น่าจะได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์กัน
“การปรับอัตราดอกเบี้ยมายืนที่ระดับ 1.25% ยังไกลจากระดับ 0% ซึ่งแบงก์ชาติยืนยันมาตลอดว่าจะไม่ลดดอกเบี้ยนโยบายถึง 0% แต่ในขณะนี้ยังมีช่องเห็นว่าการใช้นโยบายการเงินส่งผ่านระบบเศรษฐกิจยังมีประสิทธิภาพอยู่และแบงก์มีการตอบสนองที่ดีด้วยภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อระบบเศรษฐกิจ ฉะนั้นการใช้นโยบายการเงินของธนาคารกลางในหลายๆ ประเทศจะต้องดูสภาพการเงินและภาคธุรกิจด้วย”
อย่างไรก็ตามมองว่าหากดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงอาจส่งผลให้ผู้ฝากเงินหันไปลงทุนผ่านช่องทางอื่นเพิ่มขึ้นนั้นกลับมองว่าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงไม่ใช่ผู้ฝากเงินหายไปกลับเป็นตัวธนาคารพาณิชย์ที่ต้องรับมือสถานการณ์นี้มากกว่า
สำหรับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่หลายฝ่ายต้องการให้ธปท.มีการดูแลให้เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนค่งลงนั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ธปท.จะดูแลค่าเงินบาทให้เป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจและติดตามค่าเงินไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงจนเสียเปรียบประเทศคู่ค้า
|
|
|
|
|